สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค
อรุณ โสตถิกุล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค
ชื่อเรื่อง (EN): Quality of new fresh cut Pineapple varieties and consumer accepting
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณ โสตถิกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุธีกานต์ โสตถิกุล
คำสำคัญ: สับปะรด
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค” แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมี ผศ.ดร.อรุณ โสตถิกุล เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเพิ่มจำนวนต้นสับปะรดพันธุ์ใหม่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2) ได้ข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์สับปะรดและคุณภาพผลพันธุ์ใหม่ 4 พันธุ์ และ 3) ได้ข้อมูลการตอบสนองของสับปะรดพันธุ์ใหม่ทั้งสามพันธุ์ที่ปลูกในระดับความสูงแตกต่างกัน 3 พื้นที่ ได้แก่ ลำปาง เชียงราย และตราด จากการศึกษาวิจัย พบว่าสับปะรดลูกผสมที่นำไปปลูกทั้ง 3 พื้นที่มีทั้งหมด 11 เบอร์ ซึ่งในการทดลองในครั้งนี้กำหนดไว้เพียง 4 เบอร์เท่านั้น แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดจึงนำสับปะรดลูกผสมทั้งหมด 11 เบอร์นำมาปลูก ได้แก่ เบอร์ 1 15 30 33 43 55 56 62 63 171 และ 176 ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมี 8 เบอร์ ได้แก่ เบอร์ 15 16 33 43 55 56 62 และ 63 ช่วงแรกมีการนำมาเลี้ยงอนุบาลในโรงเรือนและได้นำสับปะรดบางเบอร์ที่เจริญเติบโตดีไปปลูกในแปลงมี 6 เบอร์ ได้แก่ เบอร์ 15 16 33 43 55 และ 63 ซึ่งได้จำนวนต้นตามที่กำหนดไว้แล้ว การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของสับปะรดทั้ง 11 เบอร์ ช่วงแรกนี้จะวัดความยาวของใบ จำนวนใบ/ต้นความสูง เป็นระยะ มีการตรวจวิเคราะห์ดินแต่ละพื้นที่ เมื่อมีผลสุกนำมาเก็บข้อมูลคุณภาพผลแต่ละเบอร์ จากข้อมูลการเจริญเติบโตพบว่าสับปะรดที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดตราดและลำปางทุกเบอร์มีการเจริญเติบโตดียกเว้นเบอร์ 55 สำหรับพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุดแต่มีพันธุ์พอที่จะปลูกได้ 6 เบอร์ ได้แก่ เบอร์ 30 33 43 56 62 และ 171 สับปะรดที่ปลูกทั้ง 3 พื้นที่จะมีความพร้อมในการเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เท่ากันจึงทำให้ได้ข้อมูลล่าช้าออกไปเกินกำหนด สำหรับการยอมรับของผู้บริโภคสับปะรดพันธุ์ลูกผสมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดลำปางมีผลผลิตที่ผู้บริโภคยอมรับใน4 อันดับแรก คือ เบอร์ 62 รองลงมาเป็นเบอร์ 56 เบอร์ 1 และเบอร์ 33 ตามลำดับ สับปะรดพันธุ์ลูกผสมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีผลผลิตที่ผู้บริโภคยอมรับใน 3 เบอร์ใกล้เคียงกันคือเบอร์ 62 171 และ 33 สับปะรดพันธุ์ลูกผสมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดตราดมีผลผลิตที่ผู้บริโภคยอมรับใน 4 อันดับแรก คือ เบอร์ 1 รองลงมาเป็นเบอร์ 62 176 และ 33 ตามลำดับ จากการยอมรับของผู้บริโภคทั้งสามพื้นที่ในภาพรวมเรียงตามลำดับได้ 5 เบอร์ คือ เบอร์ 62 1 63 56 และ 33 ขณะนี้ได้เตรียมทำแปลงที่จะขยายต้นพันธุ์ทั้ง 5 เบอร์ไว้แล้วเพื่อการขึ้นทะเบียนพันธุ์และผลิตหน่อพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ขยายสู่เกษตรกรต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ 1) ได้จำนวนต้นพันธุ์ใหม่โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างน้อย 4 พันธุ์ พันธุ์ละ 750 ต้น 2) ได้ข้อมูลการตอบสนองของสับปะรดพันธุ์ใหม่ทั้ง 3 พื้นที่ พื้นที่ละอย่างน้อย 4 พันธุ์ และ 3) ได้ข้อมูลการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อสับปะรดทั้ง 4 เบอร์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-08-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-08-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
14 สิงหาคม 2561
การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค 2559A17002016 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป 2558A17002048 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป การเปรียบเทียบอัตราการสึกกร่อนของโลหะทำภาชนะบรรจุสับปะรดจากสารละลายสับปะรดกระป๋องที่สภาวะต่าง ๆ ผลของรูปแบบการตัดแต่งและอุณหภูมิต่อคุณภาพและอายุการวางจำหน่ายของสับปะรดตัดแต่งพร้อมบริโภค เครื่องเซาะร่องและให้ปุ๋ยน้ำ สับปะรดพันธุ์สยามโกลด์ วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสับปะรดผลสดเพื่อการส่งออกให้เกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ 280662 การคัดแยกสายพันธุ์ยีสต์ที่มีความสามารถในการผลิตเอทานอลจากเปลือกสับปะรด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสับปะรด และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ต้องการตามหลักสุขลักษณะที่ดี การทำแห้งน้ำสับปะรดด้วยเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย: ผลของปริมาณสารช่วยทำแห้งและอุณหภูมิอบแห้งต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก