สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี
จุฑามาศ แซ่หว่อง, ธรรญชนก นิลมณี, ศรีสมร ผ่องพุฒิ, อรพินท์ อิ่มจงใจรักษ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): The study of behavior and Factor Problems on household accounting of agricultrutst in Prachinburi province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม สภาพปัญหา และอุปสรรคการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรีกลุ่มตัวแทนที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรหมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 ตําบลเนินหอม อําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวนทั้งสิ้น 146 คน ได้ตอบแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นข้อมูลในงานวิจัยนี้ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยการศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี ผลการศึกษาวิจัย พบว่าตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุมากกว่า 50 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา และมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ในช่วง 4 – 6 คน ซึ่งมีรายได้ และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 4,001 – 10,000 บาท แต่มีภาระหนี้สินสูงกว่า คือ 10,001 – 50,000 บาท โดยแหล่งที่มาของหนี้สินมาจากสินค้าทางการเกษตร ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนนั้น ตัวแทนกลุ่มส่วนใหญ่รู้จักการทำบัญชีครัวเรือนในระดับปานกลาง โดยได้รับการแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐ วัตถุประสงค์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในครอบครัว เริ่มทำบัญชีครัวเรือนในช่วง 7 – 12 เดือน และบันทึกบัญชีเป็นรายสัปดาห์ แต่พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ขาดประสบการณ์ในการทำบัญชีครัวเรือน ประกอบกับเจ้าหน้าที่ไม่มีการติดตามผล ส่งผลให้ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรีส่วนใหญ่ขาดการบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
บทคัดย่อ (EN): The objective of the research was to study the behaviors, problems, and difficulties of doing household accounts according to the philosophy of sufficiency economy for the purpose of solving debt problem for agriculturists in Prachinburi. The sample group was 146 agriculturists in Noen Hom, Muang district in Prachinburi. Questionnaire was used as the research device. Frequency, percentage, average and standard deviation were applied as the research statistics to analyze the data. The results showed that the majority of people in the sample group were female agriculturists aged over 50 years old with primary school degree. The numbers of their family members were 4 - 6 people. Their average incomes were 4,001-10,000 baht, but their debt rates were around 10,001 - 50,000 baht. The debts were mostly caused by the agriculture expense. In terms of doing household accounts, the majority of people in the sample group fairly knew how to do household accounts. Mostly, they learned how to do the accounts from government organizations. Their main purpose of doing the accounts was to control the family expenses. They did the accounts for 7-12 months and recorded them weekly. However, the difficulties found were caused by their illiteracy, lack of experience in doing household accounts, and no follow-up after the training from government staff. As a result, they did not do and record their household accounts continuously and regularly.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
30 กันยายน 2558
การลดหนี้สินของชาวนาผู้ใช้น้ำบาดาลระดับตื้นที่เกิดขึ้นจากวิกฤตราคาน้ำมันเพื่อชีวิตผาสุกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (Test) 87 ทางเลือกทางการเกษตร เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ การศึกษาองค์ประกอบการส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนกรณีศึกษา:เกษตรกรชาวสวนยางพารา ตำบลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช การใช้ประโยชน์เงินกองทุนหมู่บ้านในการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก