สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน
สุรพล เช้าฉ้อง, ชูศักดิ์ จอมพุก, พีรนุช จอมพุก, วาสนา วงษ์ใหญ่, สมศักดิ์ อภิสิทธิวาณิช, กฤษฎา สัมพันธารักษ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน
ชื่อเรื่อง (EN): Breeding for improved protein quality in maize
บทคัดย่อ: พันธุกรรมของข้าวโพดไร่ปกติมีเอนโดสเปิร์มที่ประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพต่ำ ปัจจุบันมีข้าวโพดคุณภาพโปรตีน (quality protein maize; QPM) ที่มียีน opaque-2 ซึ่งทำให้คุณภาพโปรตีนดีขึ้น เนื่องจากมีปริมาณทริปโตแฟนสูงขึ้นราวสองเท่า และมี modifying genes ที่ช่วยให้ข้าวโพดมีเมล็ดแข็งใส (vitreousness) การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาสายพันธุ์อินเบรดข้าวโพดไร่ (O2O2) ให้เป็นสายพันธุ์อินเบรดข้าวโพดคุณภาพโปรตีน (o2o2) ด้วยวิธีการผสมกลับ (backcross) ร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกยีน opaque-2 (o2o2) (2) ศึกษาสมรรถนะการผสมของลักษณะผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรอื่นๆ ที่สำคัญ และ (3) วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและทริปโตแฟนของสายพันธุ์อินเบรดข้าวโพดคุณภาพโปรตีน การทดลองใช้สายพันธุ์อินเบรดข้าวโพดพันธุ์ปกติเป็นต้นแม่และใช้อินเบรดข้าวโพดคุณภาพโปรตีน (QPM) เป็นต้นพ่อ แล้วผสมกลับ (backcross) ไปยังพันธุ์แม่ ผลการทดลองพบว่า เครื่องหมายโมเลกุล phi057 สามารถแยกจีโนไทป์ของลูกที่เกิดจากการผสมตัวเองของลูกผสมกลับชั่วที่ 1 (BC1S1?) แล้วผสมตัวเองและคัดเลือกจนถึงลูกผสมกลับชั่ว BC1S5 ที่มียีน opaque-2 จำนวน 8 สายพันธุ์ ตรวจสอบยีน opaque-2 ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล phi022 และวิเคราะห์หาปริมาณทริปโตแฟนด้วยกรดไกลออซิลิกทั้งในสายพันธุ์และลูกผสมเดี่ยวจากการผสมพันธุ์แบบพบกันหมดทั้ง 28 คู่ผสม วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบลอคสมบูรณ์จำนวน 4 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อย แถวยาว 5 เมตร จำนวน 4 แถว ระยะปลูก 25 x 75 ซม. ผลการทดลองพบว่า สายพันธุ์อินเบรดมีปริมาณทริฟโตแฟนสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ย 0.86 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์ที่ไม่มียีนนี้ (SW4452) มีค่าเฉลี่ย 0.56 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการตรวจสอบในลูกผสมเดี่ยว พบว่ามีปริมาณทริปโตแฟนเฉลี่ย 0.98 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ตรวจสอบ ในขณะที่ปริมาณโปรตีนเท่ากัน ส่วนผลผลิตของลูกผสมเดี่ยวบางคู่ผสม ให้ผลผลิต 1,229 กก./ไร่ ซึ่งทัดเทียมกับพันธุ์ตรวจสอบ SW4452 (1,308 กก./ไร่) และสายพันธุ์ P5 และ P8 มีสมรรถนะการผสมทั่วไปดี เหมาะแก่การนำไปพัฒนาต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The low nutritive value of maize endosperm protein is genetically control. At the present date, quality protein maize (QPM), which contains the opaque-2 gene (o2o2) for twice tryptophan content along with numerous modifiers for kernel vitreousness. The objectives of this study were; 1) to convert the normal inbred lines to QPM inbred lines by backcross method and marker-assisted selection (MAS) of the opaque-2 gene 2) to estimate combing ability of QPM inbred lines for the yield and some agronomic characters and 3) to analyze of protein and tryptophan in protein of endosperm. The plants material was the cross between normal maize and QPM as female and male parents, respectively. Then, the backcross to recurrent parent was done. The results by marker phi057 showed that the progenies of BC1S1 controlled by the homozygous recessive (o2o2) of opaque-2 gene. The selected lines were self-pollinated until BC1S5. Furthermore, eight lines of BC1S5 containing with opaque-2 gene detected by phi057 were used in the experiment. Tryptophan content in the endosperm of 8 selected lines and 28 of their diallel hybrids were analyzed using glyoxylic method. The yield trial experiment was conducted in randomize complete block design with 4 replications. The plot size was 4 rows of 5 meters long with row spacing 25 x 75 cm. The results showed that tryptophan content in endosperm of inbred lines was higher and its average was 0.86% while variety without opaque-2 gene (SW4452) was about 0.56%. On the other hand, the average tryptophan content in endosperm of their hybrids was 0.98% and higher than check variety. However, all type of this maize had the same quantity of protein. The best yield of hybrid was 1,229 kg/rai and it was not different from the check, SW4452 (1,304 kg/rai). AP5 and AP8 lines were a good general combining ability and suitable for further breeding program.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ: ข้าวโพด
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2552
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวคุณภาพโปรตีนสูง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วโดยวิธีการคัดเลือกแบบวงจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรวมตัวเฉพาะและการผสมกลับ วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดรับประทานฝักสดโดยวิธีเขตกรรม (ข้าวโพดหวาน) คุณภาพและความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินลูกรังและเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง ผลของ Gas–Flush packaging ต่อการควบคุมเชื้อราโรงเก็บและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม 2 สายพันธุ์ (ระยะที่ 1) ผลของ Gas–Flush packaging ต่อการควบคุมเชื้อราโรงเก็บและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม 2 สายพันธุ์ (ระยะที่ 2)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก