สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่สนับสนุนการปลูกมะเขือเทศในนา หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
สงวนวงศ์ ขาววิสุทธิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สนับสนุนการปลูกมะเขือเทศในนา หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สงวนวงศ์ ขาววิสุทธิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจัยที่สนับสนุนการปลูกมะเขือเทศในนาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี และปัญหาต่างๆในการปลูกมะเขือเทศ ประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษามีจำนวน 150 คนเป็นเกษตรกรในตำบลพานพร้าวอำเภอสรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละและค่าเฉี่ลย ผลการวิจัยปรากฏว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน อาชีพหลักคือการทำนา ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง รายได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000-29,999 บาทต่อปีและเกษตรกรเป็นสมาชิกกลุ่มจำนวนมากถึงร้อยละ 88.00 เกษตรกรปลูกมะเขือเทศในพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 4ไร่ พันธุ์ที่นิยมปลูกคือพันธุ์ VF134 ซื้อเมล็ดพันธุ์จากโรงงานแปรรูปมะเขือเทศในอำเภอศรีเชียงใหม่จังหวัดหนองคาย และบางรายเก็บเมล็ดพันธุ์เอง เกษตรกรส่วนใหญ่มีน้ำใช้ในการปลูกมะเขือเทศพอเพียงตลอดฤดูปลูก เกษตรกรทั้งหมดใช้ปุ๋ยและใช้ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และส่วนใหญ่ไม่เคยขาดแคลนแรงงาน โดยใช้แรงงานในครอบครัวมากเป็นอันดับหนึ่ง เกษตรกรมีหนี้สินร้อยละ 53.33 ในการเพาะปลูกมะเขือเทศ เกษตรกรเสียงค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 1.078.36 บาทต่อไร่(ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย) จากการขายมะเขือเทศโดยเฉลี่ย 4,400.00 บาทต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ขายมะเขือเทศให้แก่โรงงานแปรรูปมะเขือเทศในอ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และทราบราคาขายก่อนการขาย แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ขายมะเขือเทศให้แก่โรงงานแปรรูปไม่พอใจในราคาขายเท่าใดนัก อย่างไรก็ตามเกษตรกรก็ได้รับความยุติธรรมในการชั่งตวง เมื่อขายให้แก่โรงงานในฤดูปลูกต่อไปเกษตรกรส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าโรงงานแปรรูปจะรับซื้อมะเขือเทศทั้งหมด เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตรเป็นครั้งคราว มีจำนวนร้อยละ 56.00 แหล่งความรู้ที่เกษตรกรใช้ปฏิบัติในการปลูกมะเขือเทศด้วย จากเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน ความช่วยเหลือที่เกษตรกรได้รับจากผู้ซื้อรายใหญ่คือการขนส่งผลผลิตมะเขือเทศจากแหล่งปลูก ปัญหาที่เกษตรกรประสบมากคือราคาขายต่ำ รองลงมาคือการที่เกษตรกรมีเงินลงทุนไม่เพียงพอ และการป้องกันกำจัดศัตรูมะเขือเทศอันเนื่องมาจากยามีราคาแพง ใช้แล้วไม่ได้ผล และอันตรายที่เกิดจากการใช้ยา เมื่อมีปัญหาในการปลูกมะเขือเทศเกษตรกรจะปรึกษาเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน แล้วจึงตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้รัฐช่วยประกันราคามะเขือเทศ และจัดหาตลาดรับซื้อให้มากขึ้น การให้ความช่วยเหลือในเรื่องทุนและการขุดคลองส่งน้ำเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการปลูกมะเขือเทศคือ เจ้าหน้าที่การเกษตรควรปรับปรุงวิธีการส่งเสริมและการเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น เพื่อเกษตรกรจะได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปใช้ปฏิบัติ ตลอดจนถึงการสนับสนุนการรวมกลุ่มทางการเกษตร และรัฐควรช่วยเหลือในเรื่องระบบชลประทาน เช่นการจัดทำคลองส่งน้ำให้กระจายในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกให้มากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2523
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2523
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่สนับสนุนการปลูกมะเขือเทศในนา หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2523
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การผลิตมะเขือเทศในฤดูกาลของเกษตรกร ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย การศึกษาการปลูกพืชตระกูลถั่วในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว การตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศในระบบข้าว มะเขือเทศ สภาพการปลูกและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกร ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การผลิตสับปะรดและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร ในอ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การใช้ Bio-charcoal ในนาข้าวสำหรับจังหวัดหนองคาย ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก