สืบค้นงานวิจัย
การผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เอนก รัตน์รองใต้ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เอนก รัตน์รองใต้
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย ซึ่งขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย รวม 8 อำเภอ เกษตรกร 3,330 คน หากลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากร สุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน โดยสุ่มอำเภอแบบง่ายและสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.92 ปี จบการศึกษาประถมปีที่ 4 มีแรงงานทำการเกษตร 2.62 คน/ครัวเรือน พื้นที่เปิดกรีดยางพารา 15.16 ไร่/ครัวเรือน ปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ทั้งหมด เกษตรกรทำยางแผ่นในบริเวณสวนยางโดยใช้แรงงานในครัวเรือน ร้อยละ 76.58 มีการกรองน้ำยางก่อนทำยางแผ่นทุกครั้ง ร้อยละ 99.10 แต่ไม่นิยมใช้วัสดุปิดตะกง ยางแผ่นหลังรีดดอกแล้วจะหนาระหว่าง 2.01-3.0 มิลลิเมตร ยางแผ่นที่แห้งแล้วจะหนัก 1.2-1.3 กิโลกรัม/แผ่น ส่วนใหญ่ขายยางครั้งละ 301-600 กิโลกรัม/ครั้ง ยางที่นำไปขายเป็นยางคุณภาพ 3 ร้อยละ 73.28 และเกษตรกรร้อยละ 72.07 เห็นว่าต้นทุนการผลิตต่อ 1 กิโลกรัมจะสูงกว่า 25 บาท ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม พบว่าอายุของเกษตรกรและขนาดของสวนยางที่เปิดกรีดมีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งในการรีดยางแผ่นโดยการรีดเรียบ ระดับการศึกษา การทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ด้วยน้ำก่อนทำยางแผ่น จำนวนครั้งในการรีดยางแผ่นโดยการรีดเรียบก่อนรีดดอก ความหนาของแผ่นยาง วิธีการตากยางหลังรีดดอก และระยะเวลาในการตากยาง มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของยางที่เกษตรกรผลิตได้และนำไปจำหน่าย ปัญหาของเกษตรกรคือหน้าฝนกรีดยางไม่ได้ ยางแผ่นเกิดเชื้อรา มีฟองอากาศมาก ปัญหาราคายางไม่มั่นคง ยางเกิดโรคหน้ายางตาย โรคใบร่วง โรคราสีชมพู และขาดเงินซื้ออุปกรณ์กรีดยาง ข้อเสนอแนะของเกษตรกร เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ผลิตระดับตำบล เพื่อดำเนินกิจกรรมที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิต รัฐควรสนับสนุนให้เกิดตลาดกลางรับซื้อยางในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำในการป้องกัน แก้ไข การเกิดโรคหน้ายาง สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรส่งเสริมในการรวมกลุ่มผู้ผลิตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ รัฐควรสนับสนุนให้เกิดตลาดกลางรับซื้อยางในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำในการป้องกัน แก้ไข การเกิดโรคโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหน้ายาง และควรให้ชาวสวนยางได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการกรีดยางและการทำยางแผ่น สำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคหน้ายางและแนวทางป้องกันและแก้ไข
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดหนองคาย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540 สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายงานการศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2532-2536 จังหวัดสุรินทร์ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลยุทธ์การตลาดของเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกยางพาราในอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย โครงการพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 3) สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก