สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
ดำรงศักดิ์ ทรงอาจ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดำรงศักดิ์ ทรงอาจ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่องสภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการผลิตและตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ประชากรจำนวน 679 คน ตัวอย่างการวิจัยเรื่องนี้ได้กำหนดขนาดตัวอย่างโดยวิธีประมาณขนาดตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 จากประชากรทั้งหมด ซึ่งได้ตัวอย่าง จำนวน 170 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 45.92 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกมันสำปะหลังจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ มีแรงงานเกษตรเฉลี่ย 3 คน การเตรียมดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังโดยการไถ 2 ครั้ง ร้อยละ 74.71 มีการ ยกร่องปลูกมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ซึ่งใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุเฉลี่ย 10.62 เดือน มีความยาวของท่อนพันธุ์ขนาด 20 - 25 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 80 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน เกษตรกรร้อยละ 66.87 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 15 -15 อัตราเฉลี่ย 30.71 กิโลกรัม ต่อไร่ เกษตรกรทั้งหมดกำจัดวัชพืชโดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่น เกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอายุเฉลี่ย 11.37 เดือน ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 3.67 ตันต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีการเก็บรักษาท่อนพันธุ์มันสำปะหลังไว้ทำพันธุ์ในฤดูถัดไป ต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 1,023.81 บาทต่อไร่ รายได้จากการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 25,089.41 บาทต่อปี เกษตรกรมีปัญหามากในเรื่องราคาผลผลิตต่ำ มีปัญหาปานกลางในเรื่องขาดความรู้ในการเตรียมพันธุ์ ค่าจ้างแรงงานสูง ความรู้ในการปลูก ขาดแคลนแรงงาน สารเคมีราคาแพง ขาดเงินทุน ขาดความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้รับซื้อ ข้อเสนอแนะควรจัดฝึกอบรมเกษตรกรให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การเตรียมพันธุ์ วิธีการปลูก การใส่ปุ๋ยเคมี การป้องกันกำจัดโรคแมลง และการชั่งตวงวัด เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้รับซื้อมันสำปะหลัง ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่าย เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง การถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้รับซื้อ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความเอื้ออาทรต่อกัน เช่น ประเพณีลงแขก เพื่อบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานสูง การขาดแคลน แรงงาน ควรแนะนำให้เกษตรกรใช้เงินกองทุนหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้นำเงินมาลงทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรอย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดเงินทุนลงได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
อาหารจากมันสำปะหลัง การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์แนวทางการจัดระบบการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี 2537-2541

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก