สืบค้นงานวิจัย
ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ใหม่ชัยนาท 80 เพื่อการเพาะถั่วงอก
อารดา มาสริ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ใหม่ชัยนาท 80 เพื่อการเพาะถั่วงอก
ชื่อเรื่อง (EN): A New Blackgram Variety Chai Nat 80 for Sprouts
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารดา มาสริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arada Masari
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างถั่วเขียวผิดดำพันธุ์ปราจีนกับพันธุ์ NBG ในปี พ.ศ. 2532 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยจาก 21 แปลงปลูกทดลองที่ 250 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 14 % และมีขนาดเมล็ดใหญ่กว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 57.5 ก. สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ซึ่งได้เพียง 51.7 ก. 11% พันธุ์ชัยนาท 80 มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เมื่อศึกษาการเพาะถั่วงอกพบว่าพันธุ์ชัยนาท 80 ให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 6 % มีอัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 6 สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 นอกจากนี้ยังได้มีการประเมินการยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ใน จ.เพชรบูรณ์และนครสวรรค์พบว่าเกษตรกรชอบ และให้การยอมรับถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ทุกรายที่ทำการสัมภาษณ์
บทคัดย่อ (EN): A new blackgram variety namely Chai Nat 80, a cross between Prajeen and NBG 5 varieties was studied for sprouts and yield in 1989 at chai Nat field Crops Research Centre. An average yield from 21 locations was obtained at 250 kg/rai which was 14% higher yield than a recommended variety namely Phitsanuloke 2. The seed weight of chai Nat 80 ws also 11 % higher than Phitsanuloke 2 (57.5 vs 51.7 g/1,000 seeds). A higher stability of yields was also found with this variety. Sprout weight obtained from chai Nat 80 vareity was also 6% higher than Phitsanuloke 2. The ratio of seed weight to sprout weight of this variety was 1 to 6, compared with 1 to 5 of Phitsanuloke 2. The sprouts also had sweet taste and crispiness without raw smell as comparison to those of Phitsanuloke 2. A study of farmers' adoption of Chai Nat 80 was conducted in Phetchabun and Nakhon Sawan provinces indicated that Chai Nat 80 was farvorable and acceptable by all farmers interviewed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ใหม่ชัยนาท 80 เพื่อการเพาะถั่วงอก
อารดา มาสริ
กรมวิชาการเกษตร
2550
เอกสารแนบ 1
การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์ การคัดเลือกเบื้องต้นพันธุ์ถั่วเหลืองสำหรับผลิตถั่วงอก โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำจากลักษณะภายนอกแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอล อิทธิพลของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและอัตราการหว่านต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตถั่วเขียวผิวดำ อิทธิพลของการป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำ การเปรียบเทียบวิธีการปลูกถั่วเขียวผิวมันพันธุ์ชัยนาท 60 ในนาเกษตรกร การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดำเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก การสำรวจการผลิตถั่วเขียวผิวดำและอุตสาหกรรมการเพาะถั่วงอกในเขตภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก