สืบค้นงานวิจัย
รูปแบบการบริหารไรกระเทียมแบบผสมผสาน
พัชรี มีนะกนิษฐ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารไรกระเทียมแบบผสมผสาน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชรี มีนะกนิษฐ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ศึกษารูปแบบการบริหารไรกระเทียมแบบผสมผสาน ที่ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนโดยได้ศึกษาความรู้ และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมเป็นการค้า จำนวน 30 ราย นำผลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบที่กำหนดไว้แล้วนำไปจัดทำแปลงศึกษาทดสอบ จำนวน 5 แปลง คือ แช่หัวพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีกำจัดไร 3 ชนิด คือ โปรโมโพไพเลท อมีทร๊าช และกำมะถันผง, แปลงเกษตรกรซึ่งไม่มีการแช่หัวพันธุ์ก่อนปลูก แต่มีการใช้สารเคมีควบคุมเมื่อพบการระบาดของไรและแปลงตรวจสอบซึ่งฉีดพ่นน้ำยาเพียงอย่าวเดียว เปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การทำลายของไร และผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจต่อไร่ ดำเนินการระหว่าง กรกฏาคม 2536 ถึงเมษายน 2537 ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่พบปัญหาการระบาดของไรกระเทียม และตัดสินใจแก้ไขปัญหาเอง แต่มีเกษตรกรร้อยละ 33.3 ที่ไปขอคำแนะนำเรื่องสารเคมีจากพ่อค้าขายยา เกษตรกรยังใช้สารเคมีไม่ถูกต้องกับชนิดศัตรูพืช คือ ส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง เช่น เมวินฟอส (ใช้กันร้อยละ 38.45) มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 15.39 ที่ใช้สารเคมีกำจัดไร คือ กำมะถันผง อย่างไรก็ตามก่อนการปลูกกระเทียม เกษตรกร 93.3 มีการคัดกลีบกระเทียมที่สมบูรณ์ไปปลูก และร้อยละ 86.67 ทำการแยกต้นกระเทียมที่ผิดปกติออกก่อนการเก็บรักษา ผลจากแปลงศึกษาทดสอบ พบการทำลายของไรสูงเมื่อกระเทียมอายุได้ 2 อาทิตย์ ในแปลงเกษตรกรและ แปลงตรวจสอบ และเมื่อกระเทียมอายุ 42 วัน พบเปอร์เซ็นต์การทำลายในแปลงที่มีการแช่หัวพันธุ์ด้วยกำมะถันผง 52.5% แปลงเกษตรกร 61.5% และแปลงตรวจสอบ 68.0% และเมื่อกระเทียมแก่ใกล้เก็บเกี่ยว พบการทำลายของไรทุกแปลงศึกษา แต่เปอร์เซ็นต์การทำลายพบสูงจากแปลงแช่หัวพันธุ์ด้วยกำมะถันผง แปลงเกษตรกร และแปลงตรวจสอบ เมื่อพิจารณาถึงผลผลิตและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ พบว่า แปลงที่มีการแช่หัวพันธุ์ก่อนการปลูกทุกแปลงให้ผลผลิตและผลตอบแทนสูงกว่าแปลงตรวจสอบ แปลงที่มีการแช่หัวพันธุ์ด้วยสารเคมีโบรโมโปรไพเลทให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ 26,064.50 บาท/ไร่ รองลงมาคือแปลงที่มีการแช่หัวพันธุ์ด้วยสารอมีทร๊าช แปลงเกษตรกร และแปลงแช่หัวพันธุ์ด้วยกำมะถันผงตามลำดับ รูปแบบการบริหารไรกระเทียมแบบผสมผสานที่เกษตรกรควรนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และได้ผลตอบแทนสูงสุด คือ เกษตรกรต้องเริ่มตั้งแต่ การเตรียมหัวพันธุ์ ควรคัดเลือกกลีบกระเทียมที่สมบูรณ์ ทำการแช่หัวพันธุ์เพื่อกำจัดไรที่อาจติดมากับหัวพันธุ์ และเมื่อปลูกกระเทียมแล้ว จะต้องสำรวจตรวจนับดูการทำลายของไรกระเทียมอยู่เสมอ และใช้สารกำจัดไรเมื่อจำเป็นหรือเมื่อพบการทำลายของไรสูงเกินกว่า 25% ของจุดสำรวจ สารเคมีกำจัดไรควรใช้ตามคำแนะนำ คือ ไตรอะโซฟอส เกษตรกรควรมีการปฏิบัติดูแลอื่น ๆ เช่น ใส่ปุ๋ยคอกก่อนปลูก ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ กำจัดวัชพืชโดยการถอน เพื่อให้ต้นกระเทียมสมบูรณ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รูปแบบการบริหารไรกระเทียมแบบผสมผสาน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2537
ผลกระทบของการเปิดเขตการค้าเสรี ไทย-จีน ต่อเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษาระบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่มีต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อการบริหาร จัดการความเสี่ยงด้านผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาล ก้าวสู่ความสำเร็จการบริหารจัดการชลประทาน โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี การพัฒนาการบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเพื่อปฏิรูปภาคการใช้น้ำเกษตรกรรมของประเทศไทย การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนระดับน้ำอย่างทันกาลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวเกษตรกร แนวทางการบริหารจัดการโรงเรือนกางมุ้งในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท และ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เรื่องเล่าจากเกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการเติมน้ำ เติมชีวิต) คู่มือการบริหารจัดการน้ำโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ พร้อมจัดฝึกอบรมและให้ค้าแนะนำกลุ่มผู้ใช้น้ำ ของสำนักงานชลประทานที่ 9 แนวทางในการบริหารจัดการให้เกิดการชำระคืนเงินกู้ของเกษตรกรลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษา : สำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก