สืบค้นงานวิจัย
ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรชาวเขาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และปลอดภัยใน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ไพบูลย์ สุทธสุภา - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรชาวเขาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และปลอดภัยใน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Tribal Farmer's Knowledge and Attitude on Safe Pesticide Use in Mae Chaem District, Chiang Mai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพบูลย์ สุทธสุภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Paiboon Suthasupa
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และปลอดภัยของเกษตรกรเผ่าม้ง และกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ไปใช้ในการวางแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัยของเกษตรกรสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคราวนี้ คือ เกษตรกรชาวม้ง 22 คน ในบ้านปุยเหนือ และปุยไต้ และเกษตรกรชาวกะเหรี่ยง 17 คนในบ้านสันปูเลย และบ้านปุยกะเหรี่ยง รวมทั้งเจ้าหน้าที่เกษตร และเจ้าของร้านขายสารเคมี อีกด้วย จากผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรใช้สารเคมีทั้ง 3 ประเภท คือ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าและยาป้องกันโรค เกษตรกรส่วนใหญ่ พ่นสารเคมีครั้งสุดท้ายก่อนเก็บผักจำหน่ายเป็นระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เกษตรกรผสมสารเคมีด้วยตัวเอง แต่ส่วนใหญ่ซื้อสารเคมีโดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำวิธีการใช้จากผู้ขายสารเคมีเลย เกษตรกรจะเก็บสารเคมีไว้ในบ้าน เกษตรกรบางคนเก็บไว้ในป่าหรือในไร่นาของตนเอง เกษตรกรบางคนใช้หน้ากากป้องกันละอองเข้าจมูก และสวมรองเท้าบูท บางคนสวมชุดเฉพาะในขณะพ่นยา บางคนเพียงแต่ใช้เสื้อหนาแขนยาว และใช้ผ้าขาวม้าปิดจมูกเท่านั้น เกษตรกรที่ป่วยจากสารเคมีจะมีอาการปวดศีรษะหน้ามืด เวียนศีรษะ ผิวหนังเป็นผื่น ถ้าเป็นมากจะอาเจียร เกษตรกรที่มีอาการ จะดื่มน้ำเกลือหรือน้ำตาลผสมน้ำ หรือกินยาแก้แพ้ หรือยาสมุนไพรแต่ผลจากการตรวจเลือดเกษตรกร 200 รายของโรงพยาบาลแม่แจ่ม พบผู้มีอาการร้ายแรงเพียง 1 รายและอีก 17 รายมีสารพิษตกค้างในร่างกายเท่านั้น ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรเผยแพร่ความรู้การใช้สารเคมีผ่านวิทยุกระจายเสียงโดยใช้ภาษาชาวเขา ทำแปลงสาธิตการใช้สารเคมีโดยเกษตรกรเอง รณรงค์ให้มีการใช้สารเคมีให้น้อยลง โดยเน้นไปที่เด็กนักเรียน เช่น ปลูกผักปลอดสารพิษหรือผักกางมุ้ง ส่งเสริมให้มีการกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น ใช้สารสะเดา ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน ใช้กาวเหนียว ใช้กับดัก หรือใช้ยาเชื้อจุลินทรีย์ให้มากขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to gather the basic information concerning farmers' knowledge and attitude on safe pesticide use of Hmong and Karen in Mae Chaem District, Chiang Mai in order to apply this information for training program on safe pesticide use for agencies concerned. Population used were 22 Hmong farmers in Ban Pui Nua and Ban Pui Tai and 17 Karen farmers in Ban Sun Poo Luey and Pui Kariang as well as agricultural officers and pesticide dealers. From rescarch findings, it was found that farmers applied three kinds of pesticide, namely, insecticide, fungicide and herbicide. Most farmers sprayed pesticide 7 days before selling which was the right time. Farmers mixed pesticide by themselves but bought it without any suggestion from dealers. Usually, farmers stored pesticide at their homes but some kept it in the forest or in their own farms. Some used mask and boots for protection while some wore special coat while spraying. Some merely used thick cloth with long sleeves or covered their faces with loin cloth. Farmers infected from pesticide felt headache with irritated skin or ever vomited for severe case. For healing, they drank salt water or sugar dissolved in water or had medicine for allergy or herbs. From blood testing of 200 farmers at Mae Chaem hospital, only 1 severe case and 17 infected farmers were found. It is recommended to disseminate knowledge on pesticide use through broadcastion station by using tribal languages, demonstration plots for safe pesticide use by farmers, to campaign the reduction use of pesticide by focusing on school students, e.g. chemical free vegetable growing and to promote "'Integrated Pest Management" (IPM) by using neems, predators and parasites, insect trap and glue or thuricide.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247346/169204
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรชาวเขาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และปลอดภัยใน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2541
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ทัศนคติที่มีผลต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ในจังหวัดสงขลา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้ง ผู้ปลูกผัก ในจังหวัดเชียงใหม่ สถานภาพการผลิตและทัศนคติในการเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่งในอำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดแพร่ ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยยีเกษตรต่อครอบครัวเกษตรกรชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาสถานะทางการเงินส่วนบุคคล ของเกษตรกรผู้ปลูกพริกในตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวบ้านโปง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก