สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับของการให้นํ้าชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าหวาน
สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับของการให้นํ้าชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าหวาน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of water irrigation regimes on growth and yield of Stevia rebaudiana Bertoni
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sommart Yoosukyingsataporn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมยศ เดชภิรัตนมงคล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Somyot Detpiratmongkol
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาถึงผลของปริมาณการให้น้ำชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต ของหญ้าหวาน ทำการทดลองในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2556 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 ที่เรือนทดลองของ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design มีจำนวน 3 ซ้ำ มีการให้น้ำชลประทาน 6 ระดับโดยเทียบได้จากการระเหยของน้ำสะสมจากถาด วัดน้ำระเหย (E) ซึ่งมีค่าของการให้น้ำซลประทานเท่ากับ 30% E, 50% E, 70% E, 90% E, 100% E และ 110% E ผลจาก การศึกษา พบว่า การให้น้ำในปริมาณที่น้อยที่สุด (30% E) มีผลทำให้ อัตราการคายน้ำ และ total stomata conductance มีค่าลดลง แต่อุณหภูมิของใบมีค่าเพิ่มมากขึ้น การให้น้ำในปริมาณที่แตกต่างกันมีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของ หญ้าหวานเป็นอย่างมาก หญ้าหวานที่ได้รับปริมาณน้ำชลประทานที่มากที่สุด (110% E ให้น้ำหนักแห้งของ ลำต้น, ใบ. ดอก และน้ำหนักแห้งรวม มีค่ามากที่สุด ขณะที่การให้น้ำชลประทานที่น้อยที่สุด (30% E) ให้ผลผลิตต่ำที่สุด
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study the effects of water irrigation regimes on growth and yield of stevia. The experiment was conducted during December, 2013 to May, 2014 at glasshouse of Faculty of Agricultural Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. A randomized complete block design with 3 replication was used. Six irrigation regimes based on cumulative evaporation (E) (i.e. 30% E , 50% E ,70% E , 90% E 100% E and 110% E) The results showed that the lowest irrigation amount (30% E) reduced transpiration rate, total stomata conductance but increased in leaf temperature. The different amount of irrigation affected Stevia growth and yield. Stevia grown under the greatest water amount (110% E) gave the highest stem , leaf , flower and total dry weight whereas those under the least irrigation amount (30% E) gave the lowest yield.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P048 Agr_19.pdf&id=1916&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับของการให้นํ้าชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าหวาน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของปุ๋ยมูลไก่ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 2) ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 1) ประมาณการให้น้ำชลประทานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและผลผลิตที่เหมาะสมของหญ้าปักกิ่ง ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในจังหวัดเพชรบุรี ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในจังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 2 ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตในหญ้าหวาน ผลของปุ๋ยหมักเติมอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของดาวเรือง ผลของการให้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อ การเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง ปีที่ 1 ผลของการขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโตต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก