สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่การส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก
ชวลิต หุ่นแก้ว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่การส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชวลิต หุ่นแก้ว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ประชากรที่ศึกษาคือผู้ช่วยเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่เกษตร 100 คน เกษตรอำเภอ 38 คน และเกษตรจังหวัดและผู้ช่วยเกษตรจังหวัด 14 คน ในภาคตะวันออก โดยส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ เกษตรอำเภออายุเฉลี่ย 40.11 ปี ร้อยละ 55.26 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 10.35 ปี ส่วนเจ้าหน้าที่การเกษตรอายุเฉลี่ย 28.95 ปี ร้อยละ 63.00 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรในกรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 4.66 ปี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกให้ความสำคัญต่หน้าที่ "ส่งเสริมการเกษตรตามที่กรมฯ จังหวัดและอำเภอมอบหมายมากที่สุด โดยที่เกษตรอำเภอจะปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำทุกวัน ส่วนเจ้าหน้าที่การเกษตรจะปฏิบัติหน้าที่นี้ 2-3 วัน/ครั้ง หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่การเกษตรมีความเห็นสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเกี่ยวกับอันดับความสำคัญของหน้าที่ที่ปฏิบัติในการส่งเสริมการเกษตร ทัศนคติต่อการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมกาเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกและผู้บังคับบัญชามีทัศนคติที่ดีต่อการฝึกอบรม และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอและผู้บังคับบัญชาต่อการฝึกอบรมนั้นสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ความต้องการในการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกมีความต้องการในการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามอายุ แต่ไม่แตกต่างกันตามระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งหน้าที่การงาน และความต้องการในการฝึกอบรมด้านวิชาการเกษตรและด้านการส่งเสริมเผยแพร่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอก็ไม่แตกต่างกัน โดยที่ ด้านการส่งเสริมเผยแพร่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกมีความต้องการในการฝึกอบรมสอดคล้องกันคือ เกษตรอำเภอต้องการเข้ารับการฝึกอบรมวิชาเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมเป็นอันดับที่แรก วิชาหลักการส่งเสริมเป็นอันดับที่สอง และวิชาการวางแผนงานส่งเสริมเป็นอันดับที่สาม ส่วนเจ้าหน้าที่การเกษตรต้องการเข้ารับการฝึกอบรมวิชาหลักส่งเสริมเป็นอันดับแรกวิชาเทคนิคและวิธีการใช้ในการส่งเสริมและวิชาการวางแผนงานส่งเสริมเป็นอันดับสองและอันดับสามตามลำดับ แต่ในด้านวิชาเกษตร ความต้องการในการฝึกอบรมของเกษตรอำเภอ และไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของเกษตรอำเภอที่คิดว่าเจ้าหน้าที่การเกษตรควรจะมีความต้องการในการฝึกอบรมในเรื่องนั้น ๆ ด้วย โดยที่เจ้าหน้าที่การเกษตรมีความต้องการในการฝึกอบรมในเรื่อง ๆ นั้นด้วย โดยที่เจ้าหน้าที่การเกษตรต้องการเข้ารับการฝึกอบรมวิชาป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวเป็นอันดับแรก วิชาความรู้เรื่องข้าวเป็นอันดับสอง และวิชาพืชเศรษฐกิจเป็นอันดัสาม ส่วนเกษตรกรอำเภอต้องการเข้ารับการฝึกอบรมวิชาการผ้องกันและกำจัดศัตรูข้าวเป็นอันดับแรก วิชาชีพพืชเศรษฐกิจอันดับสอง วิชายางพารา ความรู้เรื่องข้าว และการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอันดับสาม เกษตรอำเภอมีความเห็นว่าเจ้าหน้าที่การเกษตรควรได้รับการฝึกอบรมพืชเศรษฐกิจอันดับแรก วิชาการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวเป็นอันดับสอง และวิชาไม้ผลไม้ยืนต้น กับวิชาความรู้เรื่องปุ๋ยและยาเป็นอันดับสาม จากการเปรีบบเทียบความต้องการในการฝึกอบรมในด้านวิชาการเกษตรและด้านการส่งเสริมเผยแพร่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชากับความคิดเห็นของตัวเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอเองปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่การส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2527
ความต้องการฝึกอบรมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก ความต้องการในการฝึกอบรมของปศุสัตว์อำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการเอกสารเผยแพร่เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันออก ความต้องการฝึกอบรมด้านการส่งเสริมเผยแพร่ของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรระดับอำเภอ ความต้องการการฝึกอบรมของเกษตรตำบล จังหวัดสุรินทร์ ปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนม ความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ความต้องการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก ความต้องการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลใน 4 จังหวัดภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก