สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์เปียแตรง
กมล ฉวีวรรณ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์เปียแตรง
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Malignant Hyperthermia Genotype on Economic Traits of Pietrain Pigs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กมล ฉวีวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kamon Chaweewan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การกลายพันธุ์ของยืน Ryanodine receptor (RYR) ในสุกรทำให้เกิดลักษณะด้อยที่เรียกว่า ลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia (ซ!) ทำให้ได้เนื้อแดงที่คุณภาพไม่ดี สุกรช็อคตายได้ ง่ายจากกลุ่มอาการเกรียด แต่ได้ปริมาณเนื้อแดงสูงขึ้น ซึ่งลักษณะพันธุกรรมนี้ตรวจสอบได้โดยใช้ เทคนิค PCR ลักษณะพันธุกรรม แ พบได้มากในสุกรพันธุ์เปียแตรง ซึ่งเป็นสุกรที่ให้เนื้อแดงมาก นิชมนำไปใช้พัฒนาพ่อพันธุ์สุดท้ายเพื่อใช้ผลิตสุกรขุน กรศึกยาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของ ลักษณะพันธุกรรม " ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์เปียแตรง โดยตรวจสอบลักษณะ พันธุกรรมของสุกรที่ใช้ศึกษาด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ primer ที่จำเพาะ จากนั้นทดสอบพันธุ์สุกร จากน้ำหนัก 30 กิโลกรัมถึงน้ำหนัก 90 กิโลกรัม เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรที่มี ลักษณะพันธุกรรมต่างกัน จากการตรวจสอบลักษณะพันธุกรรมด้วยเทคนิค PCR ในสุกรพันธุ์เปีย แตรงจำนวน 91 ตัว พบว่าสัดส่วนของลักษณะพันธุกรรม NN, Nn และ nn เท่ากับ 29.67, 35.16 และ 35.16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยมีความถี่ของ N เท่ากับ 0.472 และ n เท่ากับ 0.527 จากการ ทสอบพันธุ์พบว่าสุกรที่มีลักษณะพันธุกรรม แ! มีความหนาไขมันสันหลังบางกว่ากลุ่ม Nn แต่ไม่ แตกต่างจากกลุ่ม NN โดยมีค่าเท่ากับ 0.83, 1.02 และ 0.90 ซม. ตามลำดับ (P<0.05) และสุกรที่มี ลักษณะพันธุกรรม nn มีพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันใหญ่กว่า NN และ Nn โดยมีค่าเท่ากับ 41.61, 39.82 และ 39.91 ตร.ซม. ตามลำดับ (P<0.01) ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อายุที่น้ำหนัก 90 กิโลกรัม ความยาวลำตัว ความกว้างลำตัว และความสูง ไม่แตกต่างกัน (P> 0.05) โรงเรือนที่ใช้ทดสอบพันธุ์มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร (P<0.05) ความหนาไขมัน สันหลัง (P<0.01) และพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (P0.05) ฤดูกาลที่ทดสอบพันธุ์มีอิทธิพลต่อความหนา ไขมันสันหลัง (P<0.01) และพลของสุกรทั้งสามกลุ่มลักษณะพันธุกรรมไม่มีอิทธิพลต่อลักษณะ ทางเศรษฐกิจ (P>0.05)
บทคัดย่อ (EN): The Malignant Hyperthermia genotype (nn) is homologous recessive Ryanodine receptor gene that has an effect on increased lean percentage but poor meat quality and porcine stress syndrome, PSS. The genotyping can be efficiently performed by polymerase chain reaction technique, PCR. The homologous recessive was highly evident in Pietrain pig that also provided high lean meat. Some of fattening pigs in the commercial pig production were produced from Pietrain or Pietrain-crossed terminal boars to improve lean meat. The effects of Malignant Hyperthermia genotype on economic traits in the Pietrain pigs were studied. The three Halothane genotypes were evaluated using PCR technique. The performance testing of different genotype pigs was performed from 30 to 90 kg body weight. Ninety onc pigs were genotyped. The ratios of NN, Nn and nn genotypes were 29.67, 35.16 and 35.16 per cent, respectively. The gene frequencies of N and n are 0.472 and 0.527, respectively. Backfat thickness (BF) of the nn pigs was significantly thinner than for the Nn but not significantly different from NN pigs, 0.83, 1.02, and 0.90 cm (P<0.05), respectively. The loin eye area (LEA) of nn was larger than NN and Nn genotypes, 41.61, 39.82, and 39.91 cm' (P<0.01), respectively. Average daily gain (ADG), feed conversion ratio (FCR), age at 90 kg, body length (L1), heart girt (HG) and height (H) were not statistically different (P>0.05) between NN, Nn and nn genotypes. The testing houses affected FCR (P<0.05), BF (P<0.05), and LEA (P<0.05), respectively. The seasons of performance testing affected BF (P<0.01). The sex of different genotype pigs did not affect economic traits (P>0.05).
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองบำรุงพันธุ์สัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์เปียแตรง
กมล ฉวีวรรณ
กองบำรุงพันธุ์สัตว์
2552
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
การใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ในสุกรพันธุ์เปียแตรง การศึกษาความแปรปรวนของลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกร พันธุ์ปากช่อง 2 การสร้างสุกรพันธุ์แลนด์เรซของกรมปศุสัตว์ การสร้างสุกรพันธุ์แลนด์เรซของกรมปศุสัตว์ (28) การศึกษาความแปรปรวนของลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์แลนด์เรซสายพันธุ์ปากช่อง 1 ในรุ่นที่ 4 และในรุ่นที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเจริญเติบโต ปริมาณ Growth Hormone และ Lipoprotein ในกระแสเลือดของสุกรที่ถูกคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุกรรมภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวายด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ อิทธิพลของสัดส่วนการให้ลูกเพศเมียแรกคลอดมีชีวิตต่อลักษณะการเจริญเติบโตก่อนหย่านมในสุกรพันธุ์เพียเทรน การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะขนาดครอกในสุกรโดยใช้โมเดลลูกผสม การศึกษาความแปรปรวนของลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์ปากช่อง 2 การศึกษาความแปรปรวนของลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์ปากช่อง 5

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก