สืบค้นงานวิจัย
ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือต่อพืชทดสอบและการใช้ต้นคลุกดิน เพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว
เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ กมลภรณ์ บุญถาวร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือต่อพืชทดสอบและการใช้ต้นคลุกดิน เพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Chromolaena odoratum Aqueous Extract on Bioassay Plant and its Soil Incorporation for Weed Suppression in Paddy F ield
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ กมลภรณ์ บุญถาวร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Det Wattanachaiyingchareon Thanatchasanha Poonpaiboonpipattana Kamolporn Boonthaworn
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากสาบเสือต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชทดสอบ และผลของการใช้ต้นสาบเสือคลุกดินต่อการลดลงของวัชพืชในนาข้าว เตรียมสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือทั้งต้น ที่ระดับความเข้มข้น 12.5 25 50 และ 100 ก.น้ำหนักแห้ง/ล. โดยมีน้ำกลั่นเป็นกรรมวิธีควบคุมนำมาทดสอบควบคุมการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าว ได้แก่ หญ้าข้าวนก(Echinochloa crus-galli (L.) Beauv.) และกะเม็ง (Eclipta prostrata L.) ด้วยวิธี Petridishtest ผลปรากฏว่า สารสกัดมีผลทำให้อัตรา การงอก ความยาวต้น และรากของพืชทดสอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นที่ความเข้มข้น 12.5 ก./ล. สารสกัดแสดงการยับยั้งมากขึ้นเมื่อระดับความเข้มข้นของสารสกัดสูงขึ้น การทดลองใช้สาบเสือทั้งต้นในสภาพสดคลุกกับดินนาในกระถางทดลอง พบว่า จำนวนวัชพืชและน้ำหนักแห้งที่ลดลงแปรผันตามอัตราของสาบเสือที่เพิ่มขึ้น ที่อัตรา 1.6 3.2 4.8 และ 6.4 ตันน้ำหนักสด/ไร่ ลดจำนวนวัชพืชรวม ได้ 77.581.95 85.7 และ 87.22% ตามลำดับ ทุกอัตรา สามารถลดปริมาณวัชพืชจำพวก กก และวัชพืชใบกว้างได้อย่างสมบูรณ์ (100%) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ในต้นสาบเสือมีสารยับยั้งที่เรียกว่าอัลลิโลพาธี ซึ่งสามารถยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชบางชนิดในนาข้าว ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้สาบเสือเพื่อควบคุมวัชพืชในระบบการปลูกข้าว เพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): This study was aimed to investigate an effect of Chromolaena odoratum (L.) R.M. King & H. Rob extract on weed test, and its soil incorporation for paddy weed suppression. Aqueous extract of whole C. odoratum plant at concentrations of 0 (control; distilled water), 12.5, 25, 50 and 100 g dry weight/L was bioassayed (in vitro) on the germination and seedling growth of barnyardgrass (Echinochloa crus-galli (L.) Beauv.) and false daisy (Eclipta prostrata L.) weeds by petri-dish test method. The result showed that whole plant extract at all concentrations significantly deceased the germination, shoot and root length of both weeds except at concentration of 12.5 g/L. Results indicated that increase of C. odoratum concentration causes the progressive inhibitory. Fresh whole plant cooperated with paddy soil in plastic pot condition at ratio of 1.6, 3.2, 4.8 and 6.4 ton fresh weight/rai suppressed total weeds by 77.5, 81.95, 85.7 and 87.22%, respectively. All rates used completely inhibited broadleaf and sedge weeds (100%). These results suggested C. odoratum had inhibiting compounds, called allelochemicals, that can inhibit the germination and seedling growth of certain paddy weeds. It could be applied for weed control in rice production in order to decrease or success uses of synthetic herbicide in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือต่อพืชทดสอบและการใช้ต้นคลุกดิน เพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว
กรมวิชาการเกษตร
2559
เอกสารแนบ 1
ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน อิทธิพลของสารที่สกัดจากผักปอดนาต่อการเจริญเติบโตของวัชพืช อิทธิพลของธาตุอาหารพืชไนโตรเจนที่ตรึงในดินต่อผลผลิตข้าว ผลของการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพอัตราต่างๆ ร่วมกับระยะเวลาในการหมักตอซังข้าวเพื่อควบคุมวัชพืชข้าว รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก