สืบค้นงานวิจัย
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์
สุพล ตั่นสุวรรณ, อนันต์ ตันสุตะพานิช, ชนินทร์ แสงรุ่งเรือง, ปฏิวัติ โตเขียว, กมลนัทธ์ ชูเซ่ง, สาริศา นุ่นสังข์, สุพล ตั่นสุวรรณ, อนันต์ ตันสุตะพานิช, ชนินทร์ แสงรุ่งเรือง, ปฏิวัติ โตเขียว, กมลนัทธ์ ชูเซ่ง, สาริศา นุ่นสังข์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Experimental on Tiger Shrimp (Penaeus monodon Fabricius, 1978) Culture under Standard of Organic Marine Shrimp Culture System
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ซึ่งได้ทดลองเลี้ยงในบ่อดินขนาดประมาณ 1 ไร่ จำนวน 4 บ่อ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วง มกราคม 2553 – กันยายน 2553 โดยแบ่งการเลี้ยงออกเป็น 2 ชุดการทดลอง คือชุดควบคุมใช้อาหารกุ้งกุลาดำทั่วไป จำนวน 2 บ่อ และชุดทดลองที่เลี้ยงตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ซึ่งให้อาหารโปรตีนไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 2 บ่อ และทั้ง 4 บ่อจะปล่อยลูกกุ้งกุลาดำที่อนุบาลในบ่อดินจนได้อายุ 30 วัน (จากลูกกุ้ง PL15) โดยมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 1.56 + 0.54 กรัม และมีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 6.01 + 0.71 เซนติเมตร ที่อัตราความหนาแน่น 20 ตัว/ตารางเมตร (15 ตัว/ลูกบาศก์เมตร) ให้อาหารวันละ 5 มื้อ มีการสุ่มชั่งน้ำหนักและวัดความยาวเพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำในแต่ละชุดการทดลองทุก 15 วัน และตรวจคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัปดาห์ละ 2 วัน ผลจากการศึกษาพบว่า กุ้งกุลาดำชุดทดลองสามารถเลี้ยงได้ 60 วัน ส่วนชุดควบคุมเลี้ยงได้ 105 วัน โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำในชุดควบคุมและชุดทดลอง ที่อายุ 45 พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของชุดควบคุมมีค่าสูงกว่าชุดทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P?0.05) โดยชุดควบคุมและชุดทดลองมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 + 1.20 และ 2.41 + 0.81 กรัม ตามลำดับ ส่วนความยาวลำตัวเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 7.97 + 1.05 และ 6.72 + 0.80 เซนติเมตร ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่าความยาวตัวเฉลี่ยของกุ้งกุลาดำที่เลี้ยงนาน 60 วัน พบว่าในชุดควบคุมมีค่าสูงกว่าและชุดทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P?0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 8.58 + 1.38 และ 8.31 + 1.18 เซนติเมตร แตกต่างจากค่าน้ำหนักตัวเฉลี่ยของกุ้งกุลาดำในชุดควบคุมและชุดทดลองที่อายุ 60 วัน ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 4.82 + 2.58 และ 4.61 + 1.85 กรัม ตามลำดับ ส่วนอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำในชุดควบคุมที่อายุ 75, 90 และ 105 วัน พบว่า มีค่าน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 9.56 + 4.74, 10.95 + 3.89 และ 12.18 + 3.46 กรัม ตามลำดับ ส่วนค่าความยาวตัวเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 10.74 + 1.68, 11.38 + 1.42 และ 11.94 + 1.10 เซนติเมตร ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำตลอดระยะเวลาการทดลอง พบว่า ในทุกพารามิเตอร์ของทั้งสองการทดลองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่กำหนดค่าโปรตีนในอาหารต่ำกว่าอาหารกุ้งทั่วไปและต้องใช้วัสดุจากกระบวนการผลิตแบบอินทรีย์ที่ค่อนข้างหายากเพื่อนำมาทดแทนวัสดุจากการผลิตแบบปกตินั้น ส่งผลให้กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อง่าย (ตัวแดงดวงขาว) กว่ากุ้งที่ใช้สูตรอาหารโดยทั่วไป รวมทั้งยังทำให้การเจริญเติบโตต่ำกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติในท้องตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์
กรมประมง
31 มีนาคม 2554
กรมประมง
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การฟื้นฟูดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon ผลของการเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารต่อความเข้มสีในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798) การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ กรรมวิธีทางอณูชีววิทยาเพื่อการกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำเลี้ยง การเปลี่ยนแปลงของดินจากการจัดการดินต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก