สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของการพรวนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่ในภาคเหนือของลาว
P. Sengxua - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการพรวนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่ในภาคเหนือของลาว
ชื่อเรื่อง (EN): The effect of tillage on performance of upland rice varieties in northern Laos
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): P. Sengxua
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เกษตรกรในประเทศลาวมักปลูกข้าวไร่ภายใต้ระบบการทำไร่เลื่อนลอย โดยมีการถางป่า แล้วปลูกข้าวเพียง 1 หรือ 2 ฤดู แล้วย้ายไปปลูกในพื้นที่ใหม่ โดยปล่อยให้ดินในพื้นที่เดิมฟื้นฟูดวามอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ในปัจจุบันรัฐบาลลาวมีนโยบายที่จะลดการทำไร่เลื่อนลอยให้หมดไป และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่เดิมอย่างถาวร แต่การปลูกข้าวไร่ภายใต้ระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มักทำให้ผลผลิตของข้าวลดลงหรือไม่คงที่ การที่ดินแน่นทึบเนื่องจากเกษตรกรไม่มีการพรวนดินก่อนปลูกอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานว่าการพรวนดินจะช่วยให้รากสามารถชอนไชลงไปในดินได้ดีส่งผลให้ข้าวไร่มีผลผลิตสูงขึ้น ถึงแม้ว่ามีการปลูกในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ของงานทดลองคือ (1) เพื่อศึกษาว่าการปลูกข้าวไรโดยการพรวนดินบริเวณหลุมปลูก (ก่อนหลอดเมล็ด) สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าวได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโดยวิธีดั้งเดิมคือใช้ไม้กระทุ้งดินเป็นหลุมแล้วหยอดเมล็ด (2) เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ 5 พันธ์ ที่ปลูกในสภาพที่มีการพรวนและไม่มีการพรวนดินดังกล่าว ได้ทำการทดลองในปี พ.ศ. 2547 พื้นที่ปลูก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวมาแล้ว 2 ปี และเป็นพื้นที่ลาดชันในแขวงหลวงพระบาง ทางภาดเหนือของลาว ทั้ง 2 พื้นที่ใช้แผ่นการทดลองแบบ split-plot design มี 3 ซ้ำ โดย มีmain-plot คือ การพรวนและไม่พรวนดิน และ sub-plot คือข้าวไร่ 5 พันธุ์ (เจ้ามัด, ลาบุญ, หมากหินสูง, นก และเวียง) ผลการทดลองพบว่า จากทั้ง 2 พื้นที่ปลูก น้ำหนักแห้งและผลผลิตข้าวไม่แสดงความแตกต่างทางสถิดิระหว่าง การพรวนหรือไม่พรวนเตรียมดิน แต่พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) ระหว่างน้ำหนักแห้งและผลผลิตข้าวทั้ง 5 พันธุ์ โดยข้าวพันธุ์ "เจ้ามัด" ให้ผลผลิตสูงที่สุดทั้งจากการปลูกแบบมีการพรวนและไม่พรวนดิน ผลของการทดลองทำให้ทราบว่าการปลูกข้าวไร่โดยไม่พรวนดินไม่ทำให้เกิดดินแน่นทึบจนถึงระดับที่ทำให้ลดการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวไรในพื้นที่ลาดชันทางภาคเหนือของประเทศลาว
บทคัดย่อ (EN): The tradition of farmers in the uplands of Laos is to cultivate upland rice under slash and burn systemsby planting rice for only one or two seasons and then allowing the soil to regenerate fertility. However, the recentgovernment policy is to eliminate the slash and burn cultivation and to encourage farmers to adopt more permanentrice cropping systems. Under such continuously cropping of upland rice, the yields become low and unstable. Soilcompaction caused by planting without tillage could be one of the factors to decrease upland rice productivity.Therefore, tilling the soil for better root penetration may have the potential to increase upland rice yields incontinuously cropped rice systems.The objectives of this study were (1) to observe whether a mild tillage treatment (soil disturbance aroundeach hill at planting) could increase upland rice productivity as compared to the traditional dibbled plantingtechnique; to determine the performances of five rice varieties grown under such tillage and no-tillage conditions.The experiment was conducted in 2004 on the plots with the history of continuous planting of upland ricefor 2 years at two locations on sloping land in Luang Prabang province, northern Laos. The experimental designswere similar at both locations being a split-plot with three replications. The main plots were under either treatedwith tillage or no-tillage soil preparations. Sub plot treatments were five upland rice varieties i.e Chaomad, Laboun,Makhinsung, Nok and Vieng.The result from the experiment did not indicate any significant difference between upland rice yieldsobtained from tillage or no tillage practices in either location. However, there was a highly significant difference(P<0.01) in yields between the five rice varieties under both soil conditions at both locations. çChaomadé rice varietygave the highest yield in both treatments and both locations. The results of the study also suggest that the currentdibble stick technique of planting did not cause soil compaction serious enough to decrease yield of upland rice.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249898/170764
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของการพรวนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่ในภาคเหนือของลาว
P. Sengxua
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียวในดินจังหวัดพัทลุง การศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศของสตรอเบอรี 2 สายพันธุ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในแขวงเซกองประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิตของปลานิลแดงในบ่อพักน้ำเค็ม การใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่และวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลทรายต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก