สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของปลานิลจากการเลี้ยงแบบยั่งยืน
สมสมร แก้วบริสุทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของปลานิลจากการเลี้ยงแบบยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Technology for improving safety and quality of tilapia produced from sustainable aquaculture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมสมร แก้วบริสุทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somsamol Kaewborisut
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการศึกษาข้อมูลด้านความปลอดภัยและคุณภาพ ของปลานิลและกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงร่วมกันกับปลานิล ของเกษตรกร 3 ราย เกษตรกรรายที่ 1 เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกรามจำนวน 2 บ่อ เกษตรกรรายที่ 2 เลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียว และเกษตรกรรายที่ 3 เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกรามจำนวน 1 บ่อ ข้อมูลด้านความปลอดภัยมาจากปริมาณ/การพบแบคทีเรียดัชนีการปนเปื้อนและแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด ได้แก่ Enterobacteriaceae, coliforms, Escherichia coli, Vibrio spp., Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. สำหรับการศึกษาด้านคุณภาพครอบคลุมการศึกษา ปริมาณ mesophilic bacteria, psychrotrophic bacteria, ปริมาณเนื้อ, ปริมาณหัว, องค์ประกอบทางเคมี (ความชื้น โปรตีน ไขมัน และเถ้า), ค่าสี (‘L’, ‘a’ และ ‘b’), ค่าเนื้อสัมผัส, ปริมาณ cooking loss, ค่าความเป็นกรด-ด่าง, ปริมาณด่างที่ระเหยได้, และกลิ่นทางประสาทสัมผัสของเนื้อปลา/กุ้งก้ามกรามสุก ผลการทดลองพบว่าเนื้อปลามี Enterobacteriaceae ปริมาณ 1.57x101-3.12x103 cfu/g, coliforms <2.5-3.74x101 cfu/g ตรวจไม่พบ E. coli, Vibrio spp., S. aureus, และ Salmonella spp. ในปลานิลจากเกษตรกรรายที่ 1 และ 3 แต่ในปลานิลที่สุ่มจากเกษตรกรรายที่ 2 พบเชื้อ Salmonella choleraesuis subsp. arizonae และ Shigella spp. การศึกษาด้านคุณภาพเนื้อปลาพบว่ามีปริมาณ mesophilic และ psychrotrophic bacteria เท่ากับ 1.22x103-4.64x104 และ 2.33x101-7.36x102 cfu/g ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยความชื้น โปรตีน ไขมัน และเถ้า เท่ากับร้อยละ 76.08-77.13, 19.06-19.88, 1.70-3.31, และ 1.18-1.29 ตามลำดับ ไม่พบว่าเนื้อปลามีคาร์โบไฮเดรต เนื้อปลานี้มีค่าสี ‘L’, ‘a’ และ‘b’ อยู่ระหว่าง 54.31-56.74, -0.69-(-1.13) และ 5.12-6.17 ตามลำดับ เนื้อปลามีปริมาณร้อยละ 34.5-36.24 หัวมีปริมาณร้อยละ 24.03-26.06 ค่าเนื้อสัมผัสอยู่ระหว่าง 2.53-2.89 Kg.force ส่วนค่า cooking loss, ความเป็นกรด-ด่าง, และปริมาณด่างที่ระเหยได้ทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 8.57-15.68, 6.59-6.85, และ 0.66-0.78 มิลลิกรัมไนโตรเจน/100 กรัม ตามลำดับ พบกลิ่นโคลนในเนื้อปลาที่สุ่มจากเกษตรกรทุกราย ความเข้มข้นของกลิ่นอยู่ระหว่าง 0.25-2.00 จุด จากเต็มสเกล 15 จุด ส่วนกลิ่นสาหร่ายพบในปลาที่สุ่มจากเกษตรกรรายที่ 3 เท่านั้น ความเข้มข้นของกลิ่นอยู่ที่ 0.75 จุด จากเต็มสเกล 15 จุด สำหรับการศึกษากุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงร่วมกับปลานิลของเกษตรกรรายที่ 1 และ 3 พบว่ากุ้งมี Enterobacteriaceae ปริมาณ 3.48-7.85x104 cfu/g, coliforms 7.32x102-6.10x104 cfu/g สำหรับ E. coli ตรวจพบเฉพาะฟาร์มที่ 1 ปริมาณ 9x102 cfu/g ทั้งสองฟาร์มตรวจไม่พบ Vibrio spp., S. aureus, และ Salmonella spp. แต่พบแบคทีเรียก่อโรคชนิด Plesiomonas shigelloides และ Aeromonas hydrophila จากกุ้งก้าม 1 ตัวอย่างที่สุ่มจากเกษตรกรรายที่ 3 เมื่อนำกุ้งทั้งตัวมาวัดปริมาณ mesophilic และ psychrotrophic bacteria พบว่ามีค่า 1.02-9.5x106 และ 4.03x104-2.17x105 cfu/g ตามลำดับ เมื่อนำเนื้อกุ้งมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่ามีความชื้น โปรตีน ไขมัน และเถ้า เท่ากับร้อยละ 77.21-77.88, 19.91-20.62, 0.92-0.97, และ 1.24-1.28 ตามลำดับ ไม่พบคาร์โบไฮเดรตในเนื้อกุ้งที่นำมาวิเคราะห์ สำหรับค่าสี ‘L’, ‘a’, และ ‘b’ มีค่าระหว่าง 38.02-40.12, -0.48-(-0.55), และ -3.61-(-3.74) ตามลำดับ กุ้งมีปริมาณเนื้อร้อยละ 35-74-36.87 และมีน้ำหนักหัวร้อยละ 49.07-62.97 ค่าเนื้อสัมผัสของเนื้อกุ้งอยู่ระหว่าง 1.87-2.00 Kg.force ปริมาณ cooking loss สูงระหว่างร้อยละ 30.45-34.64
บทคัดย่อ (EN): "The objective of this study was to obtain the information relating to safety and quality of tilapias and giant freshwater prawns raised in co-culture ponds. Three fish farms participated in the study. The first farm had two tilapia&prawn co-culture ponds. The second farmer had only one tilapia pond, while the third farmer had a tilapia&prawn co-culture pond. The safety of the tilapias and prawns was determined by the levels of Enterobacteriaceae, coliforms, Escherichia coli, Vibrio spp., Staphylococcus aureus and Salmonella spp., while the quality of the animals was expressed by mesophilic bacteria, psychrotrophic bacteria, percentage of the meat, percentage of the head, chemical compositions (moisture, protein, total fat, and ash), color of bone-side meat (‘L’, ‘a’ and ‘b’ values), instrumental texture, cooking loss, pH, total volatile base nitrogen (TVB-N), and sensorial odor of the cooked tilapia/prawn meat. The results showed that tilapia contained Enterobacteriaceae and coliforms at the levels of 1.57x101-3.12x103 and <2.5-3.74x101, respectively. E. coli, Vibrio spp., S. aureus, and Salmonella spp. were not detected in tilapias obtained from the first and the third farm. However, a sample obtained from the second farm contained Salmonella choleraesuis subsp. arizonae and Shigella spp. The studies of tilapia quality showed that the fish contained mesophilic and psychrotrophic bacteria at the levels of 1.22x103-4.64x104 and 2.33x101-7.36x102 cfu/g, respectively. Moisture, protein, total fat, ash, and carbohydrate in fish meat were 76.08-77.13%, 19.06-19.88%, 1.70-3.31%, 1.18-1.29%, and 0%, respectively. Color of bone-side meat, expressed in ‘L’, ‘a’, and ‘b’ values, was at the ranges of 54.31-56.74, -0.69-(-1.13) and 5.12-6.1, respectively. The meat and the head of tilapia were accounted for 34.5-36.24% and 24.03-26.06% of fish body weight, respectively. The instrumental texture, cooking loss, pH, and TVB-N of fish meat were 2.53-2.86 Kg.force, 8.57-15.68%, 6.59-6.85, and 0.66-0.78 mgN2/100g, respectively. Undesirable mud odor (geosmin) at the levels of 0.25-2.00 points from full scale of 15 point were detected in cooked fish meat. Blue-green algae odor (2-Methylisoborneol: 2-MIB) at the intensity of 0.75 point from full scale of 15 points was detected only in fish obtained from the third farm."
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของปลานิลจากการเลี้ยงแบบยั่งยืน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2555
การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Salmonella spp. Vibrio cholerae และ Escherichia coli ในฟาร์มเลี้ยงปลานิลในจังหวัดชลบุรี การศึกษาความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา การศึกษาเบื้องต้นด้านคุณภาพทางจุลชีววิทยาและความปลอดภัยของปลานิลจากการเลี้ยงใต้เล้าไก่ การวิจัยและปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำตาลโตนดเข้มข้นและการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ การใช้การแข่งขันของจุลินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพและเพิ่มความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ การผลิต คุณภาพ และความปลอดภัยของน้าปลาร้าปรุงรส การเสริมเมล็ดมะขามในอาหารปลานิล ปัญหาความไม่ใส่ใจในด้านคุณภาพและความปลอดภัยในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารของนักศึกษาในรายวิชาการแปรรูปอาหาร 2 ผลของการมาริเนทด้วยเครื่องสะเต๊ะต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและความปลอดภัยของเนื้อหอยนางรม การผลิตปลานิลร่วมกับปลาช่อนในระบบอะควาโปนิคส์ เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก