สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง
สมปอง คล้ายหนองสรวง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Development of simple, low cost, high efficiency strips and reagent kits for food and drink contaminant detections
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมปอง คล้ายหนองสรวง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sompong Klaynongsruang
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหารได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง” แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งมี 3 โครงการย่อย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิต Urease strip เพื่อตรวจปรอทในอาหารและเครื่องสำอาง 2) พัฒนา enzyme strip เพื่อตรวจปริมาณตะกั่วในน้ำดื่ม น้ำดื่มโรงเรียน น้ำก๋วยเตี๋ยว และ 3) พัฒนาชุดน้ำยาต้นแบบและทดสอบการใช้งานเพื่อตรวจวัดออกซาเลตในเครื่องดื่มชาและผักผลไม้ จากการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 1 พบว่า เครื่องสำอางที่ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นซื้อมาใช้ และที่มีทั่วไปในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ Dr. Japan Nano Green Tea Active, Naturealab, CASANOVA ครีมหน้าขาวลิ้นจี่, เอบีน่า เลมอน ซี แอดวานซ์ เซรั่ม และ Polla Anti melasma cream พบปรอทอยู่ในช่วง 0.01 ถึง 0.40 ppm ซึ่งต่ำกว่าช่วงความไวที่คาดว่าแถบวัดจะวัดได้ (มากกว่า 1 ppm) ทำให้คาดเดาได้ว่าแถบวัดยูรีเอสที่พัฒนาขึ้นใช้งานได้แน่นอนในระดับการปนเปื้อนตั้งแต่ 1 ppm เป็นต้นไป และเมื่อตรวจตัวอย่างอาหารกระป๋องจากที่มีจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ยังมีปัญหาในการวิเคราะห์เนื่องจากค่าความเป็นกรดอ่อนในส่วนผสมในอาหารกระป๋อง ส่งผลให้แถบทดสอบมีผลบวกและไม่เด่นชัด ขณะที่มีอาหารทะเลปนเปื้อนปรอท 2 ตัวอย่าง ได้แก่ หอยลาย และ ปลาหมึกกล้วย โครงการย่อยที่ 2 พบว่า ตะกั่วที่ความเข้มข้น 2-3 ppm สามารถยับยั้งเอนไซม์จากน้ำสกัดกวางตุ้งประมาณ 0.0676 - 0.0338 ug/ul แสดงให้เห็นว่า enzyme strip สามารถทดสอบหาปริมาณตะกั่วในน้ำต่ำสุดอยู่ที่ 2 ppm โดยใช้เวลาทดสอบ 10 นาที สามารถนำไปต่อยอดและนำไปประยุกต์ใช้สู่ชุมชนในการตรวจสอบหาสารตะกั่วในน้ำดื่มเบื้องต้นด้วยตนเองได้ และโครงการย่อยที่ 3 พบว่า โครโมฟอร์ที่เหมาะสมคือไพโรแคทีคอลไวโอเล็ต ในสารละลายอะซิเตต pH 6 นำมาผสมกับคอปเปอร์ซัลเฟตในอัตราส่วน 1:2 น้ำยาที่เตรียมขึ้นนี้มีความจำเพาะต่อออกซาเลต เมื่อมีออกซาเลต น้ำยาจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นเหลือง ปฏิกิริยานี้ไม่ถูกรบกวนจากไอออนคาร์บอเนต คลอไรด์ โบรไมด์ ฟลูอไรด์ ไอโอไดด์ ซัลเฟต และไนเตรต น้ำยาที่พัฒนาขึ้นนี้มีความไวต่อออกซาเลตที่เข้มข้น 40 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดย within run มีค่าอยู่ในช่วง 1.747-3.683 % CV และ between run อยู่ในช่วง 2.715-3.220 %CV การเก็บรักษาต้องแยกน้ำยาที่มีโครโมฟอร์ออกจากคอปเปอร์ซัลเฟต เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จะมีความคงตัวประมาณ 4 สัปดาห์ เมื่อนำชาสมุนไพรจำนวน 18 ชนิด ทำการตรวจหาปริมาณออกซาเลตด้วยชุดน้ำยาต้นแบบนี้ พบว่า ชาลูกใต้ใบมีปริมาณออกซาเลตสูงสุด (0.0991 ± 0.0009 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) ส่วนผัก 25 ชนิดที่ศึกษา พบว่า กระโดนบกมีออกซาเลตสูงสุด (0.0145 ± 0.0001 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด) และผลใกล้เคียงกับวิธีอื่นที่อาศัยหลักการเปลี่ยนสี สรุปชุดน้ำยาที่พัฒนานี้สามารถใช้หาปริมาณออกซาเลตในชาและผักได้ แต่ยังต้องพัฒนาให้สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ต้นแบบ strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว และออกซาเลต
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ ชุดน้ำยาตรวจออกซาเลตในเครื่องดื่ม
เลขที่คำขอ 1503001716
วันที่ยื่นคำขอ 2015-10-01 12:00:00
เลขที่ประกาศ 12547
วันที่จดทะเบียน 2017-03-03 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 12547
วันที่ประกาศ 2017-03-03 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
การพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิจัยและพัฒนาเครื่องวัดสารเคมีปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตร อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน อาหารบำรุงสมอง 5 แนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่น่าจับตา ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์กับวัตถุเจือปนอาหาร อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ 5 แนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มปี 2020-2021 (Top Five Food & Beverage Trends in 2020-2021) ระบบอิมัลชันในอาหารและความคงตัว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก