สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล
รศ.นพ.อดิศว์ ทัศณรงค์ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล
ชื่อเรื่อง (EN): Study the effects of crude male flowers extract ofBorassus flabellifer L. on anti-human pathogenicmicro-organism antioxidant anti-chronic kidney disease andanti-cancer to develop Thai herbal medicine product entry into international standard
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.นพ.อดิศว์ ทัศณรงค์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: สารสกัดงวงตาลตัวผู้ แบคทีเรีย รา ยีสต์ แก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปคโทรเมทรี ความเป็นพิษต่อเซลล์ไต ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สภาวะรีดอกซ์ การเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าของเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรีย มะเร็งท่อน้ำดี การยับยั้งมะเร็ง อะพอพโทซิส ภูมิคุ้มกัน เอนไซม์ NQO1
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล” แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย ศ.นพ.อดิศว์ ทัศนรงค์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกชนิดของสารออกฤทธิ์สำคัญในสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ที่สกัดด้วยตัวทำละลาย การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด รา และยีสต์ก่อโรคในคน และผลการออกฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมทั้งกลไกการออกฤทธิ์ต่อการตายและการตอบสนองทางด้านภูมิคุ้มกันต่อการเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายในรูปแบบของการเกิดอะพอพโทซีสในเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งท่อน้ำดี จากการศึกษาวิจัย พบว่า โครงการย่อยที่ 1 เป็นการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลายประเภทต่างๆ ต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในคน เมื่อสกัดและวิเคราะห์สารสำคัญด้วยเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซิเตท และเมทานอลด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีแบบผิวบาง พบว่า สารสกัดบางประเภทมีสารไกลโคไซด์ ซาโปนิน และเทอร์พีนอยด์ เป็นองค์ประกอบ สำหรับการทดสอบคุณสมบัติการยับยั้งเชื้อก่อโรคในเบื้องต้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคแต่ต้องใช้ในความเข้มข้นที่สูงมากซึ่งเป็นไปได้ว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อนั้นมีอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนสารชนิดอื่นๆ โครงการย่อยที่ 2 สารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ที่สกัดด้วยน้ำ และเมธานอล มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระและมีปริมาณสารฟินอลิกซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด และสารสกัดด้วยเอธิลอะซิเตท และไดคลอโรมีเธน รองลงมาตามลำดับ ส่วนสารสกัดด้วยเฮกเซนไม่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อให้ซิสพลาตินร่วมกับสารสกัดเมธานอลและเอธิลอะซิเตท พบว่า สามารถป้องกันการตายของเซลล์จากพิษของซิสพลาตินได้โดยสัมพันธ์กับการยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดภาวะเครียดออกซิเดชัน และลดการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าที่เยื่อหุ้มของไมโทคอนเดรียอันถูกชักนำด้วยซิสพลาติน ถึงแม้ว่าสารสกัดเอธิลอะซิเตทจะมีการต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าสารสกัดเมธานอล แต่สามารถมีฤทธิ์ป้องกันเช่นเดียวกับเมธานอล โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาผลการออกฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้จากสารสกัดเอทิลอะซิเตทที่เป็นส่วนของพืชที่เหลือใช้จากการบริโภค พบว่า สารสกัดเอทิลอะซิเตทนั้นมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งนั้นตายแบบอะพอพโทซิสได้ รวมถึงมีประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้ความรู้ความสามารถทางด้านพืชสมุนไพรไทยและงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดวิจัยหรือเป็นพื้นฐานในการพัฒนายาหรือการวิจัยในแง่การให้สารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในปัจจุบันเพื่อรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสารซึ่งมีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี รวมถึงการรักษามะเร็งชนิดอื่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยเฉพาะต่อผู้ป่วยมะเร็งที่มีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนหันมาเห็นความสำคัญในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางการแพทย์ท้องถิ่นส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้พิเศษเพิ่มเติมจากการเพาะปลูกต้นตาลอีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-02-17
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-02-16
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16 กุมภาพันธ์ 2561
การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรไทย ปีที่ 3 การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสำคัญกลุ่มไม่มีขั้วและกลุ่มมีขั้วจากเมล็ดข้าวสีเพื่อเตรียมเป็นสารสกัดมาตรฐานโดยใช้ฤทธิ์ชีวภาพเป็น ตัวชี้นำ การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ มาตรฐานสากลการจัดจำแนกการศึกษา ผลของสารสกัดจากใบติ้วขาวต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ (โมเดลของโรคอัลไซเมอร์) การพัฒนายาสมุนไพรเพื่อสุขภาพจากตำรับยาสมุนไพรของชาวไทยใหญ่และ ชาวเขาชนเผ่าต่างๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย เวชสำอางสมุนไพร มิติใหม่ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย การพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก