สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา
นายอนุสิทธิ์ ตั๋นเต็ม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายอนุสิทธิ์ ตั๋นเต็ม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชน จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชน จังหวัดพะเยา 2) ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการถ่ายทอดความรู้ การบริหารงานกลุ่ม และบทบาทเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตร 3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชน จังหวัดพะเยา และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชน จังหวัดพะเยา รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชน จังหวัดพะเยา จำนวน 133 คน ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ สรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.5 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม การเกษตร มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 14.6 ไร่ ลักษณะการถือครองพื้นที่เป็นของตนเอง ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ 984 ผลผลิตข้าวโพด จำนวน 8,001 กิโลกรัมขึ้นไป รายได้จากการจำหน่ายข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 40,300.0 บาท รายได้อื่นต่อปีเฉลี่ย 16,899.3 บาท รายได้รวมต่อปีเฉลี่ย 57,199.3 บาท มีอาชีพทำไร่ จำนวนแรงงานเกษตรในครัวเรือน 2 คน การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.91 , S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อพบว่า เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระดับ มากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการลดความชื้น ด้านการเก็บเกี่ยว ด้านวิธีการปลูก ด้านการเลือกพันธุ์ ด้านการใส่ปุ๋ย ด้านการให้น้ำ ด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืชข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ด้านการเลือกพื้นที่ปลูก และด้านการกำจัดวัชพืช ผลการยอมรับและนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า ด้านปริมาณเกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้ผลผลิตข้าวโพด มากกว่า 801 กิโลกรัมต่อไร่ ด้านคุณภาพเกษตรกรจำหน่ายผลผลิตข้าวโพด โดยมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นระหว่าง 14.6 - 22.0 เปอร์เซ็นต์ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีทัศนคติหรือความคิดเห็นต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39 , S.D. = 0.25) เกษตรกรส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการถ่ายทอดความรู้ การบริหารงานกลุ่ม บทบาทเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88 , S.D. = 0.27) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาพรวมในระดับปานกลาง ( = 2.65 , S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ประสบปัญหามากในด้านการตลาด ( = 4.24 , S.D. = 0.68) และประสบปัญหาน้อยที่สุดด้าน ความรู้ ( = 1.29 , S.D. = 0.32) สำหรับข้อเสนอแนะรัฐควรส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลักษณะแบบครบวงจร
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547-12-03
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมส่งเสริมการเกษตร
3 ธันวาคม 2547
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา ความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา การศึกษาระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ของเกษตรกร กรณีศึกษา จังหวัด แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในสภาพแห้งแล้ง สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ สภาพการผลิตและรูปแบบต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม ในจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2539 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพlสูงในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก