สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเพาะและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่วะ ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเพาะและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่วะ ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่อง (EN): (Efficiency Development of Group Management by the Participation of Mushroom Cultivation and Processing Micro Community Enterprise Baan Suanmaeva, Son Don Kaew Sub-District, Mea-Tha District, Lampang Province)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเพาะ และแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่วะ ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงผลการดำเนินงาน ปัญหา และเหตุปัจจัยปัญหาของการบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างการมี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่วะ โดยใช้ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะและแปรรูปเห็ด บ้านสวนแม่วะมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 25 คน โดยแบ่งความรับผิคชอบเป็นกลุ่มทำก้อนเชื้อเห็ด กลุ่มใส่เชื้อเห็ด และกลุ่มแปรรูปเห็ด มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็คนางฟ้จำนวน 6 ชนิค ได้แก่ น้ำพริกเผาเห็ด แหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ เห็คสามรส เห็ดทอดกรอบ และเห็คแดคเดียว จากการ วิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มพบว่าจุดแข็งของกลุ่มคือมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย วัตถุดิบปลอดสารพิษมี อยู่ในชุมชน เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จุดอ่อนของกลุ่ม ได้แก่ รสชาดิที่ไม่ได้มาครฐาน ขึ้นอยู่กับผู้ปรุงรส บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดึงดูดใจลูกค้า ผลผลิตของเห็ดนางฟ้าซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักมี ปริมาณลดลง โอกาส ได้แก่กระแสการบริ โภคผลิตภัณฑ์อาหารมังสวิรัติและผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารพิษ อุปสรรคของกลุ่ม ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศทำให้ยอดขายลดลง ราคาเครื่องปรุงอื่นๆมีราคา แพงเพิ่มขึ้น ความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ สำคัญ ได้แก่ ค้านวัตถุดิบคือเห็ดนางฟ้ามีปริมาณลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ด้านการผลิตคือมาตรฐาน ของรสชาติ และการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้านการตลาดคือการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ได้ มาตรฐานสากล ค้านการเงินและบัญชีคือการทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่ถูกต้อง จากความคาดหวัง ดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่ วม พบว่า ค้านการจัดการกลุ่มส่วนใหญ่มีการ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน ตามลักษณะโครงสร้างขององค์กร ด้านวัตถุดิบปัจจุบันปริมาณ เห็ดนางฟ้าเพิ่มมากขึ้น ด้านการผลิตทางกลุ่มมีการกำหนดปริมาณการใส่เครื่องปรุงเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพิ่มผลิตภัณฑ์น้ำพริกปันสวรรค์จและน้ำพริกปันเห็ดทอดกรอบเจ ค้านการตลาดปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ใหม่และค้านการเงินและบัญชีมีการจัดทำระบบการทำบัญชีรับจ่าย
บทคัดย่อ (EN): The research objective of the quality improvement for the group participatory management of culturing and processing mushrooms micro community enterprise of Ban Suan Mae Va, Tambol San Don Kaew, Amphur Maetha, Lampang province was to study the operation performance, administrative management issues and its root causes in order to enhance participation and quality improvement by utilizing the participatory management research with the community. The research revealed there were 25 members of the culturing and processing mushrooms micro community enterprise of Ban Suan Mae Va by splitting their responsibilities into the Fermenting Group, Culturing Group and Processing Group. There were 6 processed mushroom products, i.e. Nam Prik Pow Hed, Ngam Hed, Hed Swang, Hed Sam Rod, Hed Tod Krob and Hed Dad Diel. For the group capability analysis revealed the strengths were on the products variety, availability of organic raw materials within the community and as the OTOP product. The weaknesses were variation of tastes depending on the cookers, non attractive packaging, declining of mushroom availability. The opportunities were the popularity of vegetarian and organic diets. The threats were the declining sales volume due to national economic downturn, the rising cost of ingredient materials, the demanding and expecting standard are increase on the supply of mushrooms and adding of new products. The marketing was the improvement of packaging for international standard. The accounting and finance was the accuracy of accounting process. For the participatory management analysis revealed there was clearly defined responsibility in according to organizational structure, increase on the supply of mushrooms raw materials, standardize on ingredient formula, increase on the product line with Nam Prik Pon Swang Jae and Nam Prik Pon Hed Tod Krob Jae, improve new product packaging and develop the accounting system.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเพาะและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่วะ ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
30 กันยายน 2553
การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น กระบวนการการพัฒนาผู้นำและชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนชุมชนเมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การประเมินสถานภาพทรัพยากรประมง เศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการบริหารจัดการประมงแบบมีส่วนร่วมในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดบดเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดชลบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก