สืบค้นงานวิจัย
ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี
วินัย ภู่แย้ม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วินัย ภู่แย้ม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ความต้องการเกี่ยวกับลักษณะและชนิดพันธุ์ข้าว ทัศนคติของเกษตรกรผู้ใช้ต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวและต่อการดำเนินงานของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี ตลอดจนการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยบางประการที่มีผลต่อทัศนคติของเกษตรกรผู้ใช้ต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวและการดำเนินงานของศูนย์ฯ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 150 คน จาการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 46.47 ปี เกษตรกรร้อยละ 82.66 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.59 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 2.40 คน มีพื้นที่ในการทำนาเฉลี่ย 30.87 ไร่รายได้ของครอบครัวจากการทำนาเฉลี่ย 96,840 บาท/ปี เกษตรกรร้อยละ 95.00 ทำนาเป็นอาชีพหลักมีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 25 ปี เกษตรกรร้อยละ 76.00 มีปริมาณน้ำเพียงพอในการทำนา เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเจ้าหน้าที่การเกษตรและเพื่อนบ้าน เกษตรกรร้อยละ 72.00 ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เกษตรกรร้อยละ 52.70ได้รับข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์การเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตรได้แก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มลูกค้า ธกส.เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เกษตรกรร้อยละ 100.00 ต้องการข้าวเมล็ดยาว เกษตรกรร้อยละ 76.00 ต้องการขนาดบรรจุหีบห่อถุงละ 25 กิโลกรัม บรรจุในภาชนะประเภทกระสอบพลาสติกสาน ต้องการให้ศูนย์ปรุงแต่งเมล็ดพันธุ์โดยการคลุกสารเคมี เมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ฯมีราคาไม่เหมาะสม ได้รับความสะดวกในการติดต่อในการจัดซื้อ เกษตรกรต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวปีเว้นปีและต้องการให้ศูนย์ฯเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าวดีแก่เกษตรกร เกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมีทัศนคติต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวและต่อการดำเนินงานของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับทัศนคติต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวและการดำเนินงานของศูนย์ฯได้แก่ ขนาดพื้นที่ทำนา การฝึกอบรมด้านเมล็ดพันธุ์ การได้รับข่าวสาร การเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตรปัจจัยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทัศนคติต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวและการดำเนินงานของศูนย์ฯได้แก่ อายุ แรงงานในครัวเรือน รายได้ของครอบครัวและประสบการณ์ในการทำนา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2544
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 19 จังหวัดชลบุรี การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ทัศนคติของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก