สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพของสาบเสือในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว และการใช้ประโยชน์พืชบำบัดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม และการสกัดตะกั่วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
ศวพร ศุภผล, อนงค์นุช สาสนรักกิจ, นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพของสาบเสือในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว และการใช้ประโยชน์พืชบำบัดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม และการสกัดตะกั่วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Potential of Siam weed (Chromolaena odorata) to Remediate Lead Contaminated Soil and the Application of Remediated Plant or Biological Control of Meloidogyne spp. and Recovery of Valuable Heavy Metal
บทคัดย่อ: ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมเป็นปริมาณมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ตะกั่ว ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของตะกั่วสู่ดิน ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ปัจจุบันการจัดการดินที่เกิดการปนเปื้อนตะกั่วสามารถทำได้หลายวิธีโดยเฉพาะเทคนิคทางกายภาพและเคมี แต่เทคนิคต่างๆ ดังกล่าวเป็นเทคนิคที่มีราคาสูงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อใช้ในการจัดการ ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิคการบำบัดด้วยพืช (phytoremediation) มาใช้ในการบำบัดดินที่ปนเปื้อน ซึ่งมีข้อดีที่มีค่าใช้จ่าย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการจัดการกับซากของพืชภายหลังจากการบำบัดยังเป็นปัญหาที่สำคัญเมื่อใช้พืชในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชที่คุณสมบัติในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว และแนวทางการจัดการซากภายหลังจากการใช้พืชในการบำบัดที่เกี่ยวข้องอยู่เพียงเล็กน้อย ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาความสามารถในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่วด้วยสาบเสือ (Chromolaena odorata) และปริมาณการสะสมของตะกั่วจากองค์ประกอบทางเคมีของสาบเสือด้วยวิธี steam explosion, Waymans’s method และ atomic absorption spectrophotometer (AAS) โดยทำการบำบัดดินที่ระยะเวลา 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน ภายใต้สภาพควบคุมในโรงเรือนทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x6 completely randomized design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ซึ่งจากผลการศึกษาพบระยะเวลาในการบำบัดเหมาะสมที่ 45 วัน โดยสามารถบำบัดดินที่มีปริมาณความเข้มข้นของตะกั่วทั้งหมดโดยเฉลี่ยก่อนการบำบัดเท่ากับ 75,529.38 มก.กก.-1 ให้ลดลง จนมีปริมาณความเข้มข้นของตะกั่วทั้งหมดในดินโดยเฉลี่ยภายหลังการบำบัดเท่ากับ 68,446.46 มก.กก.-1 โดยมีประสิทธิในการบำบัดคิดเป็นร้อยละ 9.38 ต่อหนึ่งรอบของการบำบัด และพบว่าที่สภาวะความดันที่ 19 กก.ซม.-2 ณ เวลา 5 นาที เป็นสภาวะที่เลือกใช้ในการศึกษาปริมาณตะกั่วจากองค์ประกอบทางเคมีของสาบเสือด้วยวิธี steam explosion และ Wayman’s method พบปริมาณการสะสมตะกั่วในส่วน cellulose > Klason lignin > water-soluble material > methanol-soluble lignin ตามลำดับ ทั้งในส่วนเหนือดินและส่วนใต้ดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) โดยมีปริมาณตะกั่วทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 75.5, 17.2, 5.0 และ 2.3 ตามลำดับในส่วนเหนือดิน และร้อยละ 84.1, 11.0, 3.3 และ 1.6 ตามลำดับในส่วนเหนือดิน ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมเป็นปริมาณมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ตะกั่ว ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของตะกั่วสู่ดิน ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ปัจจุบันการจัดการดินที่เกิดการปนเปื้อนตะกั่วสามารถทำได้หลายวิธีโดยเฉพาะเทคนิคทางกายภาพและเคมี แต่เทคนิคต่างๆ ดังกล่าวเป็นเทคนิคที่มีราคาสูงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อใช้ในการจัดการ ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิคการบำบัดด้วยพืช (phytoremediation) มาใช้ในการบำบัดดินที่ปนเปื้อน ซึ่งมีข้อดีที่มีค่าใช้จ่าย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการจัดการกับซากของพืชภายหลังจากการบำบัดยังเป็นปัญหาที่สำคัญเมื่อใช้พืชในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชที่คุณสมบัติในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว และแนวทางการจัดการซากภายหลังจากการใช้พืชในการบำบัดที่เกี่ยวข้องอยู่เพียงเล็กน้อย ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาความสามารถในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่วด้วยสาบเสือ (Chromolaena odorata) และปริมาณการสะสมของตะกั่วจากองค์ประกอบทางเคมีของสาบเสือด้วยวิธี steam explosion, Waymans’s method และ atomic absorption spectrophotometer (AAS) โดยทำการบำบัดดินที่ระยะเวลา 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน ภายใต้สภาพควบคุมในโรงเรือนทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x6 completely randomized design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ซึ่งจากผลการศึกษาพบระยะเวลาในการบำบัดเหมาะสมที่ 45 วัน โดยสามารถบำบัดดินที่มีปริมาณความเข้มข้นของตะกั่วทั้งหมดโดยเฉลี่ยก่อนการบำบัดเท่ากับ 75,529.38 มก.กก.-1 ให้ลดลง จนมีปริมาณความเข้มข้นของตะกั่วทั้งหมดในดินโดยเฉลี่ยภายหลังการบำบัดเท่ากับ 68,446.46 มก.กก.-1 โดยมีประสิทธิในการบำบัดคิดเป็นร้อยละ 9.38 ต่อหนึ่งรอบของการบำบัด และพบว่าที่สภาวะความดันที่ 19 กก.ซม.-2 ณ เวลา 5 นาที เป็นสภาวะที่เลือกใช้ในการศึกษาปริมาณตะกั่วจากองค์ประกอบทางเคมีของสาบเสือด้วยวิธี steam explosion และ Wayman’s method พบปริมาณการสะสมตะกั่วในส่วน cellulose > Klason lignin > water-soluble material > methanol-soluble lignin ตามลำดับ ทั้งในส่วนเหนือดินและส่วนใต้ดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) โดยมีปริมาณตะกั่วทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 75.5, 17.2, 5.0 และ 2.3 ตามลำดับในส่วนเหนือดิน และร้อยละ 84.1, 11.0, 3.3 และ 1.6 ตามลำดับในส่วนเหนือดิน
บทคัดย่อ (EN): Lead (Pb) is the most common heavy metal soil contaminant in the environment; especially from the Pb mine industry is the point source to Pb contaminated soils. At the present, current technologies attempt to remediate by physical or chemical separation of soils contaminants. However, these techniques are labor intensive and costly. Thus, using of plants to remediate Pb or heavy metals in soil contaminants especially known as phytoremediation. Phytoremediation, the use of green plants to clean up metal contaminated environments has attracted attention as an environmentally friendly and useful metal-extraction technique for treating toxic contaminated soil. However, the management of hyperaccumulated plants after phytoremediation is very important issue. For more, very few studies to lead hyperaccumulator and utilize a hyperaccumulating plants after phytoremediation. In this thesis studies to the potential of Siam weed (Chromolaena odorata) to remediate Pb contaminated soil in remediation times at 15, 30, 45, 60, 75 and 90 days from green house experiments and determination of Pb in plant components was established using steam explosion, Wayman’s extraction method, and an atomic absorption spectrophotometer (AAS). The experiment design was on 2x6 in completely randomized design (CRD) with three replicates. In the result, the appropriate to harvesting time at 45 days and the concentration of total Pb in soils after remediation had decreased from 75,529.38 mg kg-1 to 68,446.46 mg kg-1. This illustrates the potential of Siam weed to remediate soil as around 9.38% of total Pb was decreased in the first crop. The determination of Pb in plant components from steam-exploded Siam weed was selected to steaming pressure and steaming time in steam explosion and the Wayman’s method at 19 kg cm-2 in 5 min, and the Pb was accumulated in cellulose fraction > Klason lignin fraction > water-soluble material fraction > methanol-soluble lignin fraction, significantly (p?0.05) at 75.5, 17.2, 5.0 and 2.3% in aboveground parts and 84.1, 11.0, 3.3 and 1.6% in underground parts, respectively. Lead (Pb) is the most common heavy metal soil contaminant in the environment; especially from the Pb mine industry is the point source to Pb contaminated soils. At the present, current technologies attempt to remediate by physical or chemical separation of soils contaminants. However, these techniques are labor intensive and costly. Thus, using of plants to remediate Pb or heavy metals in soil contaminants especially known as phytoremediation. Phytoremediation, the use of green plants to clean up metal contaminated environments has attracted attention as an environmentally friendly and useful metal-extraction technique for treating toxic contaminated soil. However, the management of hyperaccumulated plants after phytoremediation is very important issue. For more, very few studies to lead hyperaccumulator and utilize a hyperaccumulating plants after phytoremediation. In this thesis studies to the potential of Siam weed (Chromolaena odorata) to remediate Pb contaminated soil in remediation times at 15, 30, 45, 60, 75 and 90 days from green house experiments and determination of Pb in plant components was established using steam explosion, Wayman’s extraction method, and an atomic absorption spectrophotometer (AAS). The experiment design was on 2x6 in completely randomized design (CRD) with three replicates. In the result, the appropriate to harvesting time at 45 days and the concentration of total Pb in soils after remediation had decreased from 75,529.38 mg kg-1 to 68,446.46 mg kg-1. This illustrates the potential of Siam weed to remediate soil as around 9.38% of total Pb was decreased in the first crop. The determination of Pb in plant components from steam-exploded Siam weed was selected to steaming pressure and steaming time in steam explosion and the Wayman’s method at 19 kg cm-2 in 5 min, and the Pb was accumulated in cellulose fraction > Klason lignin fraction > water-soluble material fraction > methanol-soluble lignin fraction, significantly (p?0.05) at 75.5, 17.2, 5.0 and 2.3% in aboveground parts and 84.1, 11.0, 3.3 and 1.6% in underground parts, respectively.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพของสาบเสือในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว และการใช้ประโยชน์พืชบำบัดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม และการสกัดตะกั่วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารตะกั่วโดยใช้พืช ระยะที่ 2 : การฟื้นฟูสภาพดินในเหมืองตะกั่วโดยใช้หญ้าแฝก และพืชทนตะกั่ว ความหลากหลายของเชื้อราจากดิน ซากพืชและการนำไปใช้ประโยชน์ ตะกั่วในขิงแห้ง ศึกษาการใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มการผลิตมวลชีวภาพและลดการดูดซับตะกั่วของพืชเศรษฐกิจ (ข้าวโพดและทานตะวัน) ที่ปลูกบนดินปนเปื้อนตะกั่ว ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 23 เรื่อง การศึกษาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ดีบุกและปรอท ที่ปนเปื้อนใน หอยแครง และหอยแมลงภู่ บริเวณอ่าวไทยตอนใน ปี 2557 ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือต่อพืชทดสอบและการใช้ต้นคลุกดิน เพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว ทดสอบความเป็นไปได้การใช้สายพันธุ์แบคทีเรียในการวัดค่าความจำเพาะทางชีวภาพของแหล่งปนเปื้อนตะกั่ว การขยายพันธุ์และการดูแลไม้ดอกหอมเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า สารสกัดจากไมยราบและสาบเสือเพื่อใช้เป็นสารฆ่าหอยเชอรี่ การใช้ประโยชน์จากแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ Streptomyces sp. KPS-E004 และ Streptomyces sp. KPS-F003 เป็นเชื้อปลูกร่วมเพื่อควบคุมการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมและผลในการส่งเสริมการเจริญของพริก
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก