สืบค้นงานวิจัย
ระบบการอนุบาลปลาหนังลูกผสมในกระชังเชิงพาณิชย์
สุดาพร ตงศิริ, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน, ดวงพร อมรเลิศพิศาล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ระบบการอนุบาลปลาหนังลูกผสมในกระชังเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): The Nursing System of Hybrid Catfish in Cage for Commercial
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต ระดับฮอร์โมนเพศการเจริญพันธุ์ และภาวะความเครียดออกซิเดชันจากค่า malondialdehyde (MDA) ตลอดจนคุณภาพเนื้อและซากของปลาหนังลูกผสมบึกสยามแม่โจ้ รุ่น F2 พบว่า น้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ในกลุ่มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ เท่ากับ 695.62 ? 28.62, 871.72 ? 61.05 และ 1,082.25 ? 2.75 กรัม ตามลำดับ โดยปลาขนาดใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโต/วันมากที่สุด 4 ? 0.01 กรัม/วัน ส่วนระดับฮอร์โมนเพศ testosterone และ 17 ?-estradiol ในปลาขนาดใหญ่มีค่ามากที่สุดในช่วงฤดูวางไข่ (มิถุนายน) เท่ากับ 1.56 ? 0.75 ng/ml และ 69.375? 26.72 pg/ml ตามลำดับและมีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ 3.04 ? 1.66 และ 0.37 ? 0.09% ในเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ ค่า MDA พบว่า ในแต่ละขนาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคุณภาพเนื้อของปลา ปริมาณไขมันในปลาขนาดเล็ก (0.91%) และปลาขนาดกลาง (0.83%) มีความแตกต่างกับขนาดใหญ่ (2.10%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการศึกษาในครั้งนี้ปลาขนาดใหญ่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในกระชัง และการคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ต่อไป คำสำคัญ : การเลี้ยง,ปลาหนังลูกผสม, การเจริญพันธ์, ภาวะความเครียดออกซิเดชัน, คุณภาพเนื้อ
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to investigate the growth, sex hormone, gonadosomatic index (GSI), oxidative stress by measurement of malondialdehyde (MDA), and meat qualities of F2 Buk Siam hybrid. Results showed that the average weight gains were 695.62? 28.62, 871.72? 61.05 and 1,082.25? 2.75 g attained by small, medium and large fish, respectively. The best average weight gain at 4?0.01 g/day was obtained by the large fish group. Moreover, the sex hormones of testosterone (1.56?0.75 ng/ml) and 17 ?-estradiol levels (69.375? 26.72 pg/ml) were highest during spawning season (June) and the GSI was 3.04?1.66 and 0.37?0.09 % of male and female catfish, respectively. The MDA levels between size of fish had no significant differences. The fish meat qualities were found to consist of total fat content of 0.91% and 0.83% in small and medium fish, respectively, which were significantly different (p<0.05) with large fish 2.10%. From this study, therefore, large sized fish is considered more appropriate for cage culture that will then be selected for brood stock, propagation and breeding program. Keywords: cultivation, hybrid catfish, maturation, oxidative stress, meat quality
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบการอนุบาลปลาหนังลูกผสมในกระชังเชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง การเจริญเติบโตและพันธุกรรมปลาหนังลูกผสมสายพันธุ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนการส่งออก การอนุบาลปลาช่อนในกระชังในพื้นที่ดินพรุ การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) การอนุบาลลูกปลากดแก้วในกระชังในอ่างเก็บน้ำ การอนุบาลปลาสร้อยเกล็ดถี่ในอัตราความหนาแน่นต่างกัน การเพาะและอนุบาลลูกปลาสีกุนใบไม้Alepes kleinii (Bloch, 1793) จากพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงในระบบน้ําหมุนเวียน การอนุบาลลูกปลากดแก้วในกระชังด้วยอาหารต่างชนิด การอนุบาลลูกปลาซิวควายพม่า การอนุบาลลูกอ๊อดกบนาในกระชังที่อัตราความหนาแน่นแตกต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก