สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 กับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และเชียงใหม่ 60
ชาติชาย ศิริเลิศ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 กับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และเชียงใหม่ 60
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชาติชาย ศิริเลิศ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 กับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และเชียงใหม่ 60 ในฤดูแล้งปี 2538 ทำการทดลอง ณ ภาควิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ภายในสภาพแวดล้อมพื้นที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วยถั่วเหลือง 4 พันธุ์ คือ พันธุ์ มข.35 พันธุ์ สจ.4 สจ.5 และพันธุ์เชียงใหม่ 60 ผลการศึกษาพบว่าถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด คือ 274.39 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาตามลำดับได้แก่ พันธุ์ สจ.5 ให้ผลผลิต 261.25 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ สจ.4 ให้ผลผลิต 255.74 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์เชียงใหม่ 60 ให้ผลผลิตต่ำสุด คือ 240.35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตของถั่วเหลืองที่ศึกษาดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนองค์ประกอบผลผลิตของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ พบว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 มีจำนวนเมล็ดต่อต้น ฝักต่อต้น น้ำหนักเมล็ดต่อต้น และน้ำหนัก 100 เมล็ด มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ องค์ประกอบผลผลิตดังกล่าวมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาควิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ฤดูแล้ง ปี 2538
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 กับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และเชียงใหม่ 60
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
การทำแปลงทดสอบเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 การทดสอบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ณ.ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 14 จังหวัดแพร่ การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์รับรองในจังหวัดน่าน คุณภาพของเมล็ดพันธุ์จากการศึกษาวันปลูกที่เหมาะสมของถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ในปี 2542 การยอมรับของเกษตรกรต่อการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ อิทธิพลของขนาดและความเร็วของเครื่องนวดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 60 และพันธุ์ มข.35 ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในการปลูกถั่วเหลืองของเกษตรกรอำเภอสันปาตอง จังหวัดเชียงใหม่ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองและถั่วเขียว อิทธิพลของความเค็มต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาของถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merr.) พันธุ์นครสวรรค์ 1 และพันธุ์เชียงใหม่ 60 การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก