สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย
พาวิน มะโนชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): A study on controlling flower intiation in longan
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พาวิน มะโนชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pawin Manochai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการชัดนำการออกดอกของลำไยโดยวิธีการควั่นกิ่งและการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3) ผลการศึกษาการควั่นกิ่งแขนงและกิ่งหลักกับต้นลำไยพันธุ์เพชรสาคร พบว่าสามารถส่งเสริมการออกดอกภายในเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีการออกดอกอยู่ในช่วง 7-78 % ในขณะที่ต้นที่ควบคุม (Control) ออกดอกเพียง 9% การควั่นกิ่งในระยะใบเพลลาดและระยะใบแก่ชักนำการออกดอกไม่แตกต่างกันทางสถิติ (65 และ 76%) แต่มากกว่าต้นควบคุม (3.8%) การควั่นกิ่งครึ่งต้นมีผลทำให้ลำแทงช่อดอกเกิดขึ้นเฉพาะซีกที่ควั่นเท่านั้น ส่วนการควั่นกิ่งในลำไยพันธุ์อีดอนั้นไม่สามารถชักนำการออกดอก เพียงแต่ช่วยยับยั้งการแตกใบเท่านั้น การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองต่อสาร KCIO3 ในการชักนำการออกดอกพบว่า การตอบสนองต่อสาร KCIO3 ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญของใบ ระยะใบแก่ออกดอกได้มากกว่าระยะใบอ่อนถึง 2 เท่า การให้สาร KCIO3 ในฤดูหนาวออกดอกได้มากกว่าในฤดูร้อนและฤดูฝน การให้สาร KCIO3 ในอัตรา 5 และ 10 กรัมต่อตารางเมตรของพื้นที่ทรงพุ่มออกดอกได้มากกว่าอัตรา 2.5 กรัมต่อตารางเมตร การให้ทางดิน (8 กรัม/ตร.ม.) ออกดอกได้มากกว่าการให้ทางใบ (2000 มก./ล.) ส่วนการให้สารซ้ำในที่เดิม ชนิดดินปลูก และอายุของต้นไม่มีผลต่อการตอบสนองต่อสาร KCIO3
บทคัดย่อ (EN): This study was looking at flower induction in longan by stem girdling and applying potassium chlorate (KCIO3). The result showed that girdling both main limbs and branches, on “Petchsakorn” longan, gave flowering percentage of 76-78% within 3 weeks. The control trees gave only 9% flowering percentage. Girdling at both semi-mature and mature leaf age showed no significant differences on flowering, 65% and 76% respectively; but significantly higher than the control (3.8%). Furthermore, the girdled trees flowered only on the girdled limbs or branches. On the contrary, girdling on “Daw” longan did not induce flowering, but inhibited leaf flushing. Leaf age found to have effects on flower induction by KCIO3 application, mature leaf age trees flowered 2 folds more than those of young leaf age. Application of KCIO3 during the winter found to be more effective on flower induction than the summer or the rainy season. The rates of KCIO3 application of 5 and g/m2 ground cover gave higher flowering percentage than those of 2.5 g/m2 ground cover. Soil drench application (8 g/m2) gave higher flowering percentage than those of foliar application (2000 gm/l). In addition, the repeated application, soil types, and tree age found no significant differences on flower induction by KCIO3 application.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-44-018
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 375,600
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/Pawin_Manochai_2546/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2543-2544
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2546
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาวิธีการยับยั้งการออกดอกของลำไยในฤดูกาลปกติ การศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการออกดอกเว้นปีของลำไย ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อการออกดอกและผลผลิตของลำไย ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ผลของการควั่นกิ่งต่อการออกดอกของลำไยพันธุ์เพชรสาครทะวาย การศึกษาการเจริญเติบโต การออกดอก ติดผล ปริมาณ และคุณภาพลำไยลูกผสม ผลของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ ผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ยไซโตไคนินในช่วงก่อนการออกดอกของยอดลำไยพันธุ์ดอ ผลกระทบของการให้น้ำต่อการออกดอกและติดผลของลำไย การศึกษาวิธีการควบคุมการติดผลและพัฒนาคุณภาพของผลลำไย ผลของวิธีการให้แสงไฟต่อการออกดอกนอกฤดูของปทุมมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก