สืบค้นงานวิจัย
สภาวะทรัพยากรและวิถีตลาดกั้งกระดาน (Thenus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กำพล ลอยชื่น, ทิพากร สุขพล, กำพล ลอยชื่น, ทิพากร สุขพล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะทรัพยากรและวิถีตลาดกั้งกระดาน (Thenus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Status and market channels of Flathead Lobster (Thenus spp.) along the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: สภาวะทรัพยากรและวิถีตลาดกั้งกระดาน (Thenus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย กำพล ลอยชื่น* ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ระยอง) บทคัดย่อ การศึกษาสภาวะทรัพยากรและวิถีตลาดกั้งกระดาน (Thenus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2556 พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวตามสมการสมการ W = 0.1716 TL2.5166 โดยความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวระหว่างเพศผู้และเพศเมีย มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กั้งกระดานมีอัตราส่วนการเติบโตจำเพาะแบบ allometric growth มีการวางไข่เกือบตลอดทั้งปี และวางไข่สูงในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย เท่ากับ 1:0.76 และมีขนาดความยาวลำตัวที่เริ่มสืบพันธุ์ได้ของเพศเมีย เท่ากับ 13.90 เซนติเมตร และของเพศผู้ เท่ากับ 12.70 เซนติเมตร ความดกของไข่ มีค่าเฉลี่ย 19,807.66+5,703.44 ฟอง และมีความสัมพันธ์ระหว่างความดกของไข่กับความยาวลำตัวอยู่ในรูปสมการ F = 70.7569 TL 2.0283 กั้งกระดาน เป็นสัตว์น้ำที่ไม่มีเครื่องมือประมงที่ใช้จับกั้งกระดานโดยเฉพาะ ปริมาณกั้งกระดานที่มีอยู่ในท้องตลาดทั้งหมดได้จากการทำประมงอวนลาก 2 ชนิด ได้แก่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ และอวนลากคู่ โดยมีแหล่งประมงตั้งแต่บริเวณน่านน้ำประชิดไทย-เมียนมาร์ ถึงบริเวณน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย ปริมาณผลจับกั้งกระดานทั้งหมดใน พ.ศ. 2556 เท่ากับ 41,996 กิโลกรัม โดยอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดความยาวเรือต่ำกว่า 14 เมตร มีปริมาณผลจับกั้งกระดาน 499 กิโลกรัม อัตราการจับกั้งกระดานเท่ากับ 0.01 กิโลกรัม/ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของปริมาณการจับสัตว์น้ำทั้งหมด อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดความยาวเรือ 14-18 เมตร มีปริมาณผลจับกั้งกระดาน 32,817 กิโลกรัม อัตราการจับกั้งกระดานเท่ากับ 0.03 กิโลกรัม/ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของปริมาณการจับสัตว์น้ำทั้งหมด และอวนลากคู่มีปริมาณผลจับกั้งกระดาน 8,680 กิโลกรัม อัตราการจับกั้งกระดานเท่ากับ 0.02 กิโลกรัม/ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของปริมาณการจับสัตว์น้ำทั้งหมด กั้งกระดานที่จับได้มีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 8-26 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 25-325 กรัม ส่วนใหญ่มีขนาดโตกว่าขนาดที่สามารถสืบพันธุ์ได้ กั้งกระดานมีการค้าในรูปแบบสดไม่มีชีวิต โดยใช้น้ำแข็งในการเก็บรักษา คุณภาพที่เกิดจากการเก็บรักษามีผลต่อการกำหนดราคา กั้งกระดานเป็นสินค้าที่ไม่สามารถกำหนดปริมาณการจับได้ มีปริมาณน้อยกว่าความต้องการของตลาด ถึงแม้ไม่มีสินค้าที่ทดแทนกั้งกระดานได้อย่างสมบูรณ์ แต่สัตว์ทะเลชนิดอื่นๆ เช่น กุ้ง ปู และหอย เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ประกอบกับธรรมชาติของกั้งกระดานที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน ทำให้ลดการมีอิทธิพลเหนือราคาและการผูกขาดตลาด ตลาดกั้งกระดานจึงเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ วิถีตลาดกั้งกระดานไม่ซับซ้อนมีจำนวนผู้ถือครองก่อนถึงผู้บริโภคไม่มาก คำสำคัญ : การประมง วิถีตลาดกั้งกระดาน ทะเลอันดามัน
บทคัดย่อ (EN): Status and market channels of Flathead Lobster (Thenus spp.) Along the Andaman Sea Coast of Thailand Kumpon Loychuen* Estern Gulf Fisheries Research and Development Center (Rayong) Study on Status and market channels of Flathead Lobster (Thenus spp.) along the Andaman Sea Coast of Thailand, during January-December, 2013. The results showed that the relationship between total length with the body weight of the flathead lopster (Thenus unimaculatus) showed W = 0.1716 TL2.5166. Specific growth rate was considerably allometric. Length-weight relationships were significantly different between males and females. spawned throughout the year with peaks spawning season including September-November. Sex ratio of male to female was 1:0.76 while size at first maturity of females were 13.90 cm and males were 12.70 cm. The average fecundity was 19,807.66+5,703.44 eggs. The relationship between fecundity and total length was equation as F = 70.7569 TL 2.0283 Flathead lobsters were caught by otter board trawlers and paired trawlers. Fishing ground was along the coast from Thai-Mynmar to Thai-Malaysia borders. The total annual catch of lobster was 41,996 kg.This included 499 kg from smaller than 14 m length otter board trawlers which lobster catch rate was 0.01 kg/hr,and that accounted for 0.06% of its total trawling production. The 14-18 m length otter board caught 32,817kg of lobster which lobster catch rate was 0.03 kg/hr, and that accounted for 0.05% of its total trawling production. Paired trawlers caught 8,680 kg of lobster which lobster catch rate was 0.02 kg/hr, and that accounted for 0.02 % of its total trawling production. Total lengths of caught lobster were 8-26 cm and body weights were 25-325 g which most lobster were larger than their first maturity size. Flathead lobster was sold in fresh. So, ice was used to preserving, and the preserving qualities influenced its prices. Lobster catch cannot be designed, and it was always less than demand of market. Although there were no complete substitutes for lobster, other marine animals such as shrimps, crabs or mollusk were alternatives for consumers. Besides, nature of lobster that could not be keeping for last longer that prevented pricing influence and monopoly.Therefore, the market was a perfect competitive. The market channel was not complex. Lobster pass through few middlemen. Key words : Fishery, market channels, flathead lobster, Andaman Sea Coast of Thailand
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะทรัพยากรและวิถีตลาดกั้งกระดาน (Thenus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2558
กรมประมง
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งกระดาน Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007 ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนบนของประเทศไทย การประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงและวิถีตลาดปลาปักเป้าในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทรายแดง ชนิด Nemipterus delagoae(Valenciennes, 1830) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้นการเพาะพันธุ์และอนุบาลกั้งกระดาน (Thenus orientalis Lund,1793) ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาสีกุนตาโต Selar crumenopthalmus (Bloch, 1793) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก