สืบค้นงานวิจัย
ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย
เฉลิม ใจตั้ง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เฉลิม ใจตั้ง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ถึงขีดความสามารถทางการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) การศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเชิงประจักษ์ของไทยและคู่แข่งในอุตสาหกรรมยางพาราแต่ละประเภท (ระบบ Harmonized) 2) การศึกษาถึงปัจจัยเบื้องหลังการขยายตัวหรือการหดตัวของมูลค่าการส่งออกยางพาราและของที่ทำด้วยยาง ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งขันใน 4 ตลาดหลักคือ จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และญี่ปุ่น วิเคราะห์โดยใช้ Constant Market Share Model นำไปสู่การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความสามารถในการแข่งขันจาก Constant Market Share Model และ 3) การวิเคราะห์ผลกระทบการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkages) ของอุตสาหกรรมยางพารา ต่อระบบเศรษฐกิจและสาขาการผลิตอื่นๆ ของประเทศไทยและมาเลเซีย โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต เป็นเครื่องมือในการศึกษา การศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในยาง 5 ประเภท (HS 4001, HS 4005, HS 4007, HS 4014 และ HS 4015) จากทั้งหมด 17 ประเภท ซึ่งยางพาราและของที่ทำด้วยยาง 5 ประเภทนี้ คิดเป็นร้อยละ 72 ของมูลค่าการส่งออกยางพาราและของที่ทำด้วยยางทั้งหมดของไทย และพบว่ามูลค่าการส่งออกยางพาราและของที่ทำด้วยยางของประเทศไทย ในตลาดหลักที่สำคัญอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และญี่ปุ่น นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยการขยายตัวของตลาดโลกเป็นสำคัญ แต่ปัจจัยที่จะเป็นตัวส่งเสริมการส่งออกคือ การกระจายตลาด และการปรับทิศทางการส่งออก ส่วนปัจจัยการแข่งขันที่แท้จริงจะเป็นตัวส่งเสริมการส่งออกในระยะยาว ทั้งนี้ไทยกลับเสียความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดมาเลเซียและญี่ปุ่น สุดท้ายการวิเคราะห์ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต พบว่าสาขาการทำสวนยางพารามีการเชื่อมโยงไปข้างหลังที่ต่ำ ขณะที่สาขาการผลิตยางกระบวนการ สาขาการผลิตยางนอกและยางใน สาขาการผลิตถุงมือยาง และสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ มีการเชื่อมโยงไปข้างหลังที่สูง และโดยรวมแล้วอุตสาหกรรมยางพาราไทยมีการชักนำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจทั้งเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน, ผลตอบแทนการผลิต และภาษีทางอ้อมสุทธิ ในขนาดที่มากกว่าโดยเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับมาเลเซีย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย
การยางแห่งประเทศไทย
2556
การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การพัฒนาระบบบริหารจัดการเงินสงเคราะห์ (CESS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย การพัฒนาระบบบริหารจัดการเงินสงเคราะห์ (Cess) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย แนวทางการสนับสนุนด้านการลงทุนระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย : วิเคราะห์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยางพาราไทย โอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ศักยภาพการดำเนินงานของ Smart Farmer ข้าวที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประเทศไทย โครงการวิจัย และพัฒนาระบบการกระจายสินค้าของอุตสาหกรรมยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก