สืบค้นงานวิจัย
การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)กับผลลำไยสดด้วยวิธีหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air
จักรพงษ์ พิมพ์พิมล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)กับผลลำไยสดด้วยวิธีหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรพงษ์ พิมพ์พิมล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การนำระบบหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air ซึ่งมีความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านภายในตะกร้าบรรจุผลลำไยสดไม่น้อยกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที่ เข้มาใช้ในกระบานการรม SO2 กับผลลำไยช่วยให้มีอัตราเร็วของอากาศที่ไหลผ่านภายในตะกร้าบรรจุผลลำไยสูงและสม่ำเสมอมากกว่าการใช้ระบบหมุนเวียนแบบ circulating-air ส่งผลให้แก๊ส SO2 สัมผัสกับผลลำไยได้มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดระดับความเข้มข้น ของ SO2 หลังสิ้นสุดการรมให้เหลือเพียง 2,000 ppm หรือประมาณ 6 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความเข้มข้นของ SO2 ตามคำแนะนำซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ 12,000-15,000 ppm เมื่อนำเอาระบบหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air มาใช้ในกระบวนการรม SO2 ที่ได้จากการเผาผงกำมะถันและมีระดับความเข้มข้นของ SO2 หลังสิ้นสุดการรม 2,000 ppm กับผลลำไยสดพันธุ์อีดอทั้งในเชิงงานนำร่องและกึ่งการค้า โดยศึกษาถึงคุณภาพของผลลำไยหลังจากการรมและหลังจากการเก็บรักษาเป็นเวลา 20 วัน ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ พบว่า สามารถป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลลำไยได้ โดยมีปริมาณ SO2 ตกค้างในส่วนของเปลือกผลหลังจากรมทันทีเฉลี่ยประมาณ 1,260-1,520 ppm ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันอาหารกำหนดไว้ในส่วนของเปลือกผลคือ 1,700 ppm และไม่พบปริมาณ SO2 ตกค้างในส่วนของเนื้อผล เช่นเดียวกับการนำกระบวนการและระดับความเข้ม ขันของ SO2 ดังกล่าวมาใช้ในการรม SO2 ที่ได้จากถึงอัดความดันโดยตรง (directly SO, gas) ทั้งในเชิงนำร่อง และกึ่งการค้า สามารถป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลลำไยได้เช่นกัน โดยมีปริมาณ SO2 ตกค้างในส่วนของเปลือกผลหลังจากรมทันทีเฉลี่ยประมาณ 1,390-1,470 ppm และไม่พบปริมาณ SO2 ตกค้างในส่วนของเนื้อผล สำหรับคำใช้จ่ายต่อหน่วยในการใช้ SO2 ที่มีระดับความเข้มข้นหลังสิ้นสุดการรม 2,000 ppm นั้นพบว่า การใช้ SO2 จากการเผาผงกำมะถันผงกำมะถันมีคำใช้จ่ายประมาณ 5.00-7.50 บาทต่อตันผลลำไยสด ส่วนการใช้ SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงมีค่าใช้จ่ายประมาณ 400-560 บาทต่อตันผลลำไยสด
บทคัดย่อ (EN): The implementation of forced-air circulating system at the longan fumigation room of 0.5 m/s during sulfur dioxide fumigation process helps increase the velocity of air flow with higher consistency than traditional circulating-air system. Sulfur dioxide gas has better chance of getting in contact with longan fruits, and therefore, it is possible to reduce the concentration of the sulfur dioxide residue after fumigation process to 2,000 ppm or approximately 1/6 of that currently leftovers after a traditional fumigation process. The residual sulfur dioxide at 2,000 ppm after the process of incinerating sulfur powder and fumigating fresh longan fruits cv. Daw with forced-air circulating system did not affect external quality of the fruits in both pilot and semi-commercial scales, as suggested by results from the study on quality of longan fruits after fumigation and after storage at 5 'C in 95 % RH for 20 days. Forced-air system was effective in preventing post-harvest diseases and browning of the fruits while decreasing the residual sulfur dioxide to 1,260-1,520 ppm, which is below the 1,700 ppm constraint of National Food Institute. Moreover, no residual sulfur dioxide was detected in the flesh. These findings were in concord to the results obtained from applying this technique to fumigation with directly sulfur dioxide gas, in both pilot and semi-commercial scales. The residual sulfur dioxide remained in longan fruits in the latter case were in the range of 1,390 - 1,470 ppm and none was found in the flesh as well. However, costs of fumigation process with sulfur powder and directly sulfur dioxide gas were vastly different. Fumigation with sulfur powder costed merely 5 to 7.50 baths per ton of fresh longan fruits in contrast to 400 - 560 baths when directly sulfur dioxide gas was applied.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สกว.-48-002
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/180459
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)กับผลลำไยสดด้วยวิธีหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การออกแบบห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air ในระดับอุตสาหกรรม จำแนกพันธุ์ลำไยโดยวิธีอิเล็กโทรโฟรีซีส การปรับปรุงถ่านจาก กระบวนการไพโรไลซิสเปลือกยางพาราเพื่อใช้ในการดูดซับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์ลำไย โครงการการพัฒนาการผลิตฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ผงจากน้ำเชื่อมลำไยด้วยวิธีทางเอนไซม์ การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย การเผยแพร่และผลักดันกระบวนการรม SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งไปใช้ปฏิบัติในเชิงการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ปรับปรุงเครื่องอบลำไยเนื้อ ผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อคุณภาพของผลลำไย ผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก