สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1)
ปัญญา แซ่ลิ้ม - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1)
ชื่อเรื่อง (EN): Selective breeding for growth of Nile tilapia reared in a recirculating aquaculture system (Phase I)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปัญญา แซ่ลิ้ม
คำสำคัญ: ปลานิล การเจริญเติบโต การปรับปรุงพันธุ์ ระบบน้ำหมุนเวียน ต้นทุนสิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปลานิล (Nile tilapia) เป็นสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทย โดยผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยงในปี 2559 มีปริมาณ 200,800 ตัน คิดเป็น 52.6 % ของปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดทั้งหมด และมีมูลค่าของผลผลิตสูงถึง 11,844.7 ล้านบาท ปัจจุบันเกษตรกรเลี้ยงปลานิลทุกภูมิภาคเนื่องจากปลานิลมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว และสามารถปรับตัวเข้ากับระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันได้ดี แม้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเป็นกลไกสำคัญในการความมั่นคงทางอาหาร (food security) เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของประชาคมโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในปี 2558 ประเทศไทยมีปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำภาคกลาง 28,430.63 ล้าน ลบ.ม. แต่ความต้องการใช้น้ำสูงถึง 69,825.60 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 2.45 เท่าของปริมาณน้ำท่าที่มีในลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศ นอกจากนี้ น้ำที่ออกจากระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหากไม่มีการบำบัดคุณภาพน้ำก่อนปล่อยกลับสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อาจส่งผลต่อสมดุลของระบบนิเวศน์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ การตระหนักถึงความสำคัญของต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นในประชาคมโลก อาจนำไปสู่การประกาศการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า (trade barrier) และอาจส่งผลต่อธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในตลาดโลก ดังนั้น การวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลให้มีผลผลิตสูงขึ้นโดยลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายการใช้ทรัพยากรน้ำในประเทศ มาตรฐานการส่งออกสินค้าเกษตรที่คำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ระบบการเลี้ยงแบบใช้น้ำหมุนเวียน (recirculating aquaculture system, RAS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการเลี้ยงเพื่อเพิ่มพูนผลผลิตสัตว์น้ำโดยมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าระบบการเลี้ยงแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสองปัจจัยที่ทำให้ปลานิลมีอัตราการเจริญเติบโตสูงโดยใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลงคือการจัดการการเลี้ยง (rearing management) และการปรับปรุงพันธุ์ (selective breeding) ที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิลจำเป็นต้องมีการพัฒนาทั้งสองปัจจัยควบคู่กัน กล่าวคือการพัฒนาระบบการเลี้ยงแบบ RAS ตลอดจนสายพันธุ์ปลานิลที่เจริญเติบโตได้ดีในระบบการเลี้ยงแบบ RAS อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในระบบ RAS โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการเลี้ยงจากระบบเดิมมาสู่ระบบการเลี้ยงแบบ RAS อาจส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม (genotype-by-environment interaction, GxE) หากประชากรปลานิลมี GxE ของลักษณะการเจริญเติบโตในระบบการเลี้ยงแบบเดิมกับระบบการเลี้ยงแบบ RAS แผนการปรับปรุงพันธุ์อาจต้องมีการพิจารณาการเจริญเติบโตในระบบการเลี้ยงแบบ RAS ในวัตถุประสงค์การปรับปรุงพันธุ์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมในการปรับตัวให้เข้ากับระบบการเลี้ยงที่หลากหลาย ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาและพัฒนาพันธุกรรมปลานิลให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในระบบการเลี้ยงแบบ RAS โดยโครงการจะแบ่งออกเป็นสองระยะ ในระยะแรก (Phase I) จะเป็นการพัฒนาระบบ RAS และการสร้างประชากรพื้นฐานปลานิลขึ้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ในระยะที่สอง (Phase II) จะเป็นการติดตามผลการเจริญเติบโตของปลานิลในระบบ RAS และดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดโครงการสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วน 1) สายพันธุ์ปลานิลใหม่ของกรมประมงซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการดำเนินการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่องหลังจากสิ้นสุดโครงการ และจะเป็นสายพันธุ์ที่มีการแจกจ่ายหรือจำหน่ายในราคาถูกแก่ประชาชนต่อไป 2) ระบบการเลี้ยงแบบ RAS ต้นทุนต่ำ โดยระบบการเลี้ยงแบบ RAS ที่จะมีการดำเนินการพัฒนาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำปทุมธานีจะกลายเป็นระบบต้นแบบให้กับทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกรมประมงในการนำไปประยุกต์ใช้หรือดำเนินการสร้างในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำน้อยสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป 3) ผลงานทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ</p>
บทคัดย่อ (EN): Nile Tilapia is one of the most economically important freshwater species in Thailand. In 2016, the production of Nile tilapia from culture was 200,800 tonnes which was 52.6% of the total aquaculture production of the freshwater species. The economic value of the production was 11,844.7 million baht. Nowadays, Nile tilapia is farmed in all regions of Thailand due to its rapid growth and its ability to adapt to wide range of farming environments. Although, aquaculture has contributed significantly to food security, a reduction of environmental footprints has to be taken into consideration to promote sustainable aquaculture. Water resources are required in aquaculture activities. Yet the water resources are limited. In 2015, the total volume of runoff in the central part of Thailand was 28,430.63 million m3 while water requirement was 69,825.60 million m3 which is 2.45 times greater than the available runoff. In addition, the used water from fish farming activities usually contains high concentration of nutrients and feces which may affect water quality and natural ecosystem negatively if releasing without treating. With raised awareness, environmental footprints have become an important issue in the world society. One aspect that environmental footprints may pay essential role is world trade, i.e., a trade barrier. Consequently, Thailand may not be able to market aquatic products internationally. Hence, Nile tilapia production should not be increased at the cost of environment, i.e., water footprint. Sustainable aquaculture is a specific measure for adapting fish farmers to future changes, for instance reduction of water use policy and new standards for importing aquaculture products. In addition, farmed fish products from low water footprints may gain more customers&rsquo; acceptance and subsequently may increase competitiveness in the international markets. Recirculating aquaculture system (RAS) is a technology for farming aquatic organisms by reusing the water in the production which can be deployed in Nile tilapia farming to reduce water footprints. However, the ability of fish to thrive in RAS comes from two main components: rearing management and selective breeding. Fish that grow well under conventional rearing systems may not grow well in RAS when there is genotype-by-environment interaction (GxE). The genetic gain may be lower-than-expected if GxE is not considered in a breeding programme. Thus, both RAS and genetics of Nile tilapia that well adapts to RAS have to be developed concurrently. The overall objective of this project is to develop Nile tilapia stock that can grow well under RAS through selective breeding. This project consists of two phases. For phase I, the key activities will be placed on establishing and optimizing RAS, as well as, establishing based population of Nile tilapia. For phase II, growth performance in RAS, pedigree information and growth performance in the other test environments will be utilized in selective breeding. After the project finishes, the breeding programme for Nile tilapia in this project will still be continued. The expected outcomes from this project can be listed: First, new Nile tilapia breed that can thrive under RAS and conventional rearing systems. This breed will be disseminated broadly to fish farmers to enhance their livelihood and income. Second, optimized RAS for tilapia at Department of Fisheries which can be developed further for other aquatic species and in the areas where the water resources are limited. Finally, scientific paper(s) will be submitted to national or international peer-reviewed journals.</span></p> &nbsp;</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2563
ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) การเจริญเติบโตของปลานิลที่อนุบาลด้วยอาหารผสมสาหร่ายเกลียวทองในระดับที่ต่างกัน การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม ผลของการใช้แลคโตบาซิลลัสและมันเทศต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบเลือดของปลานิล แนวทางการใช้ prebiotic และ probiotic เสริมในอาหารเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ เพื่อเข้าสู่ ระบบฟาร์มสัตว์น้ำตามแนวทางเกษตรอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก