สืบค้นงานวิจัย
โครงการ ปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วพุ่ม ปีที่ 2
นริศ สินศิริ - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: โครงการ ปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วพุ่ม ปีที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): Cowpea Breeding and Cowpea Production Technology Development Project,Year 2.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริศ สินศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองเปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐานของถั่วพุ่ม 6 พันธุ์ ในการพัฒนาพันธุ์ถั่วพุ่มฝักยาว MSU2 ในลักษณะการต้านทานต่อของโรคที่มีผลต่อองค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของถั่วพุ่ม การทดสอบนี้ใช้ถั่วพุ่มพันธุ์มาตรฐานที่มีการพัฒนาขึ้นมาจากหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศไทย ประกอบ ด้วยพันธุ์ KKU25 KKU40 Suranaree1 SJ1 MSU1 KKSJ28-1-10-2-1-1(MSU2) ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) มี 4 ซ้ำ 2 location ผลการทดลองพบว่าพันธุ์ MSU2 มีลักษณะฝักคล้ายถั่วฝักยาวมากโดยมีความยาวฝักไม่แตกต่างจากพันธุ์พ่อ SJ1 ในด้านข้อมูลองค์ประกอบผลผลิตพันธุ์ MSU2 มีจำนวนฝักต่อต้นน้อยกว่าพันธุ์ KKU40 และมีน้ำหนักฝักเฉลี่ยเป็นรองจากพันธุ์ SJ1 แต่มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ แต่มีเปอร์เซ็นต์ฝักดีมากที่สุดและมีผลผลิตน้ำหนักฝักสดเฉลี่ยต่อไร่สูงเทียบเท่ากับพันธุ์ SJ1 และพันธุ์ MSU1 อย่างไรก้ตามพันธุ์ MSU2 มีผลผลิตเมล็ดต่อไร่ต่ำที่สุด ส่วนความสามารถของการต้านทานต่อโรคใบจุดพบว่า พันธุ์ MSU2 มีค่า incidence และ severity ของเชื้อ Psudocercospora cruenta ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคใบจุดสูงมากรองจากพันธุ์ KKU25 ซึ่งจัดไว้เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้
บทคัดย่อ (EN): A comparison experiment for standard yield trails of six cowpea varieties. The cowpea (yard long bean) MSU2 was developed aimed to resist the disease which affected the yield components and production yields. The standard cowpea varieties from institutes in Thailand such as KKU25, KKU40, Suranaree1, SJ1, MSU1, and KKSJ 28-1-10-2-1-1 (MSU2) were studies. The Randomized Complete Block Design (RCBD) was used with 4 replications in 2 locations. It was found that MSU2 had the pod character similar to SJ1 and it was significance difference in pod length. In term of yield components, the number of pod per plant of MSU2 was less than SJ1, but it was higher than others. The percentage of complete pod yields and fresh pod yields per rai of MSU2 was high and was no significance difference SJ1 and MSU1. However MSU2 seed yields was the lowest. The ability of leaf spot resistance of MSU2 (incjdence and severity of Psudocercospora cruenta ) was as low as KKU25 In sum, MSU2 was susceptible to the leaf spot disease
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการ ปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วพุ่ม ปีที่ 2
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30 กันยายน 2553
โครงการ ปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วพุ่ม ศักยภาพการผลิตปลากัดไทยของจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อเป็นสินค้า OTOP และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปลากัดไทย การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง การปรับปรุงพันธุ์ถั่วแดง เทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์ของไข่น้ำในเชิงพาณิชย์ แผนงานพัฒนาขีดความสามรถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ ผลผลิตและคุณค่าอาหารของหญ้าเนเบียร์ที่ปลูกร่วมกับถั่วเซนโตร เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะนาว ผลของโอโซนต่อการตรึงไนโตรเจนของแบคทีเรียในระบบรากของถั่วพุ่ม (Vigna unguiculata (L.) Walp

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก