สืบค้นงานวิจัย
การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตมันสำปะหลังในสภาพดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พัชนี อาภรณ์รัตน์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตมันสำปะหลังในสภาพดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Crop rotation to increase soil fertility and cassava yield on sandy soil in Northeast Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชนี อาภรณ์รัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พัชนี อาภรณ์รัตน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตมันสำปะหลังในสภาพดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน และศึกษาความคุ้มค่า/ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomize Complete Block Design) มี 5 ตำรับการทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ คือ ตำรับที่ 1: แปลงควบคุม (control) : ปลูกมันสำปะหลังทุกปี (ตลอด 3 ปี) ตำรับที่ 2 : ปลูกถั่วมะแฮะ 1 ปี + ปลูกมันสำปะหลัง 2 ปี ตำรับที่ 3 : ปลูกถั่วมะแฮะ 2 ปี + ปลูกมันสำปะหลัง 1 ปี ตำรับที่ 4 : ปลูกพืชอาหารสัตว์ (ถั่วสไตโล) 1 ปี + ปลูกมันสำปะหลัง 2 ปี และ ตำรับที่ 5 : ปลูกพืชอาหารสัตว์ (ถั่วสไตโล) 2 ปี+ ปลูกมันสำปะหลัง 1 ปี โดยดำเนินการในแปลงเกษตรกร หมู่ที่ 8 บ.โนนพันชาด ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2553- เดือนกันยายน 2556 รวมระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ผลการทดลองพบว่า การปลูกพืชหมุนเวียนตระกูลถั่วสลับกับการปลูกมันสำปะหลัง สามารถช่วยเพิ่มสมบัติทางเคมีและสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นได้ โดยพบว่า ก่อนการทดลอง ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) มีค่า 4.3 (อยู่ในเกณฑ์ต่ำ) หลังสิ้นสุดการทดลอง ค่า pH มีค่าเพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ เป็นกรดปานกลาง มีค่า 6.6 โดยตำรับการทดลองที่ 3 และ 5 มีค่าเท่ากัน ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุในดิน อยู่ในระดับต่ำ (มีค่า 0.38-0.39 เปอร์เซ็นต์) เช่นเดียวกันกับค่าปริมาณไนโตรเจน ที่ก่อนและหลังการทดลองมีค่าไม่เปลี่ยนแปลงนัก (มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-.03) ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ส่วนค่าอื่นๆ ได้แก่ ค่าโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ค่าแคลเซียม และค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ก่อนการทดลองและหลังสิ้นสุดการทดลองมีค่าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนค่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน มีค่าเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง (จาก 9.85 ppm เป็น 16.48 ppm จัดว่ามีอยู่ในเกณฑ์สูง) เช่นเดียวกับค่า แมกนีเซียมที่เพิ่มขึ้นหลังการทดลอง (จากเดิมก่อนทดลอง 31.47 ppm เป็น 313.3 245.05 ppm ในตำรับการทดลองที่ 3 และ 5 ตามลำดับ) ส่วนสมบัติทางกายภาพของดิน พบว่าตำรับที่มีการมีการปลูกพืชหมุนเวียนก่อนการปลูกมันสำปะหลัง สามารถช่วยเพิ่มความร่วนซุยของดินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรับที่ปลูกถั่วสไตโล สามารถทำให้ความหนาแน่นของดิน จากก่อนการทดลอง (เช่น ในตำรับการทดลองที่ 5 1.87 g/cm3 ลดลงเป็น 1.68 g/cm3 ได้) ซึ่งมีความหนาแน่นมาก ลดลงเป็นมีความหนาแน่นปานกลาง สำหรับความคุ้มค่า/ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ของการปลูกพืชหมุนเวียนในแปลงมันสำปะหลัง พบว่า แปลงที่มีการปลูกพืชหมุนเวียนตระกูลถั่วก่อนที่จะมีการปลูกมันสำปะหลัง (ซึ่งเป็นการปรับปรุงบำรุงดินและยังเป็นการพักดินไปในตัวด้วย) พบว่าทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าแปลงที่ปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันทุกปี โดยตำรับการทดลองที่ 5 ให้กำไรสุทธิสูงสุด เท่ากับ 4,863.0บาทต่อไร่ (คิดเป็น 137.96 เปอร์เซ็นต์ของแปลงควบคุม) รองลงมาคือตำรับการทดลองที่ 3 ให้กำไรสุทธิเท่ากับ 4,450.0 บาทต่อไร่ (คิดเป็น 126.24 เปอร์เซ็นต์ของแปลงควบคุม)
บทคัดย่อ (EN): Crop rotation to increase soil fertility and cassava yield on sandy soil in Northeast Thailand. The researchers are focused on the chemical and physical properties of the soil, educational value or economic returns. The experimental design was done with RCBD (Randomize Complete Block Design) by 5 treatments and 3 replicates following, treatment 1: control groups are culture cassava every year (for 3 years), treatment 2: planting Pigeon pea for 1 years and cassava 2 years, treatment 3: planting Pigeon pea for 2 years and cassava 1 years, treatment 4: planting forage legumes (Stylo) 1 years and cassava for 2 years and product at treatment 5: planting the forage legumes (Stylo) for 2 years and cassava 1 year. Studied on the farmer farm at moo 8, Ban Nonpanchad, Nakha Sub-district, Munchakhiri District, Khon Kaen Province. The study period from October 2010 to September 2013, including a 3-years periods study. The results showed that Legume crop rotation, alternating with cassava enhanced the chemical properties and the physical properties of the soil. Finding the pH of pre-trial reaction of soil have 4.3 (the lower threshold) but after the end of the experiment are increase the pH to 6.6, and the formulation 3 and 5 also gave the same results. The amount of organic matter in the soil is low (0.38 to 0.39 percent of the value) as well as the amount of nitrogen. Before and after treatment soil showed no change (Ranged from 0.01 to 0.03), which was rated as very low. The other exchangeable values are the ability to exchange ions such as potassium, calcium have a little number change. Before and after the experiment has changed only slightly. However, the amounts of phosphorus in the soil are increased from pretest (from 9.85 ppm to 16.48 ppm that there is a high level). Magnesium increased after treatment (from the previous experiment was 313.3 and 245.05 ppm to 31.47 ppm after treatments with 3 and 5 formulation, respectively). The physical properties of the soil showed that there is a crop rotation before planting cassava can help to increase the porosity of the soil in particular recipe planted Stylo. Density of previous experiments which is very dense reduced to a medium such as the treatments at 1.87 g / cm3 decreased to 1.68 g / cm3. For the value or economic returns of the cassava crop rotation in the soil with legumes before planting cassava (which is also the soil improvement and recuperate soil) found that cassava yields rises. This results in a higher yield of cassava grown more than culture cassava every year. The treatment 5 gave a high value up to 4,863.0 baht per rai (equivalent to 137.96 percent of the control), followed by treatments 3 that gave the profit of 4,450.0 baht per rai (equivalent to 126.24 percent of the control).
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291640
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตมันสำปะหลังในสภาพดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
อาหารจากมันสำปะหลัง การศึกษาผลของถ่านชีวภาพไบโอชาร์และการใช้ปุ๋ยหมักต่อการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตในระบบการปลูกมันสำปะหลัง ผลของการไถระเบิดดินดานมีผลต่อสมบัติของดินที่ปลูกมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย การใช้พืชตระกูลถั่วในระบบการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ปลูกบนดินลูกรัง ผลของการจัดการดินต่อการระบายน้ำในดินทราย สำหรับปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ดินทราย การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง วิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มศักยภาพการผลิตของดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังตามด้วยข้าวไร่ในดินทราย การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดินและการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์เพื่อการผลิตมันสำปะหลังในชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก