สืบค้นงานวิจัย
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Test on Appropriated Technologies for Rubber (Hevea brasiliensis) Production in the Upper Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัญหาสำคัญของการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คือ ใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง ทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มตามศักยภาพ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จึงทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทดสอบการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมในพื้นที่ปลูกยางของเกษตรกรเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ สร้างแปลงตัวอย่างเพื่อเป็นแปลงเรียนรู้ของเกษตรกร ขยายผลไปยังแปลงเกษตรกรที่มีสภาพคล้ายคลึงกับแปลงทดสอบ ดำเนินการทดสอบ ปี 2554-2556 ในแปลงเกษตรกร 3 จังหวัด คือ หนองบัวลำภู นครพนม และหนองคาย โดยใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและลักษณะดินในการแบ่งพื้นที่ ทดสอบกับยางก่อนการเปิดกรีดอายุ 3-5 ปี เกษตรกร 13 รายและ ยางหลังการเปิดกรีดอายุ 8-13 ปี เกษตรกร 15 ราย ๆ ละ 5 ไร่ มี 2 กรรมวิธี 2 ซ้ำ คือ 1) กรรมวิธีทดสอบ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ 2) กรรมวิธีเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยทั้งชนิดและอัตราไม่ถูกต้อง ผลการทดสอบการใช้ปุ๋ย ในยางก่อนการเปิดกรีด พบว่า กรรมวิธีทดสอบมีเส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้นสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรในทุกจังหวัด โดยพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีเส้นรอบวงลำต้นเพิ่มขึ้น 6.9 และ 6.2 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ พื้นที่จังหวัดนครพนม 5.8 และ 5.1 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ และ พื้นที่จังหวัดหนองคาย 9.7 และ 5.7 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ ส่วนยางหลังการเปิดกรีดผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี กรรมวิธีทดสอบได้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรในทุกจังหวัด โดยพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า กรรมวิธีทดสอบ ได้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ร้อยละ 10.2 ซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 335 และ 304 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 31,562 และ 28,663 บาทต่อไร่ ตามลำดับ พื้นที่จังหวัดนครพนมได้ผลผลิตสูงกว่าร้อยละ 4.6 โดย ได้ผลผลิตเฉลี่ย 298 และ 285 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 27,412 และ 25,488 บาทต่อไร่ ตามลำดับ พื้นที่จังหวัดหนองคาย ได้ผลผลิตสูงกว่าร้อยละ 13.5 โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย 277 และ 244 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 23,758 และ 20,352 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลการดำเนินงานยังทำให้เกษตรกรทั้ง 28 ราย ใน 3 จังหวัด สามารถเป็นเกษตรต้นแบบถ่ายทอดความรู้การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องสำหรับเกษตรกรที่สนใจในจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถขยายผลและถ่ายทอดความรู้ไปสู่เกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 1,344 คน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
2557
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา พื้นที่ภาคเหนือตอนบน การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มวิจัยยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผักอนามัยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก