สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของฟางข้าวเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง
อับดุลลาห์ โดลาห์ ดาลี, คอสียาห์ สะลี - มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของฟางข้าวเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ชื่อเรื่อง (EN): Development and production of microbial probiotic starter culture(s) for upgrading nutritional values of ricestraw for feed of ruminants
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ฟางข้าวอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
คำสำคัญ (EN): s
บทคัดย่อ: ในการหาจุลินทรีย์เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อเสริมคุณค่าทางอาหารของฟางข้าวสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติกจากกระเพาะรูเมนวัว ดินบริเวณคอกวัวและสิ่งแวดล้อมอื่นถูก นำมาคัดแยก โดยพบ 3.74% จากรูเมนวัวและคอกวัว และ 2.64% จากสิ่งแวดล้อมอื่น มีคุณสมบัติ เป็นโพรไอติกที่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยฟางข้าว นอกจากนี้ ยังพบแอคติโนมัยซีทจากมูลวัวมีสมบัติ เป็นโพรไบโอติกเช่นกัน ในจำนวนนี้ 3.24% สร้างเอนไซม์เซลลูเลสได้ โดยเฉพาะ ไอโซเลตแอคติโน มัยซีท JR28 และ JR31 ซึ่งให้ค่ากิจกรรมเอนไซม์สูงเหมือนๆ กับไอโซเลตแบคทีเรีย MLU2 ในแง่มุม การปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของฟางข้าว ได้ตรวจสอบแบคทีเรีย ฟังไจและแอคติโนมัยสีท ผล ปรากฎว่า จุลินทรีย์ที่คัดแยกเหล่านี้เจริญเติบโตและสร้างเอนไซม์ลิกโนเซลลูเลสได้ ทั้งในอาหารฟาง ข้าว ทั้งที่ฟอก : ไม่ฟอกด้วย NaOH ในอัตราที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ภายใน 1 วันของการหมัก ไอ โซเลตแบคทีเรีย MLU2 เจริญเติบโตมากที่สุด (CFU/ml = 1.20 x 106: 1.18 x 106), ส่วนแอคติโน มัยซีท JR31 ให้ค่า CFU/ml 1.87 x 105: 1.22 x 105, และไอโซเลตแบคทีเรียกรดแลคติก R14 CFU/ml = 15.7 x 105: 15.0 x 105 อย่างไรก็ตาม ไอโซเลตฟังไจ FG1 และยีสต์ YM5 เจริญเติบโต ช้ากว่า โดยหลังจาก 3 วัน FG1 ให้ค่า CFU/ml = 0.92 x 103: 0.96 x 103 และ YM5, 1.13 x 106 : 1.14 x 106 ในส่วนของการผลิตลิกโนเซลลูเลส พบว่า MLU2 แสดงค่า U/ml ของกิจกรรมลิกโน เซลลูเลสในอาหารฟางข้าว 207 : 154 และ JR31 ให้ค่า U/ml = 168: 130 ในวันที่ 2 ของการหมัก และในวันที่ 6 ค่า U/ml กิจกรรมเอนไซม์เพิ่มขึ้นเป็น 207: 154 (MLU2) และ 456 : 915 (JR13) นอกจากนี้ ยังพบ R14, FG1 และ YM5 แสดงค่ากิจกรรมลิกโนเซลลูเลสในอาหารฟางข้าวฟอก : ไม่ ฟอกเช่นกัน โดย R14 ให้ค่า U/ml = 812: 476 ใน 6 วันของการหมัก FG1 U/ml = 380: 275 ใน 12 วันของการหมัก และ YM5 U/ml = 118: 177 ใน 12 วัน บรรดาเชื้อเหล่านี้สามารถนำไปผลิต เป็นหัวเชื้อเสริมคุณค่าทางอาหารของฟางข้าวในกระบวนการหมักในสเกลขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): In searching microbes for nutritionally supplementing rice straw feeding ruminants, lactic acid bacteria (LAB) or those alike with probiotic potential from cow rumen, its surroundings and other environments was isolated. Results showed that 3.74% from cow rumen and its surroundings, and 2.64% from other environments showed probiotic characteristics with enzymatic activity on rice straw. Out of these, 3.24% were cellulase producer actinomycetes, like JR28 and JR31 with higher enzyme activity similar to bacterial isolate of MLU2 in term of rice straw nutritional value supplement. Further Investigation of the isolated bacteria, fungi and actinomycetes found that they grew and produced lignocellulase in rice straw media with NaOH-treated: –untreated. A day growth, MLU2 yielded rapidly CFU/ml higher rates (1.20 x 106: 1.18 x 106), whereas actinomycetes JR31, 1.88 x 105: 1.22 x 105, and LAB R14, 15.7 x 105: 15.0 x 105. However, fungal isolate of FG1 and yeast isolate of YM5 grew with slower rates, in 3 days; CFU/ml of FG1 was 0.92 x 103: 0.96 x 103 and YM5, 1.13x106: 1.14x106. For lignocellulase production, MLU2 yielded U/ml lignocellulase activity 168: 130 on rice straw fermentation day 2. On day 6, U/ml enzyme activity increased to 207: 154 (MLU2), 456: 915 (JR13). Moreover, R14, FG1 and YM5 also showed U/ml lignocellulase activity; R14 yielded 812: 476 in 6-day, FG1, 380: 275 in 12-day, and YM5, 118: 177 in 12-day. All these microorganisms were potential in developing microbial starter for nutritional value added rice straw fermentation in larger scale in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของฟางข้าวเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
30 กันยายน 2559
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร คุณค่าทางอาหารของฟาสต์ฟู้ดที่จำหน่ายในประเทศไทย การผลิตน้ำมังคุดหมักด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติก อาหารบำรุงสมอง การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเช้าสำเร็จรูปชนิดที่มีแคลเซียมและใยอาหารสูง การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร อาหารจากจุลินทรีย์ การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก