สืบค้นงานวิจัย
ขั้นตอนวิธีสำหรับการพยากรณ์ผลผลิตอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: ขั้นตอนวิธีสำหรับการพยากรณ์ผลผลิตอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่อง (EN): Algorithms for Forecasting Sugarcane Production Level
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล แต่ปริมาณอ้อยที่เกษตรกรผลิตเพื่อส่งเข้าสู่โรงงานมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้โรงงานผลิตน้ำตาลมีความเสี่ยงในแง่ของวัตถุดิบในการผลิต การพยากรณ์ปริมาณผลผลิตอ้อยของเกษตรกรจะช่วยให้โรงงานผลิตน้ำตาลสามารถคาดการณ์และวางแผนการผลิตได้เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงนำเสนอขั้นตอนวิธี (mu+lambda) adaptive evolution strategies สำหรับสร้างสมการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตอ้อยของเกษตรกร ขั้นตอนวิธีที่นำเสนอเป็นการนำเอาข้อดีของสองอัลกอริทึมมารวมกัน กล่าวคือ นำความสามารถของ genetic algorithm ในการหารูปแบบของสมการมารวมกับความสามารถของ evolution strategies ในการปรับค่าสัมประสิทธิ์ สมการที่ได้จากขั้นตอนวิธีที่นำเสนอถูกนำมาทดสอบกับข้อมูลของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยใน 24 จังหวัดของประเทศไทย ในปี ค.ศ. 2010 – 2014 ผลการทดลองพบว่าขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมีความถูกต้องในการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตประมาณ 88% ซึ่งเมื่อเทียบกับวิธีที่เป็นที่นิยมอย่าง back propagation neural network (BPNN) พบว่าขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมีความแม่นยำมากกว่าในทุกกรณีทดสอบ นอกเหนือจากการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตแล้ว งานวิจัยนี้ยังนำเสนอโมเดลการพยากรณ์คุณภาพของผลผลิตอ้อยด้วย (CCS) ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบโมเดลพยากรณ์ที่ได้จาก 3 ขั้นตอนวิธี กล่าวคือ back propagation neural network (BPNN), (mu+lambda) adaptive evolution strategies และ deep neural network ซึ่งผลการวิจัยพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว deep neural network ให้ค่าความผิดพลาดในการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตน้อยสุด ส่วนในแง่ของการพยากรณ์คุณภาพ วิธี (mu+lambda) adaptive evolution strategies ให้ค่าความผิดพลาดต่ำสุด
ชื่อแหล่งทุน: เงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3667?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ขั้นตอนวิธีสำหรับการพยากรณ์ผลผลิตอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ขั้นตอนวิธีสำหรับการพยากรณ์ผลผลิตอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุสาหกรรม การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลของอายุการตัดที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ของอ้อยพันธุ์ต่าง ๆ ในช่วงฤดูแล้งที่ชัยนาทและลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การจัดการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในกลุ่มชุดดินที่ 22 โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับเตรียมดินและสับใบเศษซากอ้อยสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง การศึกษาอายุการตัดที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ของอ้อยพันธุ์ต่าง ๆ ในช่วงฤดูแล้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก