สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ
ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่อง (EN): Process improvement of nutraceutical products from Thai rice and cerals for old age citizen
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): NATTA LAOHAKUNJIT
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ” แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากธัญพืชงอกและหมัก 7 ชนิด (ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง และงา) และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธัญพืชหมักงอก 7 ชนิด ที่มีสารอาหาร GABA, ferulic, oryzanol, phenolicsm isoflavones (diadzein และ genistein) phytosterol, vitamin B1 สูง จากการศึกษาวิจัย พบว่า ธัญพืชงอกหมัก 7 ชนิดที่นำมาผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ได้แก่ ข้าวกล้องงอกหมักด้วยเชื้อรา Aspergillusoryzae, ข้าวฟ่างงอกหมักด้วยเชื้อ Lactobacillusplantarum, ข้าวโพดงอกหมักด้วยเชื้อ Bifidobacterialongum, งางอกหมักด้วยเชื้อ Lactococuslactis, ถั่วเหลือง ถั่วเขียวและถั่วแดงงอกหมักด้วยเชื้อ Bacillus subtilis นาน 72 ชั่วโมง มาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบปริมาณโปรตีนสูงสุดในถั่วเหลืองงอกหมักด้วยเชื้อ B. subtilis ปริมาณไขมันพบปริมาณสูงสุดในงางอกหมักด้วยเชื้อ L.lactis ปริมาณ fiber พบสูงสุดในถั่วเขียวงอกหมักด้วยเชื้อ B. subtilis พบปริมาณสูงสุดของ β-glucan, ferulic acid, vitamin B2, vitamin B1, GABA พบในข้าวกล้องงอกหมักด้วยเชื้อ A.oryzae ส่วนปริมาณ phenolic compounds มีปริมาณใกล้เคียงกัน ปริมาณ isoflavone (diadzeingenistein), tocopherol, และ anti-oxidant (วิธี DPPH และ ABTS) พบปริมาณสูงสุดในถั่วเหลืองงอกหมักด้วยเชื้อ B. subtilis สำหรับปริมาณ γ-oryzanol พบมากที่สุดในข้าวกล้องงอกหมักด้วยเชื้อ A.oryzae ส่วนในถั่วแดงงอกหมักด้วยเชื้อ B. subtilis, งางอกหมักด้วยเชื้อ L.lactis, และข้าวกล้องงอกหมักด้วยเชื้อ A.oryzae มีปริมาณ aglucosidase inhibitor สูงกว่า 80% สำหรับปริมาณ phytic acid และ oxalate ซึ่งเป็นสาร anti-nutrition พบต่ำสุดในข้าวกล้องงอกหมักด้วยเชื้อ A.oryzae น้ำตาล monosaccharide และ oligosaccharide ของธัญพืชงอกหมัก 7 ชนิด ได้แก่ น้ำตาล fructose พบในปริมาณที่สูงในธัญพืชงอกหมักทุกชนิด โดยเฉพาะในข้าวโพดงอกหมักด้วยเชื้อ B.longumนอกจากนี้ยังพบน้ำตาล glucose,sucrose และ rhamnoseและน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ เช่น raffinoseและ stachyose การพัฒนาสูตรอาหารเสริมจากธัญพืชงอกหมัก 5 ชนิด ได้แก่ สูตรโปรตีนสูง สูตรสาร GABA สูง สูตรสารต้านอนุมูลอิสระสูง และสูตรสารต้านโภชนาการต่ำ และนำสูตรอาหารเสริมจากธัญพืชงอกหมัก 7 ชนิด มาผสม binder เพื่ออัดเม็ดเป็นอาหารเสริม ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย ได้พัฒนากระบวนการผลิตข้าวเจ้าและธัญพืช พัฒนากระบวนการหมัก เพื่อนำแปรรูปเป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมทางการค้าสำหรับผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-08-18
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-08-17
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2553
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
17 สิงหาคม 2555
การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การผลิตสารโมนาโคลิน เค (สารลดคอเลสเตอรอล) จากราโมเนสคัสที่เลี้ยงบนข้าวเหนียวสันป่าตอง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชผสมถั่วที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุทั่วไปและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชผสมถั่วที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุทั่วไปและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากถั่วเหลืองหมักผงผสมบุกสำหรับผู้สูงอายุ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก