สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
สำราญกิจ สวัสดิ์สลุง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำราญกิจ สวัสดิ์สลุง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัย การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปัญหาอุปสรรคและความต้องการ จำนวนประชากร 1,980 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องพิวเตอร์ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49.65 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ป.4 ส่วนมากมีครอบครัวแล้ว และสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.38 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.78 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 41.81 ไร่ประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 11.98 ปี มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 24.65 ไร่ ลักษณะดินที่ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย พันธุ์ข้าวโพดที่ใช้ปลูก พันธุ์ลูกผสม 949 โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากธ.ก.ส. ปลูกปลายฝน การปรับปรุงดินมีการไถกลบเศษพืชหลังการเก็บเกี่ยว การเตรียมดินไถ 2 ครั้งไถดะ 1 ครั้งด้วยผาน 3 ทิ้งไว้ 7 วันแล้วไถแปรด้วยผาน 7 อีก 1 ครั้งจ้างรถไถของผู้อื่นไถ ใช้เครื่องหยอดเมล็ดปลูกใช้ระยะ 75 x 25 ซม. อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5 - 3 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือใส่พร้อมปลูก1 ครั้งและใส่เมื่ออายุ 35 วัน1 ครั้ง ร้อยละ 73.87 อัตราที่ใส่ปุ๋ยเคมี 30-50 กก/ไร่ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 วัชพืชที่พบหญ้ายาง พบโรคราสนิมและหนอนเจาะลำต้น กำจัดวัชพืชโดยวิธีกล ใช้ยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง เก็บเกี่ยวใช้แรงงานคน เก็บเกี่ยวเมื่อเห็นว่าข้าวโพดแก่จัด ส่วนมากจะสีกะเทาะโดยไม่ตากแดด ส่วนมากไปขายผลผลิตที่ โรงงานอาหารสัตว์ ผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนมกราคม การขายจะถามจากเพื่อนบ้าน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 771 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่จำหน่ายได้เฉลี่ย 4.61 บาทต่อกิโลกรัม ค่าลงทุนเฉลี่ย1,774.95 บาท/ไร่ จุดคุ้มทุน 2.30 บาท/กิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ย 86,846 บาท/ปี ปัญหาได้แก่ ฝนทิ้งช่วงหรือฝนแล้ง ขาดเงินลงทุน ราคาผลผลิตตกต่ำ ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ความต้องการได้แก่ การปรับปรุงดินและการทำปุ๋ยพืชสด การเพิ่มผลผลิต ปัจจัยการผลิตราคาถูก ผลผลิตมีราคาแพง ราคารับซื้อแน่นอน ความต้องการด้านอื่น ๆ ให้เจ้าหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำ จัดฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ข้อเสนอแนะ ควรมีจัดตั้งกลุ่มเพื่อดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่น รณรงค์การไม่เผาตอซังในไร่นา การทำปุ๋ยหมักใช้เอง และการทำปุ๋ยพืชสด การอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยี่ทางการเกษตร ร่วมกันซื้อร่วมกันขาย ตั้งกองทุนสำรองการประกอบอาชีพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตและรูปแบบต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม ในจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2539 สภาพการผลิตส้มโอของเกษตรกรในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก