สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยของชุมชนเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
อัตถ์ อัจฉริยมนตรี - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยของชุมชนเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Approach to Changing Farmers’ Behaviorfor Developing Safe-use Vegetable Production at Muang Kaen Community, Maetang District, ChiangMai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัตถ์ อัจฉริยมนตรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยของชุมชนเมืองแกนพัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการพึ่งพิงสารเคมีทางการเกษตรเป็นหลัก จนทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน การศึกษาได้ดำเนินการในพื้นที่ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 26 ราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2555 ถึง มิถุนายน 2556 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยผลจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 12 กิจกรรม โดยสามารถสรุปผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเกษตรกรได้ ดังนี้ 1) การปรับเปลี่ยนเริ่มต้นจากการผลิตพืชผักหลากชนิดเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักหากเหลือจึงขายเป็นรายได้เสริม 2) เกษตรกรมีความเข้าใจในรูปแบบการผลิตพืชผักปลอดภัยของตนเองที่ชัดเจน และยอมรับถึงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของชุมชนที่อาจยังมีการฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตรและการปนเปื้อนของสารเคมีจากระบบชลประทาน 3) เทศบาลเมืองมีการกระตุ้น และสร้างความตระหนักถึงข้อดีของการเกษตรปลอดภัยให้แก่ชุมชน ทั้งในด้านสุขภาพของเกษตรกร และส่วนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลง 4) เทศบาลขาดความต่อเนื่องในด้านการจัดหาสถานที่จำหน่ายผลผลิตเกษตรปลอดภัยให้แก่กลุ่มเกษตรกรต่างๆ ในชุมชนที่เป็นประจำ 6) เกษตรกรสามารถปรับแผนการผลิตให้เกิดความความสม่ำเสมอมากขึ้น และคัดเลือกชนิดพืชผักอย่างน้อย 3 ชนิด ที่เป็นพืชผักหลัก ส่วนผักชนิดอื่นๆ นั้นเกษตรกรสามารถปลูกเป็นทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตให้แก่พ่อค้าแม่ค้าในท้องถิ่นได้เพิ่มเติม 7) กลุ่มเกษตรกรมีตราสัญลักษณ์เพื่อการบ่งชี้และยกระดับการจำหน่ายสำหรับผู้บริโภคระดับกลางจนถึงระดับบน ซึ่งช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้นต่อไปในอนาคต 8) กลุ่มเกษตรกรพัฒนาแปลงสาธิตเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนผู้สนใจในระดับท้องถิ่น และพร้อมพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนต่อไป ในงานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยเห็นว่าวิธีการถ่ายทอดความรู้ผสมผสานกับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีผลทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนในด้านทัศนคติที่ดีต่อกันระหว่างผู้วิจัยและชุมชน และสร้างกระบวนการนำเสนอแนวคิดร่วมกันมากขึ้นในความรู้ในเชิงวิชาการร่วมกับการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรลงได้ อย่างไรก็ตามชุมชนจำเป็นต้องมีตระหนักถึงการเชื่อมโยง สานสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรหรือตัวแทนของชุมชน กับหน่วยงานของเทศบาล ซึ่งเป็นแหล่งในการกระจายข่าวสารข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถขยายผลไปในทุกส่วนของชุมชน และยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีของชุมชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ของภาครัฐอีกด้วย
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-04-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-03-31
เอกสารแนบ: http://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG55N0024
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยของชุมชนเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
31 มีนาคม 2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทคนิคการควบคุมโรคเต้านมอักเสบของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ บทบาทของสหกรณ์การเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการเปลี่ยนเพศกบนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย ปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก