สืบค้นงานวิจัย
การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย
เบญจมาศ ศิลาย้อย และ O.L Gamborg - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย
ชื่อเรื่อง (EN): Callus Induction in Banana
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เบญจมาศ ศิลาย้อย และ O.L Gamborg
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Benchamas Silayoi and O.L. Gamborg
คำสำคัญ: กล้วย
บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงแคลลัส เซลล์ หรือโพรโทพลาสต์ อาจทำให้เกิดการผันแปรมากกว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากปลายยอดของกล้วย การเกิดการผันแปรที่เกิดในลักษณะที่ดีเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งของนักปรับปรุงพันธุ์พืช ดังนั้น การทดลองครั้งนี้จึงได้ทำการศึกษาการชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย โดยใช้ชิ้นส่วนของแผ่นใบ ก้านใบ และราก มาเลี้ยงในอาหารสูตร MS และ B5 ที่เพิ่มสารควบคุมการเจริญเติบโต คือ 2,4-D;2,4,5-T, IAA, NAA และ Dicamba ที่ความเข้มข้น 1,2.5 และ 5 ppn ทุก ๆ ความเข้มข้นเพิ่ม BA เข้มข้น 0.5 , 2 และ 5 pp ตามลำดับ และนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 26 ซ แสงประมาณ 2,000 ลักซ์. จากการทดลองพบว่าเฉพาะแผ่นใบเท่านั้นที่มีแคลลัสเกิดขึ้น โดยเกิดประมาณ 50% และสูตรอาหารที่ชักนำให้เกิดแคลลัสได้คือ MS ที่เพิ่ม NAA และ BA เท่านั้น และความเข้มข้น (ppm) ที่สามารถชักนำให้เกิดแคลลัส คือ 1NAA+ 5BA, 2.5NAA+ 2BA, 2.5NAA + 5BA, 5NAA + 5 BA สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ 50% ส่วน 1NAA + 2BA และ 5NAA + 2BA เกิดแคลลัสได้ 20% เมื่อนำเอาแคลลัสมาเลี้ยงในอาหารสูตร MA ที่เพิ่ม BA พบว่า BA มีความเข้มข้น 2.5 ppm สามารถกระตุ้นให้เกิดต้นได้ 30% และเมื่อย้ายต้นอ่อนลงในอาหารสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญ พบว่าทุกต้นสามารถเกิดรากได้ดี
บทคัดย่อ (EN): Greater plantlet variability is obtained from culture based on callus induction and protoplast procedures, relative to the cultlure of meristem and shoot tips. This study aimed to determine the optimal growth regulator concentrations for the induction of callus from banana explants. Leaf blades, petioles and root material were cut into segments and cultured in MS and B5 media with treatments of 1,2,5 and 5 ppm of 2,4-D,2,4,5-T, IAA, NAA and Dicamba. Superimposed on these treatments was BA in concentrations of 0.5, 2 and 5 ppm. All cultures were intiated under light conditions of about 2,000 lux and a temperature of 26 C. Callus induction was observed after one month. Calli occurred in 50 percent of the leaf blade cultures, while petiole and root cultures turns black and died. The most suitable media for callus induction was MS with NAA or BA. A rate of 50 percent induction was achieved in MS with 1 ppm NAA + 5 ppm BA, 2.5 ppm NAA + 2 ppm BA, 2.5 ppm NAA + 5 ppm BA, 5 ppm NAA + 5 ppm BA; a 20 percent callus induction rate was obtained in the MS media with 1 ppm NAA + 2 ppm BA, and 5 ppm NAA + 2 ppm BA. When the calli were transferred to regeneration media, 30 ercent were regenerated in teh MS media with 2.5 ppm BA. When the established shoots were transferred to MS media, all rooted.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2529
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย
กรมวิชาการเกษตร
2529
เอกสารแนบ 1
น้ำกล้วยหอม ความแปรปรวนทางพันธุกรรมในกล้วยไม้ลูกผสมสกุล Doritaenopsis ที่ถูกชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ การพัฒนาพันธุ์กล้วยให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยเทคนิคไบโอรีเอคเตอร์ การใช้สารสกัดจากผลกล้วยน้ำว้าสุกควบคุมเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในสุกรเล็ก เครื่องสไลด์กล้วยพร้อมทอด เครื่องตัดกล้วยกวน โพแทสเซียมกับ กล้วยน้ำว้าห่าม เครื่องบดแป้งกล้วย การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการปลูกกล้วย และพัฒนาเครื่องจักรกล เพื่อตัด เก็บ และลำเลียงกล้วยให้ถูกสุขลักษณะ เป็นมาตรฐานจากแปลงสู่โรงงานแปรรูป โครงการวิจัยคัดเลือกพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเพื่อการบริโภคสดเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์และการนำสารสำคัญจากกล้วยไปใช้ประโยชน์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก