สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการปลูก การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา [Musa (ABB Group)] เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
สุเพ็ญ ด้วงทอง, มานี เตื้อสกุล, กมลทิพย์ นิคมรัตน์, ณิศา มาชู, รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน, นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา, ครวญ บัวคีรี, สบาย ตันไทย, ศรัณย์ รักษาพราหมณ์, ถนอมจิต สุภาวิตา, สุจริต ส่วนไพโรจน์, อังคณา ธรรมสัจการ, ณฐมน เสมือนคิด, ธิติมา พานิชย์, สุเพ็ญ ด้วงทอง, มานี เตื้อสกุล, กมลทิพย์ นิคมรัตน์, ณิศา มาชู, รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน, นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา, ครวญ บัวคีรี, สบาย ตันไทย, ศรัณย์ รักษาพราหมณ์, ถนอมจิต สุภาวิตา, สุจริต ส่วนไพโรจน์, อังคณา ธรรมสัจการ, ณฐมน เสมือนคิด, ธิติมา พานิชย์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการปลูก การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา [Musa (ABB Group)] เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): Growing, Processing and Marketing Development of Kluai Nang Paya [ Musa (ABB Group)] as the Community Products
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ กล้วยนางพญาเป็นกล้วยประจำถิ่นของจังหวัดสงขลา เป็นที่รู้จักกันดีในสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงใช้รับประทานผลสุกหรือแปรรูปเป็นกล้วยทอด กล้วยเชื่อม หรือข้าวต้มมัด ยังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่ขนส่งง่ายและเก็บได้นาน ซึ่งต่างกับจังหวัดพัทลุงที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการและองค์กรท้องถิ่น ส่งเสริมการแปรรูปกล้วยน้ำว้าและกล้วยไข่ที่ปลูกมากในท้องถิ่นเป็นการค้า กล้วยนางพญาที่ใช้แปรรูปส่วนใหญ่ได้จากสวนหลังบ้าน มีการปลูกเป็นการค้าน้อยเนื่องจากหน่อพันธุ์หายาก เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนต้นอ่อนกล้วยนางพญาให้ได้ปริมาณเพียงพอ การเพาะเลี้ยงตายอดและตาข้างของกล้วยด้วยอาหารสูตรMS ที่เสริม BA ในอัตรา 2 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถกระตุ้นให้เกิดตายอดได้ 1-5 ยอด เมื่อนำต้นอ่อนที่ได้มาเลี้ยงในอาหาร 1/2 MS สามารถกระตุ้นให้เกิดรากและนำออกปลูกได้ กล้วยนางพญาที่ปลูกในอำเภอนาทวี มีขนาดลำต้นและการเจริญเติบโตแตกต่างกันมากขึ้นกับพื้นที่ปลูกและการดูแล อาจมีขนาดเส้นรอบวงตั้งแต่ 57.5-100 ซม. ความสูงต้น 273 ซม. - 555 ซม. ผลผลิต 6-8 หวีต่อเครือ จำนวน 11-18 ผลต่อหวี ตั้งแต่ติดผลจนกระทั่งผลแก่ใช้เวลาประมาณ 14 สัปดาห์ กล้วยอายุ 12- 14 สัปดาห์สามารถนำมาบ่มให้สุกด้วยเอทธิฟอน ซึ่งเป็นสารให้กำเนิดก๊าซเอทธิลีน กล้วยจะสุกภายใน 2-3 วัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงสีและรสชาติใกล้เคียงกัน กล้วยนางพญามีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม และกล้วยหักมุก แต่กล้วยนางพญาจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและใยอาหารมากกว่า ขณะที่มีไขมันน้อยกว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยนางพญาเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยหยี กล้วยตาก เค้ก และโยเกิร์ตกล้วยนางพญา และถ่ายทอดให้กับกลุ่มแม่บ้าน 2 กลุ่มคือ กลุ่มบ้านทุ่งเลียบพัฒนา หมู่ 9 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง และกลุ่มแม่บ้านบ้านบางเขียด หมู่ 3 ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา สำหรับความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วยนางพญา โดยให้คะแนนความชอบในเค้กกล้วยมากที่สุด รองลงมา คือ กล้วยหยี กล้วยตาก และโยเกิร์ต ตามลำดับ ซึ่งผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 80 ยินดีซื้อผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา เปลือกกล้วยนางพญาซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง สามารถนำมาป่น และผสมในอาหารนกกระทาระยะไข่ได้ในระดับ 12 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามวลไข่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) รวมทั้ง ต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าที่ระดับ 0 และ 3 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<0.05) และไม่ส่งผลเสียต่อองค์ประกอบของไข่ คุณภาพไข่และสุขภาพนกกระทา นอกจากนี้เปลือกกล้วยนางพญา สามารถนำมาหมัก โดยใช้อัตราส่วนเปลือกกล้วยต่อกากน้ำตาลต่อน้ำต่อจุลินทรีย์ EM เป็น 3:1:1:1 หมักเป็นระยะเวลา 1 เดือน ได้น้ำหมักชีวภาพซึ่งอยู่ในสภาพเป็นกรด (pH 4.3) แต่เมื่อนำมาเจือจางอัตราส่วน 1: 50, 1:100 และ 1:500 พร้อมทั้งปรับ pH ให้อยู่ในช่วง 7.5-8.5 ด้วยปูนขาว สามารถใช้เพาะขยายพันธุ์ไรแดงได้ดี ไม่แตกต่างจากสูตรอาหารควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าการเลี้ยงปลาดุกรัสเซียในบ่อดินที่ใส่น้ำหมักชีวภาพในอัตราน้ำหมัก: น้ำ = 1 ลิตร : 10 ลูกบาศก์เมตร ปลาดุกที่เลี้ยงมีน้ำหนักมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปริมาณแอมโมเนียเฉลี่ยในน้ำอยู่ในระดับที่ไม่เป็นพิษต่อปลา ส่วนปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำและความโปร่งใสของบ่อที่ใส่น้ำหมักชีวภาพมีค่าต่ำกว่า แต่ไม่มีผลต่อความอยู่รอดของปลา บริบทของกลุ่มและสภาพกิจกรรมด้านการผลิต การตลาดและการออมทรัพย์ของกลุ่มธุรกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านตัวแทน 2 กลุ่ม คือกลุ่มขนมพื้นบ้านกลุ่มแม่บ้านบ้านบางเขียด หมู่ที่ 3 ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ก่อตั้งในปี พ.ศ.2550 โดยเริ่มจากการตั้งกลุ่มออมทรัพย์หมู่ที่ 3 รวมกันเป็นกลุ่มขึ้นเพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพิ่มรายได้โดยเน้นการผลิตน้ำพริกแมงดาเป็นหลัก กลุ่มไม่มีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นทางการ ไม่มีการทำบัญชีกลุ่ม จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุน การกำหนดราคา การทำบัญชี การจัดทำงบกำไรขาดทุน ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ส่วนทางการตลาดมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มพยายามที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (อ ย.) กลุ่มที่ 2 กลุ่มแม่บ้านทุ่งเลียบพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ก่อตั้งในปี พ.ศ.2531 มีการจัดโครงสร้างองค์กร มีคณะกรรมการ กำหนดวัตถุประสงค์ กฎระเบียบตามโครงสร้างของทางราชการ ในปีพ.ศ.2543ได้ผลิตกล้วยกรอบแก้ว (เบรคแตก) ออกจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมของสมาชิกจนถึงปัจจุบัน กลุ่มมีการทำบัญชีอย่างง่าย โดยประธานเป็นผู้จัดทำ จากการวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มพบว่าไม่ค่อยมีกำไรไม่มีสมาชิกทำหน้าที่ด้านการตลาดส่วนใหญ่เต็มใจเป็นฝ่ายผลิต มากกว่า ปริมาณการผลิตสินค้าที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต คณะผู้วิจัยจึงได้ถ่าย ทอด ความรู้โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การหาจุดคุ้มทุน การทำบัญชี การตลาด และส่วนประสมทางการตลาด เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางการตลาดมากขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญาหลังจากการถ่ายทอดการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจกรรมที่4พบว่า กลุ่มแม่บ้านที่จังหวัดพัทลุง สนใจ โยเกิร์ตจากกล้วยนางพญา เนื่องจากมีเครือข่ายนมสดจังหวัดพัทลุงส่วนกลุ่มแม่บ้านจังหวัดสงขลาเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์เช่นตู้อบจึงอบรมการทำข้าวเหนียวคอนโด และกล้วยหยี จากการติดตามกลุ่มแม่บ้านที่จังหวัดสงขลา พบว่า ได้ผลิตข้าวเหนียวคอนโด จำหน่ายตลาดนัดใกล้บ้าน และรับผลิตเมื่อมีการอบรม ประชุมหน่วยงานราชการในท้องถิ่น จากข้อมูลการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานภาพและองค์ประกอบของทั้ง 2 กลุ่มนำมาจัดทำเป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาในรายวิชา การประกอบการธุรกิจชุมชน โดยนำขึ้นhttp://vclass.skru.ac.th ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจสภาพธุรกิจชุมชนในท้องถิ่นและมีส่วนร่วมโดยการวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชน
บทคัดย่อ (EN): Kluai Nang Paya [Musa (ABB Group)? is native to Songkhla and well known among people in Songkhla and adjacent provinces. Ripening Kluai Nang Paya is soft and sweet and can be eaten raw or cooked, but cooked is more preference. Although, processing Kluai Nang Paya like deep fried fritter (Kluai kaek), or sweeten in syrup (Kluai cheum) and steamed with sticky rice (Khao Tom Madt) are delicious, these products can not last long. Unlike, Pattalung, where public sectors and local government give support and implementation for products development of local grown Kluai Namwa and Kluai Khai. Kluai Nang Paya’s products, with long shelf life, easy handle and convenient distribution have not yet developed. Kluai Nang Paya fruits for local processing are supplied by local vendors who collect them bunch by bunch from house to house. Due to difficulty of seeking suckers for propagation, there is very few who commercial grown Kluai Nang Paya for sale. Tissue culture technique is known to be the way to produce a large number of uniformity seedlings. Terminal and lateral buds were grown in MS media supplement with 2 mg/L of BA found to produce 1-5 shoots/bud. The shoots subsequently grown in ? MS could develop roots and successfully transferred to grow in soil. Kluai NangPaya grown in Amphoe Nathavee was quite different in plant sizes and growth rates depended on growing location and cultivation. Stem diameters were range from 57.5 -100 cm, plant height ranged from 273 cm – 555 cm, produced 6-8 tiers/bunch, 11-18 fruits/tier. From fruit set to fruit mature took about 14 weeks. Fruits from 12-14 weeks old sprayed with 1,000 ppm ethyphon, ripped within 2- days with quite similar color changes and tastes. The nutritive values of Kluai Nang Paya were very close to Kluai Namwa, Kluai Khai, Kluai Hom, and Kluai Hakmuk. Kluai Nang Paya had higher levels of carbohydrate, protein and fiber, but lower fat content than others. To promote Kluai Nang Paya being well recognize, cooking methods and recipes of banana confectionery (Kluai Yee), sun dry banana (Kluai Tak), banana cake, and banana yogurt were developed and transferred to 2 housewife groups; Bantungleabpattana group, locates at Moo 9, Tumbol Somwang, Amphoe kongra, Pattalung Province, and Banbangkhead group, locates at Tumbol Bangkhead, Amphoe Singhanakorn, Songkhla province. The preference questionnaire showed that most people liked eating Kluai Nang Paya products and willing to buy the products. The first rank of liking was banana cake, followed by Kluai Yee, Kluai Tak and banana yogurt respectively. The banana peels considered as waste, however, they can be grounded and mixed with layer quail feed. The level of 12 % Kluai Nang Paya peels in quail feed highly significantly gave better egg mass than control group (P<0.01), and significantly decreased feed cost (P<0.05) without any defect of egg components and quality including quail health. In addition, Kluai Nang Paya peels were fermented with molasses and EM at the ratio of 3:1:1:1 for 1 month resulting in bio-fermented liquid with pH 4.3. The liquid was diluted with water at the ratio of 1:50, 1:100, and 1:500, then adjusted pH to 7.5-8.5 with lime, was capable to use for nursing water flea as good as conventional formula. Moreover, raising North African catfish in clay pond adding the bio-fermented liquid at the ratio of bio-fermented liquid: water =1 L: 10 m3 gave higher average fish weights than those raising in natural pond (P<0.05). The quality of water mixed or did not mixed with bio-fermented liquid were tested. The results showed that ammonia content in both ponds were not toxic to fish. The dissolved oxygen and transparency of water mixed with bio-fermented liquid were lower than unmixed water, but did not defect fish survival. Two housewife groups were selected and observed their activities of producing, marketing and saving. Banbangkhead group, Moo 3, Tumbol Bangkhead, Amphoe Singhanakorn, Songkhla province, this group first established as saving group then expand the activity to produce preserved foods mainly Numprikmangda. The group did not have an official administrative structure and a group account. We, there fore, arranged a workshop of cost analysis, selling price determination, making a group account, making a profit-lost balance sheet. For marketing skills, group members were trained to know how to create market opportunity, package development. Next the group aims to reach the standard and get food label from the Food and Drug Administration. Another group, Bantungleabpattana group Moo 9, Tumbol Somwang, Amphoe kongra, Pattalung Province, established in B.E. 2531. This group had well organized administrative structure, administrative board, group objective, group policy and regulation. In B.E. 2543 members of the group began making fry sliced banana under a name “ Kluai Brake Taak” and sold to earn an extra income until now. The head of group took care and made the group account. From the information observed, we found the group did not have much profit due to lack of marketing skills, never analyzed the cost. In addition, the members preferred making food product, but shy selling them. For better understanding the importance of market activities, we arranged workshop to trained of members of the group how to analyze cost, how to calculate break-even point, making a professional account, and market opportunity. After food processing training, we found that members of Bantungleabpattana group preferred banana yogurt due to plenty of milk supply in the area. While, members of Banbangkhead group who got no important cooking utensil like oven, chose to make easy made Khao Niaow Condo, and Kluai Yee for sale. The group further made chosen products and sold at free market close home. They also made Khao Niaow Condo for coffee brake of public and local government meeting in the area. The status and information of the two housewife groups was used as case study in Community Business Operation course and posted on web at http://vclass.skru.ac.th the second semester of 2552 for the students better understanding of community business in their home town and share their opinions by analyze then suggest the way to improve the community business they interested.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-01-31
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-01-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการปลูก การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา [Musa (ABB Group)] เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
31 มกราคม 2552
อาหารกล้วย… กล้วย เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกล้วยเพื่อการค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาปรุงรส การพัฒนาผลิตภัณฑ์สาหร่ายแผ่นปรุงรส การพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ศักยภาพการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติด้านพืชพรรณของชุมชนเกษตรกรรมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา ต.เพนียด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากน้ำข้าวหมากเพื่อสุขภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเครือข่ายอินแปง บ้านบัว อำเภอกุดบากจังหวัดสกลนคร การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากเส้นใยไหมป่า

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก