สืบค้นงานวิจัย
การผลิตสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ลำไส้ปลวกเพื่อการเกษตรพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ปิยะนุช เนียมทรัพย์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิตสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ลำไส้ปลวกเพื่อการเกษตรพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่อง (EN): Production of bioproducts from termite gut microbes for agriculture, biofuels and environment
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิยะนุช เนียมทรัพย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Piyanuch Niamsup
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาประชากรของแบคทีเรียในลำไส้ปลวกที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและเอนไซม์ไซลาเนสได้ โดยนำตัวอย่างลำไส้ปลวกมาเพาะเลี้ยงบนอาหาร 4 ชนิด ได้แก่ De Man Rogosa and Sharpe (MRS), Brain Heart Infusion (BHI), Tryptic Soy Agar (TSA) ในสภาวะไม่มีอากาศ และ Nutrient Agar (NA) ในสภาวะมีอากาศ จากการทดลองพบว่าสามารถแยกเชื้อแบคทีเรียลำไส้ปลวกได้ทั้งสิ้น 146 ไอโซเลต จากการจำแนกชนิดด้วยวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนส่วน 16S rRNA พบว่าแบคทีเรียทั้ง 146 ไอโซเลตสามารถจัดอยู่ใน 4 Phylum คือ Phylum Firmicutes (58.9%), Phylum Proteobacteria (34.9%), Phylum Actinobacteria (4.8%) และ Phylum Bacteroides (1.4%) หลังจากนำมาทดสอบความสามารถเบื้องต้นในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและเอนไซม์ไซลาเนส โดยวิธี congo red test พบว่ามีแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้จำนวน 15 ไอโซเลต และมีแบคทีเรียลำไส้ปลวกจำนวน 3 ไอโซเลตที่สามารถผลิตเอนไซม์ไซลาเนสได้ และจากการหาค่ากิจกรรมการทำงานและค่ากิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์ พบว่าไอโซเลตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส คือ Breznakia pachnodae T1-07 มีค่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์เซลลูเลสเท่ากับ 32 mU/ml และมีค่ากิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์เซลลูเลสเท่ากับ 27.1 mU/mg โปรตีน และไอโซเลตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตเอนไซม์ไซลาเนส คือ Microbacterium barkeri N5-06 มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ มีค่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ไซลาเนสเท่ากับ 292 mU/ml และมีค่ากิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์เท่ากับ 16.06 mU/mg โปรตีน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to isolate termite gut bacteria that capable of producing cellulase and xylanase enzyme. Termite gut samples were cultured on four different media which consist of De Man Rogosa and Sharpe (MRS), Brain Heart Infusion (BHI), Tryptic Soy Agar (TSA), in anaerobic condition and Nutrient agar (NA) in aerobic condition. Total of 146 isolates were isolated and identified to four Phylum by 16S rDNA sequencing which consisted of Phylum Firmicutes (58.9%), Phylum Proteobacteria (34.9%), Phylum Actinobacteria (4.8%) and Phylum Bacteroides (1.4%). Total of the isolates were then used to screen of cellulase and xylanase activity by congo red test. This qualitative screening showed that 15 isolates were positive for cellulase production and 3 isolates were positive for xylanase production. The quantitative analysis of cellulase activity found that Breznakia pachnodae T1-07 exhibited the highest cellulose activity at 32 mU/ml with specific activity at 27.1 mU/mg protein. While Microbacterium barkeri N5-06 showed highest activity of xylanase activity at 292 mU/ml with specific activity at 16.06 mU/mg protein.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-59-067
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-59-067.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ลำไส้ปลวกเพื่อการเกษตรพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
การผลิตสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ลำไส้ปลวกเพื่อการเกษตร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม (ต่อเนื่อง ปีที่ 2) พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา การวิเคราะห์เชิงเทคนิคและสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงอัดแข็งจากพืชพลังงาน ศูนย์สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตร ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะเพื่อการเกษตร ศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรมระดับชุมชนและสหกรณ์การเกษตร โครงการจัดการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน รูปแบบทางเลือกของการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การพัฒนาพลังงานจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก