สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก
นางสาวประนอม ใจอ้าย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production Technology of Pennywort (Centella asiatica L.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวประนอม ใจอ้าย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประนอม ใจอ้าย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): L.
บทคัดย่อ: เทคโนโลยีการผลิตบัวบก ประกอบด้วยการคัดเลือกพันธุ์บัวบกที่ให้ผลผลิตและสารสำคัญสูง ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง วางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 3 ซ้ำ มี 8 กรรมวิธี ได้แก่ พันธุ์บัวบกจำนวน 8 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ระยอง เพชรบุรี จันทบุรี พะเยา ตราด นครปฐม เชียงราย และ ราชบุรี ในโรงเรือนพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ บันทึกการเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตอายุ 80-85 วัน ส่งตัวอย่างบัวบกวิเคราะห์สารสำคัญ การศึกษาการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และโรคโคนเน่าบัวบก โดยการใช้เชื้อรา Trichoderma harzianum เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis น้ำหมักชีวภาพร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ทั้ง 2 ชนิด และสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เปรียบเทียบกับการไม่ใส่กรรมวิธี และทำการการทดสอบในสภาพแปลงของเกษตรกร ที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนครปฐม โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ได้แก่ การฉีดพ่นไคโตซาน เชื้อปฏิปักษ์ Trichoderma harzianum น้ำหมักชีวภาพ เชื้อราปฏิปักษ์ Baciilus subtilis และฉีดพ่นน้ำเปล่า บันทึกการเกิดโรค และข้อมูลการเจริญเติบโต และศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูบัวบกโดยใช้สารธรรมชาติ วางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ ฉีดพ่นสารสกัดสะเดา สารสกัดหนอนตายอยาก สารสกัดตะไคร้หอม สารไคโตซาน น้ำส้มควันไม้ สารปิโตรเลี่ยมสเปรย์ออยล์ และไม่พ่นสารป้องกันกำจัดแมลง สำรวจแมลงศัตรูบัวบกและศัตรูชนิดอื่นๆ ก่อนฉีดพ่นสารธรรมชาติตามกรรมวิธี 1 วัน และหลังฉีดพ่นสาร 3 และ 5 วัน ทำการฉีดพ่นสารตามกรรมวิธีทุก 15 วัน เก็บเกี่ยวบัวบกเมื่ออายุ 85 วัน บันทึก ลักษณะอาการที่ถูกแมลงเข้าทำลาย ข้อมูลผลผลิต สุ่มเก็บตัวอย่างบัวบกสด ส่งตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ E. และส่งตัวอย่างบัวบกแห้งวิเคราะห์โลหะหนัก และทดสอบการป้องกันกำจัดแมลง 2 วิธี คือ วิธีของเกษตรกรไม่ได้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง และวิธีทดสอบป้องกันกำจัดแมลงโดยวิธีผสมผสาน ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตบัวบกสดต่อไร่เฉลี่ย 800-1,789 กิโลกรัมต่อไร่ โดยพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากที่สุด คือ สายพันธุ์พันธุ์ตราด รองลงมา ได้แก่ เชียงราย พะเยา เพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี ระยอง จันทบุรี ตามลำดับ สายพันธุ์ที่มีปริมาณสาร Asiaticcoside สูงที่สุด คือ ระยอง มีสาร Asiaticcoside เฉลี่ย 0.59 % ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสมุนไพรไทยที่ระบุไว้ไม่ต่ำกว่า 0.5% รองลงมา ได้แก่ สายพันธุ์พะเยา ราชบุรี ตราด เชียงราย เพชรบุรี จันทบุรี นครปฐม และเลย ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคใบจุดไหม้ พบว่า การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 16.71 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ การใช้เชื้อ Bacillus subtilis, กรรมวิธีควบคุม และน้ำหมักชีวภาพ มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเฉลี่ย 17.86, 27.28 และ 28.58 เปอร์เซ็นต์ ศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูบัวบกโดยใช้สาร พบว่าแปลงบัวบกที่มีการควบคุมแมลงศัตรูบัวบกด้วยการฉีดพ่นสารสกัดสะเดา น้ำส้มควันไม้ สารสกัดหนอนตายอยาก สารสกัดตะไคร้หอม สารไคโตซาน สารปิโตรเลี่ยมสเปรย์ออยล์ ทุก 2 สัปดาห์ และแปลงที่ไม่มีการฉีดพ่นสารดังกล่าว ให้ผลในการควบคุมไม่แตกต่างกัน และการปลูกบัวบกในแปลงเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแพร่ ไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ในช่วงฤดูหนาวมีแมลงศัตรูบัวบกน้อยกว่า ในช่วงฤดูฝนพบหนอนกระทู้ผัก เพลี้ยกระโดด การป้องกันกำจัดโดยใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ และฉีดพ่นน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์วันละ 2 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง ในตอนเช้าและตอนเย็น ช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูบัวบกได้ หากพบเริ่มมีการระบาดฉีดพ่นสารสะเดา ปริมาณแมลงทั้ง 2 ชนิดลดลง เฉลี่ย 36.50-54.22 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): ืn/a
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งและเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก