สืบค้นงานวิจัย
การใช้จุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเค็มในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
สุดสงวน เทียมไธสงค์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้จุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเค็มในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
ชื่อเรื่อง (EN): The use of microorganisms to nutrients and plant hormones with organic materials to to in improvement saline soil with Khao Dawk Mali 105.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุดสงวน เทียมไธสงค์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยการใช้จุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเค็มในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ105 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุอินทรีย์ในท้องถิ่นในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ105 เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและลดต้นทุนการผลิต โดยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ดำเนินการในปีงบประมาณ 2559 - 2560 โดยวางแผนกรทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลองดังนี้ ตำรับที่ ๑ แปลงควบคุม (ไม่ใส่ปัจจัย) ตำรับที่ ๒ ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับที่ ๓ ปุ๋ยชีวภาพ พด.๑๒ ขยายเชื้ออัตรา ๓๐๐กิโลกรัม/ไร่ ตำรับที่ ๔ ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับแกลบ ตำรับที่ ๕ ปุ๋ยชีวภาพ พด.๑๒ ร่วมกับแกลบ ตำรับที่ ๖ ปุ๋ยชีวภาพ พด.๑๒ ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน อัตรา ๓/๔ ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย 2 ฤดูกาลเพาะปลูก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในตำรับการทดลองที่ 6 ให้ความสูงของต้นข้าวสูงที่สุด คือ 94.6 เซนติเมตร ในด้านผลผลิตข้าว พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยในตำรับที่6 และตำรับการทดลองที่2 ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 2 ฤดูกาลเพาะปลูก สูงสุดคือ 1,010.0 และ 940.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ด้านองค์ประกอบผลผลิตข้าว พบว่าลักษณะจำนวนเมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 2 ฤดูกาลเพาะปลูก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในตำรับการทดลองที่3 ตำรับการทดลองที่ 5 และตำรับการทดลองที6 ให้จำนวนเมล็ดดีต่อรวงสูงสุดคือ 120.2 110.7 และ 105.4 เมล็ดต่อรวง ตามลำดับ ส่วนลักษณะเมล็ดลีบต่อรวง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าในตำรับการทดลองที่6 มีลักษณะจำนวนเมล็ดลีบต่อรวงน้อยที่สุดคือ 9..93 เมล็ดต่อรวง
บทคัดย่อ (EN): This study was to investigate the effect of microbes produce plant nutrition, plant growth hormones and combination with use of organic amendment on saline paddy soil to growing rice. The objective of this study was to inspect the effect of organic materials locally available through their application to a saline paddy soil, growing Oryza sativa L. (Khao Dawk Mali 105) to increase rice yield, expansion economic returns and reduction of production costs. And reducing chemical fertilizers, change to use organic amendment high qualities. Experimental design was a RCBD design, in 2016 to 2017. There were six treatments of 1) control (no additions), 2) site-specific fertilizer management, 3) applied bio-fertilizer LDD-12 at rate 300 kg./rai, 4) site-specific fertilizer management with added husk, 5) applied bio-fertilizer LDD-12 with husk and 6) applied bio-fertilizer LDD-12 and site-specific fertilizer management at rate 3/4. On two crop average, the results suggest that the treatment with applied bio-fertilizer LDD-12 and site-specific fertilizer management at rate 3/4 gave the highest average growth higher (94.6 cm.) had significantly. Rice yield, the treatment with applied bio-fertilizer LDD-12 and site-specific fertilizer management at rate 3/4 had yield (1,010 kg/rai) followed by site-specific fertilizer management (940 kg/rai). Yield components, filled grains; treatment with applied bio-fertilizer LDD-12 gave 120.2 filled grains/panicle followed by applied bio-fertilizer LDD-12 with husk gave 110.7 filled grains/panicle and applied bio-fertilizer LDD-12 and site-specific fertilizer management at rate 3/4 gave 105.4 filled grains/panicle. Unfilled grains; all treatment have non significant, in applied bio-fertilizer LDD-12 and site-specific fertilizer management at rate 3/4 gave unfilled grains/panicle is lower 9.93 unfilled grains/panicle.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้จุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเค็มในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
การตอบสนองของความหอมและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในชุดดินบางชุดดินในทุ่งกุลาร้องไห้ การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ทดสอบการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม ทำให้ข้าวขาวดอกมะลิทนดินเค็ม การจัดการพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อการปลูกจากร่วมกับข้าว ผลการใช้ปลายข้าวหอมนิล และปลายข้าวก่ำเป็นแหล่งพลังงานในอาหารต่อจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ และมูลของสุกรหลังหย่านม ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม ความก้าวหน้าการผนวกยีนความต้านทานโรคไหม้ ดินเค็ม และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก