สืบค้นงานวิจัย
ทดสอบการควบคุมวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเลี้ยงแกะในเขตภาคใต้ตอนบน
จรินทร์ การะนัด - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ทดสอบการควบคุมวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเลี้ยงแกะในเขตภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Trials on Weed Control of Rubber by Sheep Raising in the Upper Southern Region of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรินทร์ การะนัด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบเลี้ยงแกะในสวนยาง เพื่อควบคุมวัชพืชและเสริมรายได้ให้แก่เจ้าของสวนยางดำเนินการที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะเวลาดำเนินการปี 2535-2539 โดยเริ่มเลี้ยงแกะจำนวน 58 ตัว เป็นเพศเมีย 54 ตัว เพศผู้ 4 ตัว เลี้ยงแกะโดยปล่อยให้เข้าแทะเล็มวัชพืชในสวนยางก่อนเปิดกรีด (ยางอายุ 6 ปี) และสวนยางหลังเปิดกรีด (ยางอายุ 13 ปี) ในอัตรา 2 ตัวต่อไร่ โดยให้อาหารข้นวันละครั้ง ผลปรากฏว่าแกะสามารถควบคุมวัชพืชในสวนยางก่อนเปิดกรีดได้ ร้อยละ 38.2 และสวนยางหลังเปิดกรีดร้อยละ 37.6 ในสวนยางก่อนเปิดกรีด แกะสามารถกินวัชพืชได้เกือบทุกชนิด ส่วนในสวนยางหลังเปิดกรีดจะมีปริมาณหญ้ามาเลเซียมากที่สุด รองมาคือหญ้าใบไผ่และพืชคลุมดินตระกูลถั่ว แกะไม่กินหญ้ามาเลเซีย ซึ่งขึ้นอยู่ภายใต้ร่มเงาในสวนยาง จะเลือกกินเฉพาะหญ้าใบไผ่และพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ในสวนยางหลังเปิดกรีด จึงมีปริมาณวัชพืชไม่เพียงพอต้องตัดหญ้าเสริมให้แกะกิน ในระยะเวลาการเลี้ยงแกะ 3 ปีมีแกะเกิดใหม่จำนวน 99 ตัว แกะตายจำนวน 82 ตัว จากการผ่าพิสูจน์ซากแกะของศูนย์วิจัยฯและควบคุมโรคสัตว์นครศรีธรรมราช พบว่าเกิดจากแกะเป็นดีซ่าน ซึ่งสันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดจากวัชพืชบางชนิดที่แกะกินเข้าไป ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงแกะซึ่งเป็นค่าอาหารข้น เกลือแร่และยาป้องกันรักษาโรคเป็นเงินเฉลี่ย 144.39 บาทต่อตัวต่อปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทดสอบการควบคุมวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเลี้ยงแกะในเขตภาคใต้ตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้ การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน สำรวจโรคและศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจในสวนยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รูปแบบและการจัดการเลี้ยงโคเนื้อในสวนยางเพื่อเสริมรายได้ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจันทร์เทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การควบคุมวัชพืชในสวนส้มโอภาคตะวันตก เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็กในเขตภาคใต้ตอนบน การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก