สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการผลิตโปรตีน VP35, viral-IAP ของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว โปรตีน PPAF และ shrimp-IAP ของกุ้งโดยใช้ E.coli (ระยะที่ 2)
พงค์ศักดิ์ ขุนแร่ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการผลิตโปรตีน VP35, viral-IAP ของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว โปรตีน PPAF และ shrimp-IAP ของกุ้งโดยใช้ E.coli (ระยะที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): The production of VP35 and viral-IAP of white spot virus, PPAF and shrimp-IAP of shrimp by using E. coli expression system (phase 2)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงค์ศักดิ์ ขุนแร่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): PONGSAK KHUNRAE
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: ไวรัสตัวแดงดวงขาว
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การระบาดของโรคในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง เช่น โรคตัวแดงดวงขาว โรคไวรัสหัวเหลือง โรคขี้ขาว และโรคตายด่วนในกุ้ง (EMS) ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติราคากุ้งตกต่ำและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงทำให้ทางคณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะแสวงหาแนวทางในการป้องกันโรคระบาดในกุ้ง โดยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกระบวนการ apoptosis ในกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่อาจสามารถลดการติดโรคในกุ้งได้ อีกทั้งจากงานวิจัยก่อนหน้ายังได้มีการค้นพบว่าโปรตีน HtrA2 (High temperature requirement protein A2) โปรตีน PmIAP (Penaeus monodon inhibitor of apoptosis protein) และโปรตีน Pm caspase ในกุ้งกุลาดำ เป็นโปรตีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ apoptosis แบบ caspase-dependent pathway แต่อย่างไรก็ตาม ความเกี่ยวข้องระหว่างโปรตีนเหล่านี้ในการควบคุมกระบวนการ apoptosis ในกุ้งกุลาดำ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการจะศึกษาและยืนยันการเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน PmHtrA2 และ PmIAP ของกุ้งกุลาดำ โดยจากการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน PmHtrA2 และ PmIAP (Bir2 หรือ Bir3 domain) ด้วยเทคนิค Surface plasmon resonance (SPR) พบว่า ค่า Response unit (RU) ของ PmIAP Bir3 มีค่าสูงสุดคือ 85.7 RU ในขณะที่ PmIAP Bir2 มีค่าการตอบสนองเพียง 12.5 RU ซึ่งจากผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่า โปรตีน PmIAP Bir3 สามารถเกิดปฏิสัมพันธ์กับโปรตีน PmHtrA2 ได้ดีกว่าโปรตีน PmIAP BIR2 นอกจากนี้จากการศึกษาหน้าที่ของโปรตีน PmIAP ในการยับยั้งเอนไซม์ Caspase พบว่า Bir3 สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Caspase ได้ดีกว่า Bir2 โดยเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ Bir3 จะส่งผลให้กิจกรรมของเอนไซม์ Caspase ลดต่ำลงแบบ dose-dependent และจากการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน PmHtrA2 และ PmIAP Bir3 ต่อการทำงานของเอนไซม์ Caspase พบว่าโปรตีน HtrA2 สามารถเกิดปฏิสัมพันธ์กับ Bir3 แล้วส่งผลให้เอนไซม์ Caspase สามารถกลับมาทำงานได้ดีขึ้นตามปริมาณ HtrA2 ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจากผลการทดลองทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นสามารถยืนยันได้ว่า โปรตีน PmIAP สามารถเกิดปฏิสัมพันธ์กับโปรตีน PmHtrA2 ได้ โดยใช้ Bir3 domain ในการเข้าจับกับส่วนของ IAP-binding motif (IBM) ของโปรตีน PmHtrA2 และจากองค์ความรู้ที่ได้นี้อาจสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการหรือยารักษาที่สามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ apoptosis ได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม อันนำไปสู่แนวทางในการป้องกันโรคระบาดในกุ้งต่อไปได้ในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 500,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการผลิตโปรตีน VP35, viral-IAP ของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว โปรตีน PPAF และ shrimp-IAP ของกุ้งโดยใช้ E.coli (ระยะที่ 2)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2556
โปรตีนจากแมลงทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค บทบาทของ HtrA2 serine protease ต่อการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้ง (ระยะที่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (White spot syndrome virus, WSSV) กับการถ่ายทอดโรคในกุ้งกุลาดำโดยใช้เทคนิค real time PCR การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในกุ้งที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) ด้วยเทคนิค RNA Interference (ระยะที่ 2) การพัฒนาชุดตรวจ strip test ต่อโปรตีน ICP11 ของไวรัสตัวแดงดวงขาว การเพิ่มระดับของโปรตีนของมันสำ ปะหลังโดยใช้ยีสต์ในกระบวนการหมัก การเพิ่มศักยภาพการขนส่ง shRNA ด้วยเปปไทด์ เพื่อใช้ในการป้องกันโรคตัวแดงดวงขาวในกุ้ง การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การพัฒนาชุดตรวจ dual strip test สำหรับไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว (WSSV) และไวรัสโรคหัวเหลือง (YHV) ศึกษาสารคงตัวที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่าง Escherichia coli ในกุ้งที่ใช้สำหรับทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก