สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการใช้กากสลัดปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี
ยุทธนา สว่างอารมย์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการใช้กากสลัดปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี
ชื่อเรื่อง (EN): The study of palm oil sludge as feedstuff for tilapia (Oreochromis niloticus)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุทธนา สว่างอารมย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: แปรรูป กากสลัดปาล์ม วัตถุดิบอาหาร อาหารปลา และปลานิลทนเค็ม
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การศึกษาการใช้กากสลัดปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี” แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร โดยมี นายยุทธนา สว่างอารมณ์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการแปรรูปเพื่อยืดอายุและศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของกากสลัดปาล์มเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการย่อยได้ของสารอาหาร เมื่อใช้กากสลัดปาล์มในสูตรอาหารที่ระดับต่างๆ กัน และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตราการอดตาย อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ผลผลิตสุทธิ ต้นทุนการผลิต ความเป็นพิษของกากสลัดปาล์มและสุขภาพของปลานิลทนเค็ม และการยอมรับผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคของปลานิลทนเค็มที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารที่มีส่วนผสมของกากสลัดปาล์มในปริมาณแตกต่างๆ กัน จากการศึกษาวิจัย พบว่า ผลการศึกษาการใช้กากสลัดจ์ปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี มีดังนี้ 1. ด้านแนวทางในการเก็บรักษา พบว่า ควรเก็บรักษากากสลัดจ์ปาล์มที่ได้จากโรงงานแปรรูปปาล์มน้ำมันในถุงพลาสติกโดยมัดปากถุงให้แน่นแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (สำหรับเกษตรกร) หรืออัดเป็นเม็ดแล้วนำไปลดความชื้นโดยการตากแดดทำให้การจัดการ มีความง่าย และสะดวกมากขึ้น (สำหรับพัฒนาต่อในระดับอุตสาหกรรม) โดยการเก็บรักษาทั้ง 2 แบบ ทำให้กากสลัดจ์ปาล์มไม่เกิดเชื้อราและตัวอ่อนแมลงในช่วง 30 วัน 2. ด้านประสิทธิภาพการย่อยสารอาหารของปลานิลทนเค็มฯ ขนาด 25-100 กรัม พบว่า มูลปลานิลทนเค็มฯ ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารปลานิลสำเร็จรูป และอาหารที่มีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม) 10 20 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารที่มีระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ และแต่ละสูตรมีพลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน ไขมัน NFE และพลังงานรวมทั้งหมดมีค่าลดลง ส่วนปริมาณความชื้น เยื่อใย และเถ้า กลับพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนปลานิลทนเค็มฯ ขนาด 100 กรัมขึ้นไป พบว่า มูลปลานิลทนเค็มฯ ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารปลานิลสำเร็จรูป และอาหารที่มีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม) 10 20 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารมีปริมาณโปรตีน ไขมัน และพลังงานรวมทั้งหมดมีค่าลดลง แต่ปริมาณ NFE มีเพียงมูลปลานิลทนเค็มฯ ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารปลานิลสำเร็จรูปเท่านั้นที่มีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณเยื่อใย และเถ้าที่พบในมูลปลานิลทนเค็มฯ ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม) 10 20 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารกลับพบว่า มีค่าเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณความชื้นมีเพียงมูลปลานิลทนเค็มฯ ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารปลานิลสำเร็จรูปเท่านั้นที่มีค่าลดลง สรุปคือสูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานีขนาด 25-100 กรัม และ 100 กรัมขึ้นไป สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยสารอาหาร 3. ด้านความคงทนของอาหารในน้ำ ดังนี้ 1) ลักษณะทางกายภาพ พบว่า อาหารปลานิลสำเร็จรูปที่วางขายในท้องตลาดทั้งที่ระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ และ 25 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม เท่ากันที่เวลา 120 นาที อาหารยังสามารถเกาะตัวคงรูปอยู่ได้ และมีค่าความยาวที่เพิ่มขึ้นมีค่าน้อยสุด เท่ากับ 46.33±6.21 และ 38.00±2.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม และสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม ที่เวลา 120 นาที อาหารยังสามารถเกาะตัวคงรูปอยู่ได้ แต่มีขนาดความยาวเพิ่มขึ้น โดยสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม มีค่าเท่ากับ 44.00±13.54 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับอาหารปลานิลสำเร็จรูป (p>0.05) แต่สูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม มีค่าเท่ากับ 61.48±10.83 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอาหารปลานิลสำเร็จรูป (p<0.05) และ 2) การสูญเสียน้ำหนัก พบว่า ที่ระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม ที่เวลา 120 นาที อาหารปลานิลสำเร็จรูปมีการสูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด เท่ากับ 22.56±2.00 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 25.86±0.07 และ 22.80±1.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (p>0.05) ส่วนที่ระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม กลับพบว่า สูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ มีการสูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด เท่ากับ 16.54±3.34 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับทุกชุดการทดลอง (p>0.05) สรุปว่าในสูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อาหารมีความคงทนในน้ำได้ดีและมีการสูญเสียน้ำหนักน้อยสุด 4. ด้านการเจริญเติบโต ผลผลิต และต้นทุนการผลิต พบว่า สูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ปลานิลทนเค็มฯ มี น้ำหนักตัวเฉลี่ยสุดท้าย ความยาวตัวเฉลี่ยสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโต ผลผลิตปลาสุทธิ มีค่าสูงสุด เท่ากับ 574.44±51.97 กรัม 29.12±0.56 เซนติเมตร 3.17±0.36 กรัมต่อวัน และ 48.77±6.54 กิโลกรัมต่อถัง ตามลำดับ แต่มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีค่าต่ำสุด เท่ากับ 1.22±0.15 โดยทั้งน้ำหนักตัวเฉลี่ยสุดท้ายและอัตราการเจริญเติบโตที่ให้ผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งมีค่าเท่ากับ 410.00±29.20 กรัม และ 2.56±0.20 กรัมต่อวัน ตามลำดับ (p0.05) และอัตราการเปลี่ยน อาหารเป็นเนื้อให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 20 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.52±0.19 1.26±0.06 และ 1.46±0.21 ตามลำดับ (p>0.05) และผลผลิตปลาสุทธิให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเพียงสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นซึ่งมีค่า เท่ากับ 40.84±1.93 กิโลกรัมต่อถัง (p>0.05) ส่วนอัตราการรอดตาย พบว่า สูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 20 เปอร์เซ็นต์มีค่าสูงสุดเท่ากับ 96.67±5.77 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับทุกชุดการทดลอง (p>0.05) และสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 30 เปอร์เซ็นต์มีต้นทุนค่าอาหารต่อหน่วยผลผลิต มีค่าต่ำสุด เท่ากับ 19.14±0.84 บาทต่อน้ำหนักปลานิล 1 กิโลกรัม ส่วนสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์มีต้นทุนค่าอาหารทั้งหมดมีค่าต่ำสุด เท่ากับ 817.73±0.00 บาทต่อถัง สรุปว่าในสูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่เหมาะสมควรเลือกใช้ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ 5. ด้านสุขภาพปลานิลทนเค็มฯ พบว่า สูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 10 เปอร์เซ็นต์ มี Red blood cell มี ค่าสูงสุด เท่ากับ 2.26±0.21 x106 cell/µl ส่วนสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 20 เปอร์เซ็นต์มีค่า Haematocrit สูงสุด เท่ากับ 32.07±6.88 เปอร์เซ็นต์ โดยทั้งค่า Red blood cell และ Haematocrit ต่างให้ผลไม่แตกต่างกัน ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับทุกชุดการทดลอง (p>0.05) ส่วนดัชนีตับมีค่าสูงสุดในสูตรอาหารปลานิลสำเร็จรูปซึ่งมี ค่าเท่ากับ 2.21±0.42 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเพียงสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.66±0.43 เปอร์เซ็นต์ (p>0.05) สรุปว่าในสูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูง ถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (ค่า Red blood cell, ค่า Haematocrit และดัชนีตับ) ของปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี 6. ด้านความพึงพอใจ (กลิ่นคาว ความนุ่ม รสชาติ และความพอใจโดยรวม) ของผู้บริโภค พบว่า ปลานิลทนเค็มฯ ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 30 เปอร์เซ็นต์มีคะแนนด้านกลิ่นคาวน้อยสุด เท่ากับ 1.11±0.32 คะแนน และให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 0 10 20 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.39±0.70 1.50±0.79 1.28±0.57 และ 1.22±0.55 คะแนน ตามลำดับ (p>0.05) และมีคะแนนด้านรสชาติและด้านความพอใจโดยรวมมีค่าสูงสุด เท่ากับ 2.72±0.46และ 2.67±0.49 คะแนน ตามลำดับ โดยมีคะแนนด้านรสชาติที่ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเพียงสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 20 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.33±0.59 คะแนน (p>0.05) ส่วนคะแนนด้านความพอใจโดยรวมให้ผลไม่แตกต่างกัน ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 0 (ชุดควบคุม) 10 20 และ 50 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีค่า เท่ากับ 2.33±0.49 2.28±0.46 2.39±0.50 และ 2.39±0.61 คะแนน (p>0.05) ส่วนด้านความนุ่มนั้นกลับพบว่า สูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์มีค่าสูงสุดเท่ากับ 2.61±0.50 คะแนน และให้ผลไม่แตกต่างกันทาง สถิติอย่างมีนัยสำคัญกับสูตรอาหารที่มีกากสลัดจ์ปาล์ม 30 เปอร์เซ็นต์และปลานิลแดงจากท้องตลาด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.39±0.50 และ 2.33±0.59 คะแนน ตามลำดับ (p>0.05) สรุปว่าในสูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูง ถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจ (กลิ่นคาว ความนุ่ม และความพอใจโดยรวม) ของผู้บริโภค แต่ส่งผลต่อความพึงพอใจในด้านรสชาติที่ดีขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ดังนี้ 1.สูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานีทั้งขนาด 25-100 กรัม และ 100 กรัมขึ้นไป สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยสารอาหาร 2.สูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์ม 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อาหารมีความคงทนในน้ำได้ดีและมีการสูญเสียน้ำหนักน้อยสุด 3.สูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่เหมาะสมควรเลือกใช้ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ 4.สูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูง ถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (ค่า Red blood cell, ค่า Haematocrit และดัชนีตับ) ของปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี 5.สูตรอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี สามารถมีส่วนผสมของกากสลัดจ์ปาล์มได้สูง ถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจ (กลิ่นคาว ความนุ่ม และความพอใจโดยรวม) ของผู้บริโภค แต่ส่งผลต่อความพึงพอใจในด้านรสชาติที่ดีขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-07-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการใช้กากสลัดปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
4 กรกฎาคม 2558
การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต การใช้กากสลัดปาล์มเป็นวัตถุดิบในอาหารปลาดุกลูกผสม การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลทนเค็ม การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลทนเค็มโดยวิธีการผสมข้ามแบบเหนี่ยวนำกับปลาหมอเทศ การศึกษาประสิทธิภาพสารดูดซับสารพิษอะฟลาท็อกซินจากแหล่งดิน ในประเทศไทยในอาหารปลานิล การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก