สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
สุมาลี ดียิ่ง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุมาลี ดียิ่ง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรต ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ความต้องการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ และความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจด้านการผลิตสินค้า การตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 80 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 42.21 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.45 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.66 คน เป็นสมาชิกเฉลี่ย 12.74 ปี และมีจำนวนหุ้นในกลุ่ม คนละ 2.46 หุ้น มูลค่าเฉลี่ย 59.25 บาท รายได้ของครอบครัว 3,035.00 บาท และรายจ่ายของครอบครัว 2,215.00 บาท กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน เฉลี่ย 6,236.75 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้จากกิจกรรมผลิตภัณฑ์การแปรรูป คนละเฉลี่ย 132.26 บาท และไม่มีการจัดสรรผลประโยชน์จากกลุ่ม ข้อคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ในประเด็นความรู้ความเข้าใจในร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนทำให้กลุ่มได้รับประโยชน์ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนระดับปฐมภูมิ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนระดับสูง การส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้าน ในระดับปานกลาง มีความต้องการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารบริโภคสด คือ ปลานิล ประเภทอาหารแปรรูป ได้แก่ ข้าวสารหอมมะลิปลอดภัยจากสารพิษ น้ำพริกปลาร้า ไข่ เค็มในน้ำเกลือ ข้าวเกรียบผสมฟักทอง ประเภทเครื่องดื่ม ได้แก่ สุราแช่ ชาใบหม่อน ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย ได้แก่ ผ้าไหมสีธรรมชาติมัดหมี่ ผ้าไหมสีเคมีมัดหมี่ ต้องการผลิตผ้าขาวม้า และผ้าถักไหมพรม ประเภทเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน/สำนักงาน ได้แก่ ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าไหมและเกล็ดปลา ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก ได้แก่ กระเป๋าผ้า ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา ได้แก่ แชมพูสมุนไพรจากดอกอัญชัน/ว่านหางจระเข้ สบู่จากขมิ้น/มะขาม ครีมขัดหน้าจากขมิ้น และน้ำมันหอมระเหยจากพิมเสน และน้ำยาซักผ้า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตสินค้า การตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานของกลุ่ม คือ ราชการควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินงานของกลุ่ม ส่งเสริมและสนับสนุนให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องและให้ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก