สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสตรีในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยงในชุมชน
อุบลวรรณ สุภาแสน - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสตรีในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยงในชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): The development of women's participation on the products to promote tourism in the community
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุบลวรรณ สุภาแสน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ubonwan Suphasaen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Paweena Chatsungnoen
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการและศักยภาพของสตรีในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน รวมทั้งเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของสตรีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟื้นบ้านเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวในชุมชน และประเมินผล โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การศึกษาและ วิเคราะห์ชุมขชน การดำเนินการ และการประเมินผล สำหรับพื้นที่ในการดำเนินการวิจัยคือชุมชน บ้านเมืองกี้ด ตำบลกี้ดช้าง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มสตรีที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 72 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ สตรีที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและมีรายได้ต่ำกว่า4,00 1บาทต่อเดือน โดยรับทราบข่าวสารของโครงการวิจัยจากการประชาสัมพันธ์ของชุมธน จากญาติหรือเพื่อนบ้าน จากคณะผู้วิจัย และจากผู้นำสตรี ตามลำดับ และส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการเนื่องจาก ต้องการมีรายได้เสริม และต้องการมีความรู้ด้านวิซาชีพ โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่ม สตรี ได้แก่ภาวะผู้นำ และการบรรลุผลสำเร็จของเป้าหมาย กลุ่มสตรีได้นำเสนอผลิตภัณฑ์จากไม่ไผ่ มูลช้างและ ผ้าทอ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนในเบื้องต้น และได้คัดเลือกโดยการใช้เทคนิค SWOT Analysis และการศึกษาดูงานการผลิต และการตลาดยังแหล่งผลิตจริง ในที่สุดจึงได้ตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์จากไมไผ่เป็นผลิตภัณฑ์ของ ชุมชน และได้ดำเนินฝึกอบรมกระบวนการผลิตกระบวนการกลุ่มและช่องทางการตลาด ตลอดจน นำสินค้าที่ผลิตไปทดลองจำหน่าย ณ ศูนย์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง ทำให้กลุ่มสตรีทราบถึงความต้องการและแนวโน้มของตลาดผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน และยังสะท้อนให้ เห็นจุดเด่น จุดต้อย ของผลิตภัณฑ์ในเขิงเปรียบเทียบ รวมทั้งยังได้รับประสบการณ์ในการดำเนิน ธุรกิจชุมชนอย่างเป็นระบบ การประเมินผลแบ่งเป็น 2 ส่วนคือการประเมินผลการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรีและการ . ประเมินผลผลิตภัณฑ์ ด้านการประเมินผลการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรี พบว่าเข้าร่วมในขั้นตอน ปฏิบัติ และขั้นตอนการคิตและวางแผนสูงกว่าขั้นตอนอื่น สวนการเข้าร่วมขั้นตอนการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง โดยภาพรวมกลุ่มสตรีเข้าร่วมกิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านอยู่ใน ระดับค่อนข้างสูง ในด้านการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มสตรีเมื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการ เสริมสร้างผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน พบว่ามีการแสดงความคิดเห็นระดับสูงในขั้นตอนการประเมินผล การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ การฝึกอบรมผลิตภัณฑ์ และการศึกษาดูงาน โดยเฉลี่ย การแสดงความ คิดเห็นของกลุ่มสตรีเมื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน อยู่ในระดับสูง สำหรับการประเมินผลิตภัณฑ์พื้นบ้านพบว่ากลุ่มสตรีเห็นว่าผลิตภัณฑ์ตอบสนองต่อ การท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูง มีโอกาสเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างยั่งยืน เหมาะสมเป็น ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และมีความสวัชงาม อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนประเด็นแสดงออกถึง เอกลักษณ์ของชุมชน และด้านความคิดสร้างสรรค์ ถือว่าอยู่ในดับป่านกลาง โดยเฉลี่ยการ ประเมินผลของกลุ่มสตรีที่มีต่อผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของชุมชน จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของสตรีในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ พื้นบ้าน ได้แก่การขาดแหล่งเงินทุน ขาดระบบการจัดการกลุ่ม การแบ่งปันรายใด้ที่ไม่แน่นอน และการขาดตลาดรองรับ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research is to study the problem, need and potential of men to develop native products. including the development of women's p on the products to promote tourism in the community and evaluation. The process of rative operative research is used as the tool of research. The proces ee steps. Those are study and analyze community, process, and eva area for research process is Ban Maung Geud community, Geud Chang district, Chiang Mai province. There 're 72 volunteers joined this research project. The result of research is mentioned below. of women who joined the project are farmer and has incon 4,001 Bath per month. They acknowledge the news of research project from community's announcement, cousins, neighbors, group of researchers, and women's leader accordingly. Most of them altend the project for additional income and vocational knowledge. The key factors that influence the women's success are leadership and goal achievement. The women group has presented products made from bamboo, elephant's feces, and woven clothes to be community's products basically. The products are selected using SWOT analysis, tour of inspection and marketing at the real source. Finally, bamboo product is selected as community's product. The researcher has trained duction process, group pracess, and marketing inciude selling products at Department of Industrial promotion Chiang Mai. This 'makes the women group know the need and tendency of native product market and feedback about strength and weakness of the product comparatively. In addition, they also receive experience in running community's business systematically. About an evaluation, it is separate into two parts. The first part is the evalualion of women's participalion. It is found that the step of practice and planning is higher than the other step. The evaluation is at moderate level. Summarily, women group attended the activity for develop native products is rather high. About opinion of women's group when attended native product development, it is found that there are opinions at the high level in evaluation stage, product selection, product training, and trip for inspection. The average of women's opinion is quite high when attend the product development. About the evaluation of native products, it is found that women group believe that product meet the high level of need. Community's unique and creativity is at moderate level. In average, the evaluation of women group to native products is quite e probler and obstruction of women's participation in de products are lack of fund, lack of group management, varied of income, and lack of market
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะบริหารธุรกิจ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-47-011.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 359,600
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/ubonwan_yoosuk_2551/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2547
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสตรีในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยงในชุมชน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม: ศักยภาพในการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนบ้านโปง จ.เชียงใหม่ พัฒนาการท่องเที่ยวชมกล้วยไม้ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาค้อแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเล่ากี่ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนลุ่มน้ำแม่ยางหลวง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ การวิจัยและพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีน  ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ การสรรหาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยและพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน แนวทางการพัฒนาชุมชนตลาด : กรณีศึกษาชุมชนตลาดริมน้ำ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก