สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพอวนล้อมติดตาบริเวณจังหวัดจันทบุรี
ธนัช ศรีคุ้ม, ภิญโญ ประสารยา, นรากร สมวรรณ์ธนา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพอวนล้อมติดตาบริเวณจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Efficiency of Encircling Gill Net in Chanthaburi Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาประสิทธิภาพอวนล้อมติดตาบริเวณจังหวัดจันทบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเมษายน 2559 พบว่า เรืออวนล?อมติดตามีขนาดความยาว 7.50-10.00 เมตร เครื่องยนต์ 85-160 แรงม้า จํานวนลูกเรือ 3-4 คน ผืนอวนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้ออวนเป็นอวนเอ็น ความยาววงอวน 500 เมตร ความลึกอวน 300-500 ตา ไม่มีสายมาน ขนาดตาอวน 21 25 และ28 มิลลิเมตร โดยใช้สลับกันไปตามความชุกชุมของสัตว์น้ําเป้าหมาย ทําการประมงทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยการวางอวนล้อมรอบฝูงปลาแล้วทําให้ฝูงปลาตกใจว่ายชนอวน จะนําสัตว์น้ําขึ้นมาปลดบนฝั่ง ส่วนใหญ่วางอวน 1 เที่ยว/วัน ทําการประมงบริเวณปากแม่น้ำประแสร์ไปจนถึงหน้าชายหาดคุ้งวิมาน ส่วนมากทําการประมงในเขต 5,400 เมตร ที่ระดับความลึก 2-15 เมตร ช่วงที่จับสัตว์น้ำได้มาก คือช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน การลงแรงประมง 20-25 วัน/เดือน จากนั้นในช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายนสัตว์น้ําจะลดน้อยลง การลงแรงประมงลดลงเหลือ 7-10 วัน/เดือน เครื่องมืออวนล้อมติดขนาดตา 21 25 และ28 มิลลิเมตร มีอัตราการจับสัตว์น้ําเฉลี่ยเท่ากับ 90.409 83.855 และ59.422 กิโลกรัม/อวน 100 เมตร สัตว์น้ําที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปลาเกล็ดขาว (Escualosa thoracata) ร้อยละ99.885 และปลาหลังเขียว (Sardinella gibbosa) ร้อยละ 96.862 และ 99.968 ตามลําดับ ขนาดความยาวแรกจับ (Lc) ของปลาเกล็ดขาวที่ขนาดตาอวน 21 มิลลิเมตร เท่ากับ 8.155 เซนติเมตร และปลาหลังเขียวที่ขนาดตาอวน 21 25 และ28 มิลลิเมตร เท่ากับ 9.359 11.116 และ11.958 เซนติเมตร ตามลําดับ ซึ่งมีค่าน้อยกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ ประมาณค่าขนาดตาอวนที่เหมาะสมโดยใช้ฐานข้อมูลความยาวของปลาหลังเขียวที่จับได้จากอวนขนาดตา 21 25 และ28 มิลลิเมตร เท่ากับ 29.14 เซนติเมตร
บทคัดย่อ (EN): Study on efficiency of encircling gill net in Chanthaburi province during October 2015 to April 2016. The results found that the encircling gill net fishing boat ranges as 7.50-10.00 m length motorized 85-160 horse power with 3-5 crews on board. The net was rectangular nylon monofilament without purse line, 500 m in length and 300-500 meshes in net-depth. The net mesh sizes 21 25 and28 mm according to target species; therefore, the net based on target species. Fishing operation was both day and night. The fish school was encircled by the net, then they were entangled in the net until they were removed by the fisherman on shore. The majority of fishing operation was 1 trip/day. The fishing grounds were Estuary Prasae to Kung-Wiman beach, where the depth was 2-15 m. The fishing was great. During the months of October and November Fishing effort for 20-25 days/month and then during the December to April fish are dwindling. The fishing effort is reduced to 7-10 days/month. Encircling gill net mesh size 21 25 and28 mm the average catch per unit effort (CPUE) was 90.409 83.855 and59.422 kg/100 m net. The most pelagic species were Escualosa thoracata and Sardinella gibbosa, which were 99.885% 96.862% and99.968%, respectively. The size at first capture (Lc) of Escualosa thoracata at mesh size 21 mm were 8.155 cm and Sardinella gibbosa at mesh size 21 25 and28 mm were 9.359 11.116 and11.958 cm, respectively which was smaller than size at first maturity. The estimation of optimum mesh size was calculated from the base length data of Sardinella gibbosa at mesh size 21 25 and 28 mm were 29.14 cm.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/293042
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพอวนล้อมติดตาบริเวณจังหวัดจันทบุรี
กรมประมง
30 กันยายน 2559
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
คุณภาพน้ำและชนิดของปลาน้ำจืดที่พบบริเวณน้ำตกกระทิง อุทยาน แห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของแพลงก์ตอนพืช บริเวณอ่างเก็บน้ำศาลทราย จังหวัดจันทบุรี ผลผลิตและการจัดการกระวานในระบบวนเกษตรบ้านตามูล ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ชีววิทยาบางประการปูทะเล Scylla olivacea บริเวณชายฝั่งชุมชน บ้านบางสะเก้า จังหวัดจันทบุรี การปรับปรุงมาตรการการทำประมง เพื่อการจัดการทรัพยากรปูม้าที่ยั่งยืน บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ความสัมพันธ์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสัตว์น้ำกับเศรษฐกิจฐานรากบริเวณชายฝั่งชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของประชาคมสัตว์หน้าดินและแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี การปนเปื้อนแบคทีเรีย โลหะหนัก และ คุณภาพน้ำบริเวณแหล่งเลี้ยงหอยนางรม(Saccostrea coccullata Born, 1778 )จังหวัดจันทบุรี ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตะกอนแขวนลอย ฟลักซ์ของธาตุอาหารอนินทรีย์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพของปะการังบริเวณหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี ความหลากหลายของพืชอาหารของชันโรงใน จังหวัดจันทบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก