สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development Plant Production on Organic Agricultural System in Roi-et Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้แนวทางการจัดการดินปุ๋ยที่เหมาะสมและการจัดการระบบปลูกพืชผักอินทรีย์ที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 2 การทดลอง ดำเนินการในพื้นที่อำเภอธวัชบุรี และอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างปี 2558-2560 ระยะเวลา 3 ปี โดยการทดลองการพัฒนาต้นแบบการจัดการดินปุ๋ยเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีแนะนำ มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 100 % ตามค่าการวิเคราะห์คุณสมบัติดินและปุ๋ยอินทรีย์ และวิธีเกษตรกร มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์โดยวิธีเกษตรกร จากผลการทดลองพบว่าในการผลิตพืชผักกินใบ ได้แก่ ผักกวางตุ้ง ผักกาดหอม และผักคะน้า รวมทั้งมะเขือเปราะ ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราเทียบเคียงค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการธาตุอาหารพืชตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ มีแนวโน้มทำให้การผลิตพืชอินทรีย์มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ที่คุ้มค่ากว่าวิธีเกษตรกร การทดลองการพัฒนาต้นแบบการจัดการระบบปลูกพืชผักอินทรีย์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม การดำเนินงานประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ วิธีแนะนำ ปลูกพืชหลักและพืชร่วม และวิธีเกษตรกร ที่มีการปลูกพืชชนิดเดียวในแปลง โดยได้ทำการศึกษาระบบปลูกพืช ดังนี้ คะน้า+ผักชี – ถั่วฝักยาว+กะเพรา – หอมแบ่ง+ผักกาดหอม พบว่าการปลูกพืชร่วมในระบบ ทำให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 4.2-29.9 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ในระบบการปลูกพืชร่วม คะน้า+ผักชี สูงกว่าการปลูกพืชคะน้าเพียงชนิดเดียว ขณะที่การปลูกพืชในระบบ ถั่วฝักยาว+กะเพรา และ หอมแบ่ง+ผักกาดหอม พบว่ามีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ต่ำกว่าระบบการปลูกพืชเดี่ยว แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนในเรื่องของการลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชยังให้ผลไม่ชัดเจน เนื่องจากช่วงที่ทำการทดลองไม่พบโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นระบบการปลูกพืชร่วมทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาผลผลิตของพืชในระบบที่มีมากกว่าหนึ่งชนิด
บทคัดย่อ (EN): This research project has To obtain the appropriate soil management and fertilizer management system for organic vegetables in Roi-Et area. Two experiments were conducted in Thawat Buri and the district of Kaset Wisai Roi Et Province during the year 2015-2017 period of 3 years. The experiments on the development of soil management protocols, organic fertilizer production, and farmer participation were 2 treatments. 100% organic fertilizer application based on soil and organic fertilizer analysis. And how the farmers Organic fertilizer is applied by farmers. The results showed that in the production of vegetables, leafy vegetables included Chinese cabbage, lettuce and kale, as well as eggplant. Composting at a comparable rate, soil analysis, and nutrient requirements in accordance with the instructions for use of economic crops. There is a tendency for organic production to have a better return on investment (BCR) than farmers. Experiment on the development of a prototype farm cropping system for organic vegetables. The operation consists of 2 methods, multiple cropping system and monoculture cropping system. The study was conducted as follows: Kale + Coriander - String Bean + Holy basil - Multiplier Onion + Lettuce. It was found that the plants in multiple cropping system, with net income increased by 4.2-29.9 percent. Benefit and Cost ratio (BCR) in Kale + Coriander system were higher than that of growing kale, while multiple cropping system (String Bean + Holy basil, Multiplier Onion + Lettuce) is lower than planting in monoculture cropping system. But not very different. In terms of reducing disease outbreaks and insect pests, the results are not clear. Since the period of the experiment, no diseases and insect pests. Therefore, the multiple cropping system enables farmers to increase their income from the price of plant products in more than monoculture cropping system.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในระบบเกษตรอินทรีย์ โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก