สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในเขตพื้นที่นาไม่เหมาะสมของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
ณัฐวุฒิ ตรงดี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในเขตพื้นที่นาไม่เหมาะสมของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฐวุฒิ ตรงดี
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการดำเนินการตามโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร 2) ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการ ได้ตั้งสมมุติฐานปัจจัยต่าง ๆ 10 ปัจจัย มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ได้แก่ 1) ราคาข้าวของเกษตรกร 2) เงินทุนและสภาพหนี้สินของเกษตรกร 3) สภาพการถือครองที่ดิน 4) ระยะเวลาในการได้ผลตอบแทนของกิจกรรมใหม่ 5) สภาพพื้นที่ทำการเกษตร 6) แรงงาน 7) คุณภาพของปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากทางราชการ 8) ความรู้ในการดำเนินกิจกรรมใหม่ 9) การได้รับและไม่ได้รับสินเชื่อตามโครงการ 10) การตลาด ประชากรสำหรับการวิจัยครั้งนี้คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรปี 2537 ในเขตพื้นที่นาไม่เหมาะสมจังหวัดลพบุรี จำนวน 100 ราย โดยคัดเลือกตัวอย่างโดยวิธีSimple random sampling การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์รายบุคคล โดยอาศัยแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าไค-สแควร์ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยปรากฎว่า เกษตรกรจังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ในการเกษตรในเขตพื้นที่นาไม่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5-20 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินของตนเอง มีแรงงานในครัวเรือนเพียง 3-4 คน ในด้านการลงทุนส่วนมากใช้เงินทุนของตัวเอง และมีรายได้จากกิจกรรมเดิมครอบครัวละไม่เกิน 50,000 บาท โดยขายข้าวได้ในราคาเฉลี่ยตันละมากกว่า 3,500-4,500 บาท การปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำนามาเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในปี 2537 เกษตรกรมีการดำเนินการระหว่าง 1-5 ไร่ต่อราย ซึ่งได้รับปัจจัยการผลิตตรงตามแผนการผลิตที่ได้เสนอไว้ ปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรได้รับมีคุณภาพปานกลาง หลังจากการดำเนินการแล้วส่วนใหญ่เห็นว่าระยะเวลา 1-2 ปี จะได้รับผลตอบแทน เนื่องจากปลูกไม้ผลที่ได้ผลค่อนข้างเร็ว เช่น ชมพู่ ฝรั่ง เป็นต้น แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีตลาดหรือไม่ สำหรับด้านสินเชื่อนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เสนอขอรับสินเชื่อ ส่วนเกษตรกรที่ขอรับสินเชื่อส่วนใหญ่รับเต็มจำนวนในระหว่างรายละ 30,000-60,000 บาท ในด้านความรู้ของเกษตรกรที่ดำเนินการตามกิจกรรมใหม่นั้นอยู่ระดับปานกลาง ทัศนคติของ เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ จากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยทั้ง 10 ปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ได้แก่ 1) ราคาข้าวและรายได้ของเกษตรกร 2) เงินทุนและสภาพหนี้สินของเกษตรกร 3) สภาพการถือครองที่ดิน 4) ระยะเวลาในการได้ผลตอบแทนของกิจกรรมใหม่ 5) สภาพพื้นที่ทำการเกษตร 6) แรงงาน 7) คุณภาพของปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากทางราชการ 8) ความรู้ในการดำเนินกิจกรรมใหม่ 9) การได้รับและไม่ได้รับสินเชื่อตามโครงการ 10) การตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลพบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในเขตพื้นที่นาไม่เหมาะสมของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2537
ผลสัมฤทธิ์โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ระยะที่ 1 จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2537-2539 ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์จากสระน้ำในไร่นาของเกษตรกรในโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร จังหวัดยโสธร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินของเกษตรกรในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตรเขตจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจทำนาตลอดปีของเกษตรกรในเขตชลประทาน : กรณีศึกษาในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ จ.นนทบุรี (ปีที่ 1) ความต้องการของเกษตรกรที่จะปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร จังหวัดภูเก็ต การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพในการผลิตอ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวัดผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนการผลิต และการสนับสนุนแผนการผลิตของเกษตรกรในโครงการปรับโครงสร้าง และระบบการผลิตการเกษตร ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การวัดผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนการผลิตและการสนับสนุนแผนการผลิตของเกษตรกรในโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก